อาหาร หมายถึง เนื้อสัตว์ พืช ผัก ผลไม้ ไข่ ปลา และอื่น ๆ
ที่เราใช้รับประทานเพื่อบำรุงเลี้ยงร่างกายให้มี
ชีวิตอยู่ให้คุณประโยชน์ไม่มีโทษต่อร่างกายในวันหนึ่งๆ มนุษย์ต้องรับประทานอาหารถึง
3 มื้อ อาหารที่เรารับประทานทุกวัน
จะประกอบด้วยอาหารประเภทต่าง ๆ เช่น ข้าว หมู ไก่ ปลา น้ำมัน ผัก ผลไม้ และขนมหวาน
ในหนึ่งวันเราควรบริโภคอาหารเหล่านี้มากน้อยเพียงไรย่อมขึ้นอยู่กับ เพศ วัย
และความต้องการทางร่างกายของแต่ละบุคคล
อาหารประเภทต่าง ๆ ที่รับประทานในแต่ละวัน จำแนกออกได้เป็นหมู่ใหญ่ ๆ
คือ
หมู่ที่ 1
เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง นม
หมู่ที่ 2
ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน และน้ำตาล
หมู่ที่ 3
ผักใบเขียว และพืชผักอื่น ๆ
หมู่ที่ 4
ผลไม้ต่าง ๆ
หมู่ที่ 5
ไขมันจากสัตว์และพืช
อาหารหมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง
นม
อาหารเนื้อสัตว์ทุกชนิด เช่น
เนื้อวัว หมู นก เป็ด ไก่ ปลา ฯลฯ ไข่ รวมถึง ไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่นกกระทา นม เช่น
นมวัว นมแพะและนมจากพืช เช่น นมถั่วเหลือง
อาหารหมู่นี้เป็นอาหารสำคัญต่อสุขภาพเพราะช่วยสร้างร่างกายให้เจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย
ให้สารอาหารที่สำคัญ คือโปรตีน ไขมัน เกลือแร่ วิตามิน นอกจากเนื้อสัตว์ นม
ไข่แล้ว อาหารที่ให้โปรตีนอีกอย่าง คือ ถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าเจี้ยว เต้าหู้
นมถั่วเหลืองหรือถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วดำ ถั่วเขียว ถั่วแดง เป็นต้น
อาหารหมู่ที่ 2 ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน
และน้ำตาล
คนไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก คือ
ข้าวเจ้าและข้าวเหนียว โดยเฉพาะคนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมบริโภคข้าวเหนียว อาหารพวกข้าว แป้ง เผือก มันและน้ำตาล
เป็นอาหารคาร์โบไฮเดรตเมื่อบริโภคจะให้พลังงาน
อาหารหมู่ที่ 3 ผักใบเขียวและพืชผักอื่น ๆ
ประเทศไทยมีผักอุดมสมบูรณ์ทุกฤดูกาลสามารถปลูกได้ตลอดปีเพราะดินฟ้าอากาศอำนวยผักใบเขียวต่าง
ๆเช่น ถั่วฝักยาว คะน้า ผักบุ้ง ตำลึง
ฯลฯ ผักจะให้สารอาหาร พวกวิตามินและเกลือแร่
และที่สำคัญผักยังมีประโยชน์ในด้านการขับถ่าย เพราะกากของผักช่วยการระบายท้องได้ดี
อาหารหมู่ที่ 4 ผลไม้ต่าง ๆ
ผลไม้ในเมืองไทยอุดมสมบูรณ์
มีรสชาติอร่อยและมีรับประทานตลอดทุกฤดูกาล หมุนเวียนกันไป
คุณค่าอาหารของผลไม้นั้นคล้ายคลึงกับผัก
คือมีวิตามิน เกลือแร่ต่าง ๆ มากมาย แต่มีคาร์โบไฮเดรตสูงกว่าผัก
ผลไม้แทบทุกชนิดจะให้วิตามินซีสูง และผลไม้ที่สุกแล้วมีสีเหลืองจะให้วิตามินเอสูง
เช่น มะละกอ มะม่วงสุก ฯลฯ
ผลไม้ยังช่วยระบายท้องทำให้ระบบขับถ่ายดี
อาหารหมู่ที่ 5 ไขมันจากสัตว์และพืช
อาหารไขมัน น้ำมัน
ผู้รับประทานได้จากไขมันสัตว์และพืช อาหารหมู่นี้จะให้พลังงานเป็นหลัก
ถ้าหากจะใช้พลังงานก็ต้องรับประทานอาหารพวกไขมัน
น้ำมันจากสัตว์และพืชให้เพียงพอ และยังทำให้ผิวพรรณชุ่มชื้น
ไม่แห้งแต่ควรรับประทานให้พอดีกับความต้องการของร่างกาย
เพราะถ้าบริโภคเกินความจำเป็นก็จะเกิดปัญหาต่าง ๆ ภายในร่างกาย
สารอาหาร
