แนวความคิด ธรรมชาติและพัฒนาการของมนุษย์ จะเป็นไปตามวัย ตามลำดับขั้นตอน ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และพัฒนาการทางเพศได้อย่างชัดเจน เราจึงต้องรู้จักและเข้าใจตนเองอย่างถูกต้อง พร้อมที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาตนเองให้มีความสมบูรณ์ เกิดความพร้อมในทุกด้าน
วัยรุ่นเป็นวัยสำคัญของการเปลี่ยนแปลงหลายๆด้านพร้อมกัน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ซึ่งจะมีการพัฒนาตามวัยที่สังเกตได้อย่างชัดเจนเมื่ออายุประมาณ 12-13 ปี และจะเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นวัยรุ่นเต็มที่ เมื่ออายุประมาณ 19 ปี ผู้หญิงจะเข้าสู่วัยรุ่นเร็วกว่าผู้ชายประมาณ 2 ปี (ผู้หญิงเข้าสู้วัยรุ่นเมื่อ 13 - 15 ปี ผุ้ชายเข้าสู่วัยรุ่นเมื่ออายุประมาณ 15 - 17 ปี)
แหล่งข้อมูล :ชุดกิจกรรมพัฒนาการคิด สุขศึกษา พว.
ผู้ชาย
ด้านร่างกาย
1. กล้ามเนื้อใหญ่,มีหนวดเครา,อกผาย,มีสิวกลิ่นตัว มีขนขึ้นที่ดับ
2. อัณฑะ ผลิตอสุจิ ฝันเปียก (เทสโทสเตอโรน)
ด้านสติปัญญา
1. อยากรู้อยากเห็น ชอบค้นคว้าทดลอง
2.ชอบการคิดคำนวณ คาดคะเนคิดวิเคราะห์เป็นเหตุเป็นผล
ด้านอารมณ์
1. อารมณ์ร้อน-รุนแรง เปลี่ยนแปลงง่าย รักอิสระ ดื้อรัน
2. สนใจเพศตรงข้าม มีความรู้สึกทางเพศ แสดงออกเปิดเผย
ด้านสังคม
1. รักเพื่อนต้องการให้เพื่อนยอมรับอยู่ในกลุ่ม
2. ชอบคล้อยตามเพื่อน เสี่ยงการติดยาเสพติด และโรคทางเพศสัมพันธ์
ผู้หญิง
ด้านร่างกาย
1. หน้าอกขยาย , สะโพกผายออก,เอวคอด, เสียงแหลมเล็ก, มีสิว-กลิ่นตัว, ขนขึ้นที่ลับ
2. รังไข่-ผลิตไข่ ,มีประเดือน(โปรเจสเตอโรน)
ด้านสติปัญญา
1. สนใจการเรียนชอบจดจำ ,ท่องบทเรียน
2. ชอบเรียนรู้ภาษา,ศิลปะ,ความงาม,จินตนาการคิดมาก
ด้านอารมณ์
1. อารมณ์อ่อนไหว-ไม่คงที่,อ่อนโยน,ขี้อาย ชอบวิตกกังกล - อิจฉาริษยา
2. สนใจเพศตรงข้าม- มีความรู้สึกทางเพศแต่เก็บความรู้สึก
ด้านสังคม
1. ให้ความสำคัญกับเพื่อน, ครอบครัว ติดเพื่อน
2. ชอบแต่งตัวตามสมัย – ชอบเดินห้างสรรพสินค้า นุ่งน้อยห่มน้อย ระวังการถูกล่วงละเมิดทางเพศ
ประจำเดือน
ประจำเดือน (อังกฤษ: Menstruation) เป็นเลือดที่เกิดจากการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก มีฮอร์โมนสองชนิดคือ Estrogen และ Progesteroneควบคุมการสร้างและหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งระดับฮอร์โมนทั้งสองจะมีความสัมพันธ์กับการตกไข่จากรังไข่ โดยแต่ละรอบเดือนจะมีช่วงเวลาประมาณ 26-30 วัน ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ทำให้ประจำเดือน เกิดขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง
ระดับของฮอโมน์ที่สัมพันธ์กัน
- ในช่วงวันที่ 1-14 ของเดือนจะมีการสร้างและการเจริญของไข่จนสุกเต็มที่ช่วงนี้เรียกว่า Follicular phaseโดยจะมี ฮอร์โมน follicle stimulating hormone (FSH) กระตุ้นรังไข่ให้สร้าง estrogen เพื่อควบคุมการสร้างไข่และการเจริญของไข่ในช่วงนี้ระดับ ฮอร์โมน estrogen จึงมีปริมาณสูงขึ้น
