ชื่อเรื่อง
การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมสำหรับนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วน(DEVELOPMENT OF A HOLISTIC HEALTH PROMOTION MODEL FOR OBESE LOWER SECONDARY SCHOOL MALES STUDENTS)
ชื่อผู้วิจัย นางสาวนราภรณ์ ขันธบุตร
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปีการศึกษา 2552
คำถามการวิจัย
1. รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมสำหรับนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วนควรมีรูปแบบอย่างไร
2. การใช้รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพนี้สามารถช่วยสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมของนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วนได้มากน้อยเพียงใด
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพองคืรวมสำหรับนักเรียนชายระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วน
2. เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมสำหรับนักเรียนชายระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วน
3. เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมสำหรับนักเรียนชายระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วนภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองในช่วงก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 5 หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 10 และติดตามผลสัปดาห์ที่ 14
ขอบเขตของการวิจัย
1. การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมสำหรับนักเรียนชายระดับมัธยมศึกฦษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วนเท่านั้น
2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชายที่มีภาวะอ้วนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
3. ตัวแปรที่ศึกษาในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่
3.1 ตัวแปรต้น (Independent Variable) คือ รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมสำหรับนักเรียนชายที่มีภาวะอ้วน
3.2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable ) คือ
3.2.1 สุขภาพองค์รวม ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ
- สุขภาพทางกาย (Phyhical health)
- สุขภาพทางจิต (Mental health)
- สุขภาพทางสังคม (Social health)
- สขภาพทางปัญญา (Wisdom health)
3.2.2 สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ ประกอบด้วย
- องค์ประกอบของร่างกาย (Body composition)
- ความอ่อนตัว (Flexibility)
- ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscular strength and endurance)
- ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและหายใจ (Cardio respiratory endurance)
4. ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง เป็นเวลา 10 สัปดาห์ และติดตามผลอีก 4 สัปดาห์
หลักการ ขั้นตอนในการพัฒนาสื่อกับเทคโนโลยีการศึกษา
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาวิเคราะห์เอกสารเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดเบื้องต้น วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารเกี่ยวกับแนวคิด หลักการ ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง |
สร้างเครื่องมือแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย |
ตรวจสอบเครื่องมือโดยอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิ |
ปรับปรุงเครื่องมือตามข้อเสนอแนะนำไปทดลอง (Try - out)และนำมาปรับปรุงแก้ไข |
เก็บรวบรวมข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน |
ขั้นตอนที่ 2 สร้างเครื่องมือในการวิจัย สร้างรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมสำหรับนักเรียนชายที่มีภาวะอ้วนและคู่มือการดำเนินงานตามรูปแบบ สร้างแบบประเมินสุขภาพองค์รวม 4 ด้าน คือด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญา |
ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา |
ปรับปรุงเครื่องมือตามข้อเสนอแนะ |
นำไปทดลองใช้ (Try - out)เพื่อหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและนำมาปรับปรุงแก้ไขก่อนนำไปใช้ |
ขั้นตอนที่ 3 ดำเนินการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive selection) จับฉลาก กลุ่มควบคุม กลุ่มทดลอง ทดสอบก่อนการทดลอง รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมประกอบด้วย 4 กิจกรรม คือ กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องขยับกายสลายพุง, การบริโภคอาหารที่เหมาะสม,กิจกรรมเกมสัมพันธ์และโปรแกรม การออกกำลังกายแบบหมุนเวียน ทดสอบหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 5 และ 10 สนทนากลุ่ม ติดตามผลหลัง 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการทดลอง |
การประเมินสื่อกับเทคโนโลยีการศึกษา
แบบสอบถาม พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย มี 3 ขั้นตอน
ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลตอนที่ 2 แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
ตอนที่ 3 แบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกาย
รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมสำหรับนักเรียนชาย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วน | |
กิจกรรมที่ 1 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง ขยับกายสลายพุง นักเรียน ผู้ปกครองและครูที่เกี่ยวข้องร่วมฟังบรรยาย จำนวน 1 ครั้งใช้เวลา 2 ชั่วโมง วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง 2. เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับภาวะเด็กอ้วน | |
กิจกรรมที่ 2 การบริโภคอาหารที่เหมาะสม นักเรียนเข้าร่วมควบคุมปริมาณอาหารและตระหนักในตนเองในการควบคุมอาหาร
3. ให้นักเรียนควบคุมการบริโภคอาหารด้วยตนเอง มีความตระหนักในตนเองใน การควบคุมอาหาร | |
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเกมสัมพันธ์ นักเรียนต้องเข้าร่วมโปรแกรมทุกครั้งหรือไม่ต่ำกว่า 80 % ครั้งละ 10 นาที ช่วงหลังเลิกเรียนเวลา 15.30-15.40 น. วันจันทร์ วันพุธ วันศุกร์ วัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และสร้างความคุ้นเคย มีความสนุกสนานสามารถพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและทางปัญญาได้เป็นอย่างดี 1. ศึกษาทฤษฎี หลักการ เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2. ปรึกษาผุ้ที่มีประสบการณ์และผู้ที่มีความชำนาญเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างกิจกรรมเกมสัมพันธ์สำหรับนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วน(อายุ 13-15 ปี ) 3. สร้างกิจกรรมเกมสัมพันธ์สำหรับนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วน(อายุ 13-15 ปี ) แล้วนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา และที่ปรึกษาร่วมเพื่อตรวจและแก้ไขกิจกรรมเกมสัมพันธ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีจำนวน 30 ชุด โดยเลือกมาใช้วันละ 1 ชุด สลับกันปจนครบการฝึก 10 สัปกาห์ๆละ 3 วัน คือ วันเวลา วันจันทร์ วันพุธ วันศุกร์ เวลา 15.30-15.40 น. ใช้เวลา 10 นาที ดังนี้ ชุดที่ 1 ลมเพลมพัด ชุดที่ 2 รถไฟกระโดด ชุดที่ 3 เชือกพิศวาส ชุดที่ 4 เสียสละเพื่อทีมงาน ชุดที่ 5 ปิงปองสวรรค์ ชุดที่ 6 หนึ่งมิตรชิดใกล ชุดที่ 7 ส่งบอลสองขา ชุดที่ 8 ลอดห่วงสวรรค์ ชุดที่ 9 พรมวิเศษ ชุดที่ 10 บอลมหาลัย ชุดที่ 11 หลอดกาแฟสัมพันธ์ ชุดที่ 12 หลุมอุกาบาต ชุดที่ 13 ใบ้คำ ชุดที่ 14 บก น้ำ อากาศ ปาท่องโก๋ ชุดที่ 15 จานสัมพันธ์ ชุดที่ 16 จ๊ะเอ๋ผ้าม่าน ชุดที่ 17 ห่วงเสน่หา ชุดที่ 18 ส่งบอลส่งใจ ชุดที่ 19 วิ่งร้อยขา ชุดที่ 20 แข่งเรือบก ชุดที่ 21 ลูกโป่งมหาลัย ชุดที่ 22 กู้ระเบิด ชุดที่ 23 ลูกโป่งสวรรค์ ชุดที่ 24 วงล้อกระดาษ ชุดที่ 25 แข่งคีบ ชุดที่ 26 ล้อยางนับพัน ชุดที่ 27 ต่อคอหอย ชุดที่ 28 คาบช้อนส่งปิงปอง ชุดที่ 29 ผลไม้กับไม้จิ้มฟัน ชุดที่ 30 ตั้งน้ำใส่ขวด เพื่อสร้างความสนุกสนาน ความคุ้นเคย การมีมนุษย์สัมพันธ์ และการสร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดี | |
กิจกรรมที่ 4 โปรแกรมการออกกำลังกายแบบหมุนเวียน นักเรียนต้องเข้าร่วมโปรแกรมทุกครั้งหรือไม่ต่ำกว่า 80 % ครั้งละ 10 นาที ช่วงหลังเลิกเรียนเวลา 15.30-15.40 น. วันจันทร์ วันพุธ วันศุกร์ การวิจัยเชิงทดลองโดยใช้เวลาในการฝึก 10 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที โดยการฝึกตามโปรแกรมการออกกำลังกายแบบหมุนเวียน โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ช่วงที่ 1 อบอุ่นร่างกาย (Warm up) เป็นการบริหารกล้ามเนื้อ เอ็นและข้อต่อส่วนต่างๆ ของร่างกายก่อนที่จะเริ่มฝึกประจำทุกครั้ง ช่วงที่ 2 ช่วงฝึก (Work out) โปรแกรมการฝึกแบบหมุนเวียนที่ผุ้วิจัยสร้างขึ้นมา 10 สถานี แต่ละสถานีจะใช้เวลา 40 นาที และใช้เวลาเปลี่ยนสถานี 15 วินาที ใช้ฝึกจำนวน 2 รอบ พักหว่างรอบ 2 นาที ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 20นาที รูปแบบสถานีการฝึกการออกกำลังกายแบบหมุนเวียน สถานีที่ 1 ยืนรับ – ส่งลูกบาสเกตบอลสองมือเหนือศรีษะ สถานีที่ 10 สถานีที่ 2 ลุก – นั่งมือไขว่ที่หน้าอก บิดลำตัวรับ – ส่งลูกเมดิซี สถานีที่ 9 สถานีที่ 3 การเก้าเท้าขึ้น-ลงบนพื้นStep การลไลด์เท้าไปทางซ้า- ขวาแตะสลับ สถานีที่ 8 สถานีที่ 4 การเก้าเท้าขึ้น-ลงบนพื้นStep การลไลด์เท้าไปทางซ้า- ขวาแตะสลับ สถานีที่ 7 สถานีที่ 5 ยืนบิดเอวบนจารทวิสด์ การเลี้ยงส่งลูบบาสให้อภัยแล้วหล่ สถานีที่ 6 การวิ่งบันไดลิง ขั้นตอนที่ 3 ช่วงคลายกล้สมเนื้อประกอบดนตรี เป็นการผ่อนครายจิตใจ ร่างกาย กลามเนื้อ เอ็น และข้อต่อส่วนต่างๆ ของร่างกายหลังการหลังการฝึกตามโปรแกรมการแบบหมุนเวียนทุกครั้งครั้งนี้เพื่อปรับสภาพจิตใจและร่างกายทุกส่วนให้กลับส่ภาวะปกติคลายกล้ามเนื้อ ใช้เวลา 10 นาที |