สารอาหาร คือ “ องค์ประกอบของสารประกอบทางเคมีของธาตุต่างๆ
ที่มีอยู่ในอาหารที่เรากินเข้าไป สารอาหารมีโครงสร้างโมเลกุลเฉพาะตัว
เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อาหารแต่ละชนิดประกอบด้วยโมเลกุลของสารอาหารหลายๆ ตัว ”
ร่างกายเราต้องการสารอาหารกว่า 40
ชนิด และเพื่อให้ง่ายอีกเช่นกัน เราจึงจัดเป็นสารอาหารออกเป็นพวกๆ ที่สำคัญมี 6
จำพวก ได้แก่ สารอาหาร คาร์โบไฮเดรต , โปรตีน , ไขมัน
, วิตามิน , เกลือแร่
, และน้ำ
สารอาหารแต่ละชนิดมีหน้าที่เด่นเฉพาะแตกต่างกัน
สารอาหารคาร์โบไฮเดรท
ทำหน้าที่เป็นสารตัวแรกที่ร่างกายจะนำไปใช้เป็นพลังงาน
สารอาหารชนิดนี้เป็นแหล่งที่ดีที่สุดที่จะทำให้พลังงานแก่ร่างกาย
หากร่างกายได้รับสารอาหารชนิดนี้ไม่เพียงพอ จะสลายสารไขมันมาใช้เป็นพลังงาน
หากไขมันไม่พอจะสลายสารโปรตีนมาใช้เป็นพลังงาน
แต่การที่ปฏิกิริยาทางเคมีจะสลายเอาโปรตีนภายในร่างกายมาใช้เป็นพลังงานได้ก็ต่อเมื่อร่างกายขาดสารอาหารจากคาร์โบไฮเดรตและไขมันอย่างรุ่นแรง
ถ้ามีสารนี้มากเกินไป ร่างกายจะเก็บสะสมไว้ในรูปของไขมัน
สำหรับอาหารที่ให้สารอาหารคาร์โบไฮเดรทคืออาหารหมู่ 2
สารอาหารโปรตีน
มีหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อเพื่อการเจริญเติบโตของร่างกาย
หรือซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ หรือกล่าวง่ายๆ คือ
เป็นสารตั้งต้นของการเสริมสร้างอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายไม่ว่าจะเป็น เนื้อเยื่อ
กล้ามเนื้อ เลือด ฮอร์โมน น้ำย่อย สารอาหารโปรตีนจะเป็นตัวทำหน้าที่โดยตรง
หรือเมื่อมีบาดแผลร่างกายจะใช้สารโปรตีนซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิม
หากร่างกายขาดสารอาหารโปรตีน ร่างกายจะไม่สามารถใช้สารอาหารตัวอื่นๆ
เข้ามาทำหน้าที่ทดแทนได้ สารอาหารโปรตีนจึงมีความสำคัญต่อวัยที่กำลังเจริญเติบโต
และหญิงมีครรภ์ ส่วนวัยมีการเจริญเติบโตไปแล้ว ความต้องการโปรตีนของร่างกายจะลดลง
แต่ร่างกายยังมีความต้องการเพื่อการซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ ที่สึกหรอ
อาหารที่ให้สารอาหารโปรตีนคืออาหารหมู่ 1
สารอาหารไขมัน
สารอาหารชนิดนี้แม้จะให้พลังงานได้มากกว่าคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนก็ตาม แต่ไม่ใช่หน้าที่เด่นเฉพาะตัว
ร่างกายไม่ได้ใช้สารไขมันเป็นตัวแรกในการนำไปสร้างพลังงาน หน้าที่เด่นของไขมันคือ
ทำหน้าที่เป็นพาหะ หรือเคลื่อนย้าย หรือขนส่ง สารที่ละลายในไขมัน ไปยังส่วนต่างๆ
ของร่างกาย เช่น ขนส่งหรือเคลื่อนย้าย วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และ วิตามินเค
ไปยังอวัยวะต่างๆ ซึ่งหากร่างกายไม่ได้รับไขมัน วิตามินเหล่านี้ก็จะไม่ถูกขนส่ง
ส่งผลให้เกิดโรคขาดวิตามินดังกล่าว
นอกจากนี้ยังช่วยในการดูดซึมวิตามินดังกล่าวในระบบทางเดินอาหาร
ไขมันทำให้เรารู้สึกอิ่มได้นาน
สารอาหารไขมันจึงมีความสำคัญไม่น้อยกว่าสารอาหารตัวอื่นๆ
และหากมีมากจะสะสมในอยู่ในร่างกาย อาหารที่ให้สารอาหารไขมันคืออาหารหมู่ 5
สารอาหารวิตามิน แบ่งเป็น 2
กลุ่มย่อยคือ สารอาหารวิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินซี และกลุ่มวิตามินบีรวม
( วิตามินบี 1 วิตามินบี 2
วิตามินบี 6 หรือวิตามินบี 12) ส่วนอีกกลุ่มคือ
สารอาหารวิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และ
วิตามินเค หน้าที่เด่นเฉพาะของวิตามินคือ ทำหน้าที่ร่วมกับน้ำย่อยหรือเอนไซม์
ในกระบวนการใช้สารอาหารในร่างกายเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาอย่างสมบูรณ์
สารอาหารวิตามินแต่ละตัวมีหน้าที่เด่นเฉพาะ
เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี
ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ภายในเซลล์เกิดการออกซิไดซ์จากอนุมูลอิสระ หรือกล่าวง่ายๆ
คือ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สารอาหารวิตามินเค
จะทำหน้าที่เป็นสารช่วยในการแข็งตัวของเม็ดเลือดได้เร็วขึ้น
ส่วนที่กล่าวว่าสารอาหารวิตามินทำหน้าที่ป้องกันโรคนั้น เป็นผลทางอ้อม
ไม่ใช่หน้าที่โดยตรง ดังจะเห็นได้จาก การไม่กินอาหารที่มีวิตามินบี 1
เป็นระยะเวลานาน จนกระทั่งร่างกายเกิดอาการของโรคเหน็บชา
หรือในกรณีที่ไม่กินอาหารที่มีวิตามินซีเป็นเวลานาน จนกระทั่งมีเลือดออกตามไรฟัน
นั่นคือผลจากการขาดวิตามินซี ดังนั้นควรกินอาหารที่มีสารอาหารวิตามินอย่างเพียงพอต่อความต้องการ
จึงจะไม่ปรากฏอาการของโรค
ร่างกายมีความสามารถในการสะสมวิตามินที่ละลายในไขมันไว้ใช้ได้ในระยะเวลาหนึ่ง
ส่วนวิตามินที่ละลายในน้ำ
หากร่างกายได้รับเกินความต้องการจะถูกขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ อย่างไรก็ตามหากร่างกายได้รับวิตามินมากเกินความต้องการจะเกิดผลเสียเช่นกัน
เพราะร่างกายของคนเราต้องการสารอาหารวิตามินในปริมาณที่ค่อนข้างน้อย
แต่ร่างกายไม่สามารถทำงานได้ถ้าปราศจากสารอาหารวิตามิน
ดังนั้นสารอาหารวิตามินจึงมีความสำคัญอีกเช่นกัน อาหารที่ให้สารอาหารวิตามินคืออาหารหมู่
3 และหมู่ 4
สารอาหารเกลือแร่
ลักษณะหน้าที่เด่นเฉพาะของสารอาหารนี้คือ ทำหน้าที่เป็นตัวเสริม , ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุม
, และทำหน้าที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการทำงานของปฏิกิริยาทางเคมีภายในเซลล์
ตัวอย่างเช่น เกลือแร่แคลเซียม และฟอสฟอรัสเป็นสารที่ร่างกายต้องใช้สร้างกระดูกและฟัน
เกลือแร่บางตัวทำให้เกิดความสมดุลของความเป็นกรดและด่างภายในร่างกาย
บางตัวเกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดเลือด
บางตัวก็มีส่วนสำคัญที่ร่างกายใช้ประกอบในการสังเคราะห์ฮอร์โมน
สารอาหารเกลือแร่มีอยู่ประมาณ 21
ชนิดที่สำคัญต่อร่างกาย เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการมากคือ แคลเซียม
ซึ่งแคลเซียมเป็นส่วนประกอบของกระดูก , ฟัน , กล้ามเนื้อ
, และในระบบเลือด
เกลือแร่ประเภทอื่นที่ร่างกายต้องการนอกเหนือจากแคลเซียม ได้แก่ โซเดียม , โพแทสเซียม
, ฟอสฟอรัส , แมกนีเซียม
, คลอไรท์ , เหล็ก
, ไอโอดีน , ทองแดง
, สังกะสี , ฟลูออไรท์
เป็นต้น แต่ละชนิดจะมีหน้าที่ต่างกัน ถ้าขาดก็จะมีผลเสียต่อร่างกาย
ด้วยเหตุนี้ร่างกายจึงขาดเกลือแร่ไม่ได้ อาหารที่ให้สารอาหารเกลือแร่คืออาหารหมู่ 3
และหมู่ 4
สารอาหารน้ำ
น้ำแตกต่างจากสารอาหารตัวอื่นคือ น้ำเป็นทั้งสารอาหารและอาหาร น้ำทำหน้าที่เด่นเฉพาะคือ
เป็นตัวทำให้เกิดการละลายและนำสารต่างๆ ไหลเวียนไปทั่วร่างกาย
และขณะเดียวกันของเสียบางส่วนในเซลล์ที่สามารถละลายในน้ำได้จะถูกทำละลายและขับออกพร้อมกับปัสสาวะ
ในร่างกายมีน้ำประมาณ 2 ใน 3
ส่วน กระจายอยู่ในส่วนประกอบต่างๆ หากเมื่อใดก็ตามที่ร่างกายสูญเสียน้ำประมาณร้อยละ
10 ไตจะทำงานผิดปกติ
และถ้าสูญเสียน้ำไปประมาณร้อยละ 20
อาจจะทำตายได้เนื่องจากสภาวะขาดน้ำ น้ำจึงเป็นสารอาหารและอาหารที่สำคัญ
เราอาจอดอาหารประเภทอื่นๆ ได้เป็นเดือน แต่ขาดน้ำไม่ถึง 2
หรือ 3 วันก็อาจจะเสียชีวิตได้
โภชนาบัญญัติและธงโภชนาการ
1. รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลายและหมั่นดูแลน้ำหนักตัว
2. รับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ
3. รับประทานพืชผักให้มาก และรับประทานผลไม้เป็นประจำ
4. รับประทานปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมันไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ
5. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย
6. รับประทานอาหารที่มีไขมันแต่พอสมควร
7. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสหวานจัด
8. รับประทานอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน
9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
เพื่อให้โภชนบัญญัติทั้ง9ข้อสามารถนำไปปฏิบัติได้ง่ายและเกิดประโยชน์จึงได้มีการจัดทำธงโภชนาการขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือที่จะช่วยอธิบายและทำความเข้าใจโภชนบัญญัติ 9 ประการ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติเป็นสัญลักษณ์รูปสามเหลี่ยมหัวกลับผืนธงแขวนแสดงสัดส่วนอาหารในแต่ละกลุ่มให้เห็นภาพ
ธงโภชนาการ คือ เครื่องมือที่ช่วยอธิบายและทำความเข้าใจโภชนบัญญัติ ๙ ประการ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติโดยกำหนดเป็น ภาพ"ธงปลายแหลมแหลม"แสดงกลุ่มอาหารและสัดส่วนการกินอาหารในแต่ละกลุ่มมากน้อยตาม พื้นที่สังเกตได้ชัดเจนว่าฐานใหญ่ด้านบนเน้นให้กินมากและปลายธง ข้างล่างบอกให้กินน้อยๆ เท่าที่จำเป็นโดยอธิบายได้ดังนี้
1. กินอาหารให้ครบ ๕ หมู่
2. กลุ่มอาหราที่บริโภคจากมากไปน้อย แสดงด้วยพื้นที่ในภาพ
3. อาหารที่หลากหลายชนิดในแต่ละกลุ่มสามารถเลือกกินสลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันได้ภายในกลุ่มเดียวกัน
4. ทั้งกลุ่มผัก กลุ่มผลไม้และกลุ่มเนื้อสัตว์ สำหรับกลุ่มข้าว - แป้ง ให้กินข้าวเป็นหลัก อาจลับกับผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแป้งเป็นบางมื้อ
5. ปริมาณอาหาร บอกจำนวนเป็นหน่วยครัวเรือน เช่นทัพพี ช้อนกินข้าว แก้วและผลไม้กำหนดเป็นสัดส่วน
6. ชนิดของอาหารที่ควรกินปริมาณน้อย ๆ เท่าที่จำเป็นคือ กลุ่มน้ำมัน น้ำตาล
ธงโภชนาการ บอกชนิดและปริมาณของอาหารที่คนไทยควรกินใน 1 วัน สำหรับเด็กตั้งแต่อายุ 6 ปีขึ้นไปถึงผู้ใหญ่และ ผู้สูงอายุ โดยแบ่งตามการใช้พลังงานเป็น 3 ระดับ คือ 1,600 2,000 และ 2,400 กิโลแคลอรี
อาหารที่เหมาะสมกับวัยต่างๆ
อาหารนั้นเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของมนุยษ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มนุษย์ต้องการ การบริโภคอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมย่อมมีต่อต่อสุขภาพ ทั้งในด้านการสร้างเสริมและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายตามวัย โดยต้องคำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ ความสะอาดและความปลอดภัย ตลอดจนรับประทานให้ได้สารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ด้วยปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสมตามความต้องการของร่างกายบุคคลแต่ละประเภทและวัย ดังนี้