เครื่องมือวัดในการประเมิน | |
วิธีการวัด | เครื่องมือ |
| แบบสอบถามสำหรับนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วนเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภค และการออกกำลังกาย - การตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามในด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) เพื่อหาดัชนีความสอดคล้องของแบบสอบถาม (Index of consistency :IOC) |
| ดัดแปลงมาจาก The U.S. Healthy and Human Services. Healthy Style:ASelf Test.1981 - นำให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาอังกฤษ 1ท่าน ภาษาไทย 1 ท่าน และทางด้านวิทยาศาตร์ 1 ท่าน ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา |
| - แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพในเด็ก อายุ 7-18 ปี ของกองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาะรณสุข (2550) |
| - เปรียบเทียบผลของการทดลองภายในกลุ่ม และระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ (One – Way analysis of variance with repeated measures) ถ้าพบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยภายหลังการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Post-hoc tests)โดยวิธีของบอลเฟอร์โรนี - เปรียบเทียบผลของการทดลองภายในกลุ่ม และระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง โดยทดสอบ ค่าที “Independent t-test” |
ผลการนำสื่อกับเทคโนโลยีมาใช้ทางการศึกษา |
1. รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมทั้ง 4 กิจกรรม มีความเหมาะสมสำหรับนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วน มีความตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.75-1.00 และมีค่าสัมประสิทธิแอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.93
2. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของสุขภาพองค์รวมทั้ง 4 ด้าน คือ สุขภาพทางกาย สุขภาพทางจิต สุขภาพทางสังคมและสุขภาพทางปัญญา ระหว่างกลุ่มควบคุมและการทดลองพบว่า หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 5 สุขภาพทางปัญญา และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 1 สุขภาพจิต มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดีบ .05
3. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วนระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง พบว่าหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 10 ทุกตัวแปรมความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ยกเว้นดัชนีมวลกายและเปอร์เซ็นต์ไขมัน
สรุปได้ว่ารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมและสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ ดังนั้นสามารถนำไปใช้กับเด็กวัยรุ่นที่มีภาวะอ้วนได้
เอกสารอ้างอิง(ต่างประเทศ)
AAHPERD. Norms for College Students : Health - Related Physical Fitness Test.
Philadlphia : Lea & Febiger , 1985.
Alexy, Ute and others.Position changes of dietary habits after an outpatient training
program for overweight children,2006.(Online).
Available:http://www.sciencedirect.com.(2008,August 8)
American College of Sports Medicine. ACSM s Guidelines for Exercise Testing and
Prescription.6 ed.New York : Lippincott William and Wilkins,2000.
Bandula Albert. Socail Learning Theory. Englewood cliffs, New Jersy : Prentice-
Hall,INC.,1977.
Cohen , Jacob. Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. New York :
Academic Press , 1969
Cusatis, D.C. Phychosocical influences on adolescent eating behavior. Dissertation.
Abstracts international,1995.
The Journal of Sports Medicine and Physical Fitness.31 (December 1991) : 639-640
(พอสังเขป)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น