ธงโภชนาการ คือแนวทางการรับประทานอาหารที่ให้คุณค่าทางอาหารครบถ้วนกับความต้องการของร่างกาย โดยการนำอาหารหลัก 5 หมู่ มาจัดแบ่งออกเป็นชั้น ๆ ตามสัดส่วน ปริมาณ และความหลากหลาย ที่ควรรับประทานใน 1 วัน
อาหารที่เหมาะสมกับวัยต่างๆ
อาหารนั้นเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของมนุยษ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มนุษย์ต้องการ การบริโภคอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมย่อมมีต่อต่อสุขภาพ ทั้งในด้านการสร้างเสริมและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายตามวัย โดยต้องคำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ ความสะอาดและความปลอดภัย ตลอดจนรับประทานให้ได้สารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ด้วยปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสมตามความต้องการของร่างกายบุคคลแต่ละประเภทและวัย ดังนี้
ภาวะโภชนาการและทุพโภชนาการ
โภชนาการ
หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับอาหารกับการเปลี่ยนแปลงในร่างกายที่เกิดขึ้น รวมทั้งการ ปรุงแต่งอาหารให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของบุคคล ดังนั้น ภาวะโภชนาการ จึงหมาย ถึงสภาวะทางร่างกาย ที่เป็นผลมาจากการได้รับอาหาร ซึ่งหากร่างกายได้รับอาหารไม่ เหมาะสมหรือไม่เพียงพอ จะทำให้สุขภาพไม่ดี เรียกว่า ภาวะโภชนาการไม่ดีี หรือ ทุพโภชนาการ การมีภาวะ โภชนาการที่ดีนั้น เนื่องมาจากร่างกายได้รับอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมและเพียงพอ ทำให้มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิต ใจ ซึ่งเราสามารถปฏิบัติตนได้ โดยยึดหลักโภชนบัญญัติและธงโภชนาการ ของกองโภชนาการกรมอนามัย กระทรวง สาธารณสุข
ทุพโภชนาการ
หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารผิดเบี่ยงเบนไปจากปกติ อาจเกิดจากได้รับสาร อาหารน้อยกว่าปกติ หรือเหตุทุติยภูมิ คือ เหตุเนื่องจากความบกพร่อง ต่างจากการกิน การ ย่อย การดูดซึม ในระยะ 2-3 ปี แรกของชีวิต จะมีผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและการเรียน ภายหลัง เนื่องจากเป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตของสมองสูงสุด ชึ่งระยะเวลาที่วิกฤติต่อพัฒนา การทางร่างกายของวัยเด็กมากที่สุดนั้น ตรงกับช่วง 3 เดือนหลัง การตั้งครรภ์จนถึงอายุ 18- 24 เดือนหลังคลอด เป็นระยะที่มีการสร้างปลอกหุ้มเส้นประสาทของระบบประสาท และมีการ แบ่งตัวของเซลล์ประสาทมากที่สุด เมื่ออายุ 3 ปี มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต ถึงร้อยละ 80 สำหรับผลกระทบทางร่างกายภายนอกที่มองเห็นได้ คือ เด็กจะมีรูปร่างเตี้ย เล็ก ซูบผอม ผิวหนังเหี่ยวย่น เนื่องจากขาดไขมันชั้นผิวหนัง นอกจากนี้อวัยวะภายในต่างๆ ก็ได้รับผล กระทบเช่นกัน
ทุพพโภชนาการของแต่ละวัย
โรคที่เกิดจากภาวะทุพพโภชนาการ
ชื่อโรค
|
อาการ
|
สาเหตุ
|
การป้องกัน
– แก้ไข
|
1. โรคอ้วน
|
ร่างกายมีไขมันมากเกินโดยเฉพาะหน้าท้อง สะโพก
|
กินอาหารเกิน ออกกำลังกายน้อย พันธุกรรม ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ
|
ลดอาหารแป้ง ไขมัน กินผัก ออกกำลังกาย
|
2. โรคขาดโปรตีน
|
น้ำหนักลด ปลายเท้าบวม ผมแห้งกรอบ
และผมร่วง
|
ขาดโปรตีนเพราะความยากจน โรคพยาธิและขาดความรู้
|
กินเนื้อ นมไข่ เต้าหู้ ป้องกัน
โรคพยาธิ
|
3. โรคเหน็บชา
|
เบื่ออาหาร ชาตามมือ เท้า แขนขาเหี่ยวลีบ
ไม่มีแรง
|
ขาดวิตามิน B1 (ไทอะมิน)
|
กินข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง เนื้อหมู ปลา ไข่
|
4. โรคคอพอก
|
ต่อมไทรอยด์บวมโต หายใจ
กลืนอาหารลำบาก
|
ขาดไอโอดีน
กินกะหล่ำปลีดิบ
|
กินอาหารทะเล เกลือทะเล หลีกเลี่ยงกินกะหล่ำปลีดิบ
|
5. โรคโลหิตจาง
|
อ่อนเพลีย ผิวหนังซีด หน้ามือ
เล็บเปราะบาง
|
ขาดธาตุเหล็ก เป็นโรคพยาธิ ปากขอ
|
กินเครื่องในสัตว์ ไข่แดง ไม่ให้เป็นโรคพยาธิปากขอ
|
6. โรคตาฟางกลางคืน
|
มองไม่เห็นในที่มืด เคืองตา น้ำตาไหล
|
ขาดวิตามิน A
|
กินผักใบเขียว
ผลไม้สีเหลือง น้ำมันตับปลา นม ไข่แดง
|
7. โรคปากนกกระจอก
|
แผลมุมปาก
ลิ้นอักเสบ บวมแดง
|
ขาดวิตามิน
B2(ไรโบฟลาวิน)
|
กินผักใบเขียวนม เนย
ไข่
|
8. โรคลักปิด
ลักเปิด
|
เลือดออกตามไรฟัน
มือเท้าบวม ปวดข้อ
|
ขาดวิตามิน C
|
กินผักสด และผลไม้รสเปรี้ยว
|
9. โรคกระดูกพรุน
|
อ่อนเพลีย
ปวดกระดูก
กระดูกแขนขา
คดโค้ง
|
ขาดวิตามิน
D และแคลเซียม
|
กินปลาเล็กปลาน้อย
ผักใบเขียว นมสด รับแสงแดดยามเช้า
|
พลังงานที่ได้รับจากอาหาร
รายการ
|
ปริมาณพลังงานที่ได้รับ
( แคลอรี่ ) |
230 แคลอรี่
| |
350 แคลอรี่
| |
400 แคลอรี่
| |
230 แคลอรี่
| |
110 แคลอรี่
| |
365 แคลอรี่
| |
160 แคลอรี่
| |
160 แคลอรี่
| |
180 แคลอรี่
| |
320 แคลอรี่
| |
340 แคลอรี่
| |
40 แคลอรี่
| |
290 แคลอรี่
| |
120 แคลอรี่
| |
50 แคลอรี่
| |
75 แคลอรี่
| |
600 แคลอรี่
| |
500 แคลอรี่
| |
450 แคลอรี่
| |
440 แคลอรี่
| |
800 แคลอรี่
| |
650 แคลอรี่
|
ตัวอย่าง อาหาร ปริมาณพลังงาน การใช้พลังงาน
ตัวอย่าง อาหาร
|
ปริมาณพลังงานที่ได้รับ
|
ต้องใช้พลังงานนั้นให้หมด(เดิน)
|
50 แคลอรี่
|
ต้องเดิน 0.8-
| |
80 แคลอรี่
|
ต้องเดิน 1.2-
| |
100 แคลอรี่
|
ต้องเดิน
| |
300 แคลอรี่
|
ต้องเดิน 3.2-
|
การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
5 ข้อควรปฏิบัติเพื่อการควบคุมน้ำหนัก
- รับประทานอาหารจำพวกต่อไปนี้ในปริมาณที่เพียงพอ ได้แก่ ผลไม้ พืชผัก เมล็ดธัญพืช และอาหารที่มีเส้นใยต่างๆ อาหารประเภทเหล่านี้หาซื้อง่ายสะดวกและให้พลังงานต่ำ ช่วยให้คุณรู้สึกอิ่มได้ยาวนาน กว่า
- รับประทานอาหารจำพวกต่อไปนี้ในปริมาณที่พอเหมาะ ได้แก่ เนื้อสัตว์ ปลา นมประเภทไขมันต่ำ และโปรตีนอื่น ๆ อาหารประเภทโปรตีนจะมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อการทำให้คุณหายหิว
- ปรับปริมาณสัดส่วนของอาหารที่ให้พลังงานสูงที่เพียงพออยู่เสมอ การไม่รับประทานอาหารประเภทเหล่านี้เลยอาจทำให้คุณรู้สึกหิวได้ ดังนั้น วางแผนการบริโภคให้เป็นที่พอใจโดยไม่ทำให้รู้สึกผิด และยึดมั่นการบริโภคอาหารอย่างสมดุลตามแผนที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
- รับประทานอาหารมื้อปกติและอาหารประเภทรับประทานเล่น มีส่วนช่วยได้อย่างมากเพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมการรับประทานอาหารมากกว่าปกติ
- ควบคุมขนาดสัดส่วนของร่างกาย การวิจัยบ่งชี้ว่า ขนาดสัดส่วนของร่างกายมนุษย์มีอัตราเพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา และสาเหตุสำคัญมาจากการบริโภคอาหารที่เพิ่มขึ้น
ข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับการออกกำลังกาย 5 ประการที่ควรทำเพื่อการควบคุมน้ำหนัก
- สำหรับผู้ใหญ่แล้ว ให้ออกกำลังกายเป็นเวลา 30 นาที ต่อวัน อาทิตย์ละหลายวัน สำหรับเด็กต้องการ 60 นาทีต่อวัน เพื่อการเล่นเดิน วิ่ง และเล่นกีฬา
- กิจกรรมต่างๆ เป็นต้นว่า การเดินออกกำลัง และการเดินขึ้นลงบันไดแทนการขึ้นลิฟต์ ก็มีประโยชน์เทียบเท่ากับกิจกรรมการเล่นกีฬาโดยทั่วไป
- สามารถแบ่งย่อยช่วงเวลา 30 นาที ของการออกกำลังกายประจำวันออกเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ได้ เช่น เดินออกกำลังกายหรือขี่จักรยานนานอย่างละ 10 นาที เป็นต้น
- การเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ร่วมกับหัวใจและหลอดเลือด (การเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจ) โดยทั่วไปแล้วแนะนำให้ปฏิบัติ
- ค้นหาวิธีการออกกำลังกายในชีวิตประจำวันปกติของคุณ เพื่อให้คุณสามารถปฏิบัติตามได้ แม้จะมีเวลาค่อนข้างจำกัดก็ตาม
ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของสุขภาพด้านน้ำหนักตัว ภาวะมีน้ำหนักตัวมากเกิน และโรคอ้วน
ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) – หน่วยมาตรฐานสากลที่ใช้จำแนกน้ำหนักของร่างกายว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ มีน้ำหนักตัวน้อยเกินไป มีน้ำหนักตัวมากเกินไป หรือเป็นโรคอ้วนหรือไม่ ได้แก่ ดัชนีมวลกาย (BMI) หน่วย BMI คำนวณได้โดยใช้น้ำหนักตัวเป็นตัวตั้ง (หน่วยกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูงยกกำลังสอง (หน่วยเป็นเมตร) ค่า BMI ในช่วง 18.5 ถึง 25 ทั่วไปถือว่ามีน้ำหนักตัวที่มีสุขภาพดี; 25-30 มีน้ำหนักตัวมากเกินไป ซึ่งมีความเกี่ยวข้องอย่างมากที่จะเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนักตัว และ เกิน 30 ขึ้นไป ถือว่าเป็นโรคอ้วน และมีความเสี่ยงสูงต่อความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนักตัว
ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) – หน่วยมาตรฐานสากลที่ใช้จำแนกน้ำหนักของร่างกายว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ มีน้ำหนักตัวน้อยเกินไป มีน้ำหนักตัวมากเกินไป หรือเป็นโรคอ้วนหรือไม่ ได้แก่ ดัชนีมวลกาย (BMI) หน่วย BMI คำนวณได้โดยใช้น้ำหนักตัวเป็นตัวตั้ง (หน่วยกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูงยกกำลังสอง (หน่วยเป็นเมตร) ค่า BMI ในช่วง 18.5 ถึง 25 ทั่วไปถือว่ามีน้ำหนักตัวที่มีสุขภาพดี; 25-30 มีน้ำหนักตัวมากเกินไป ซึ่งมีความเกี่ยวข้องอย่างมากที่จะเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนักตัว และ เกิน 30 ขึ้นไป ถือว่าเป็นโรคอ้วน และมีความเสี่ยงสูงต่อความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนักตัว
BMI = น้ำหนักตัว กก.
ความสูง x ความสูง ม.
|
การทดสอบสมรรถภาพทางกายของกรมพลศึกษา ของนักเรียน 7 - 18 ปี
การทดสอบสมรรถภาพ จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสามารถของร่างกายว่าตนเองมีความสมบูรณ์ของร่างกาย ความสามารถทางกลไกในการเคลื่อนไหว และการทำงานของระบบต่างๆของร่างกายอยู่ในระดับใด เพื่อจะเป้นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาให้ตนเองมีสุขภาพ สมรรถภาพที่ดีมีรูปร่างได้สัดส่วน และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดำรงชีวิตและประกอบภารกิจประจำวัน
กิจกรรมสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายและจิต
ความหมายและความสำคัญของกิจกรรมสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายและทางจิต กิจกรรมสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย หมายถึง รูปแบบของการฝึกปฏิบัติหรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่ส่งลต่อสมรรถภาพทางกาย เช่น การออกกำลังกาย การเล่นกีฬา หรือการนำรูปแบบในแต่ละรายการของสมรรถภาพทางกายมาปฏิบัติใช้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสามารถเพิ่มพูนสมรรถภาพทางกายในด้านต่างๆได้กิจกรรมสร้างเสริมสมรรถภาพทางจิต หมายถึง รูปแบบของการฝึกหรือปฏิบัติหรือกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดความสามารถทางจิตใจที่คิดแก้ไขปัญหา ต่อสู้อุปสรรค และสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข เช่น การนั่งสมาธิ การผ่อนคลายความเครียด
ความสำคัญของกิจกรรมสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายและทางจิตสรุปได้ ดังนี้
1. เป็นกิจกรรมที่ช่วยทำให้ร่างกายเกิดความแข็งแรง และเพิ่มพูนประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย
2. เป็นกิจกรรมที่ช่วยแก้ไขปัญหาความผิดปกติของรูปร่าง
3. เป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาการเคลื่อนไหวของร่างกายให้ดีขึ้น
4. เป็นกิจกรรมที่เตรียมร่างกายให้มีความพร้อมและมีความสมบูรณ์ เพื่อพร้อมที่จะปฏิบัติกิจกรรมที่หนักมากขึ้น
5. เป็นกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทางด้านจิตใจ
1. คำนึงถึงความปลอดภัย และประโยชน์ที่ได้รับ
2. มีความเหมาะสมกับลักษณะความแตกต่างทางเพศ
3. ควรมีการเน้นฝึกสมรรถภาพของร่างกายให้เหมาะสมตามวัย
4. คำนึงถึงสภาพร่างกาย จิตใจ และอารมณ์
5. ความปลอดภัย
6. เวลาในการปฏิบัติกิจกรรมควรมีความเหมาะสม
7. ควรเลือกิจกรรมที่ผู้เลือกมีความถนัด และความสนใจเพื่อให้เกิดความสนุกสนานและมั่นใจ
8. ควรเลือกปฏิบัติกิจกรรมในรุปแบบต่างๆ หมุนเวียนกันไป
9. ควรเริ่มจากกิจกรรมที่ออกแรงเบาก่อน แล้วค่อยเพิ่มปริมาณ
1. เป็นกิจกรรมที่ช่วยทำให้ร่างกายเกิดความแข็งแรง และเพิ่มพูนประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย
2. เป็นกิจกรรมที่ช่วยแก้ไขปัญหาความผิดปกติของรูปร่าง
3. เป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาการเคลื่อนไหวของร่างกายให้ดีขึ้น
4. เป็นกิจกรรมที่เตรียมร่างกายให้มีความพร้อมและมีความสมบูรณ์ เพื่อพร้อมที่จะปฏิบัติกิจกรรมที่หนักมากขึ้น
5. เป็นกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทางด้านจิตใจ
หลักการในการเลือกกิจกรรมสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย
2. มีความเหมาะสมกับลักษณะความแตกต่างทางเพศ
3. ควรมีการเน้นฝึกสมรรถภาพของร่างกายให้เหมาะสมตามวัย
4. คำนึงถึงสภาพร่างกาย จิตใจ และอารมณ์
5. ความปลอดภัย
6. เวลาในการปฏิบัติกิจกรรมควรมีความเหมาะสม
7. ควรเลือกิจกรรมที่ผู้เลือกมีความถนัด และความสนใจเพื่อให้เกิดความสนุกสนานและมั่นใจ
8. ควรเลือกปฏิบัติกิจกรรมในรุปแบบต่างๆ หมุนเวียนกันไป
9. ควรเริ่มจากกิจกรรมที่ออกแรงเบาก่อน แล้วค่อยเพิ่มปริมาณ
แหล่งอ้างอิงhttp://www.sahavicha.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น