- ในช่วงวันที่ 14-28 ของเดือนจะมีการสร้างฮอร์โมน Luteinizing hormone (LH) ซึ่งจะเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นให้รังไข่สร้างฮอร์โมน progesterone และระดับ ฮอร์โมน LH จะมีปริมาณสูงขึ้นก่อนวันที่มีการตกไข่เพราะฮอร์โมน LH จะกระตุ้นให้ไข่ตก ส่วน ฮอร์โมน progesterone จะควบคุมการหนาตัวของเยื่อบุมดลูกเพื่อรองรับไข่ที่ถูกผสม ดังนั้นในช่วงนี้ระดับ progesterone จะสูงถ้าไข่ไม่ได้ถูกผสมระดับ progesterone จึงจะลดระดับต่ำลง เยื่อบุมดลูกที่หนาตัวนี้ก็จะสลายตัวไปเป็นประจำเดือน
กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (premenstrual syndrome
เป็นอาการที่เกิดขึ้นเป็นประจำก่อนมีประจำเดือน 1-2 สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงหลังไข่ตก อาการที่พบบ่อย ได้แก่ อาการทางกาย เช่น ปวดท้อง ปวดเมื่อยหลัง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย น้ำหนักขึ้น มีการคั่งของน้ำในร่างกายมากขึ้น เต้านมโตขึ้น รู้สึกตึง เจ็บ ความรู้สึกอยากรับประทานอาหารเพิ่มขึ้น ท้องอืด ถ่ายเหลว มีสิว และมีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม จิต อารมณ์ เช่น หงุดหงิด โกรธง่าย อารมณ์ตึงเครียด วิตกกังวล หลงลืม ขาดความสนใจไม่มีสมาธิ รู้สึกโศกเศร้า นอนไม่หลับ โดยอาการต่างๆ เหล่านี้จะลดลง และหายไปหลังมีประจำเดือนวันที่ 1-4 สาเหตุที่แน่ชัดยังอธิบายได้ยาก แต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง และความไม่สมดุลของฮอร์โมนต่างๆ ในรอบประจำเดือน โดยเฉพาะโปรเจสเตอโรน ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นในระยะหลังไข่ตก จากการศึกษาพบว่าสตรีที่มีอาการก่อนมีประจำเดือนจะมีระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูงกว่าสตรีที่ไม่มีอาการก่อนมีประจำเดือน นอกจากนี้ยังเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับไทรอยด์ฮอร์โมน prostaglandin norepinephrine estradiol gonadotropin และ serotonin สารเคมีในสมอง ความเครียด รวมถึงการได้รับสารอาหาร แร่ธาตุ หรือวิตามินบางอย่างไม่เพียงพอ เช่น กรดไขมัน ลิโนลิอิก วิตามินอี วิตามินบี แคลเซียม แมกนีเซียม แมงกานีส สตรีวัยเจริญพันธ์ประมาณร้อยละ 75-80 มีอาการนเล็กน้อย ปานกลาง หรือรุนแรง จนมีผลกระทบต่อสุขภาพและชีวิตประจำวันได้ เช่น ปวดท้องรุนแรงเป็นประจำ ปวดศีรษะปวดเมื่อย ก่อนมี ประจำเดือนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างร่วมกัน ความรุนแรงอาจเป็หลัง ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ต้องหยุดงาน
อาการปวดประจำเดือน (dysmenorrhea)
เป็นอาการปวดท้องน้อยในระหว่างเริ่มมีประจำเดือนถึง 8-48 ชั่วโมง เนื่องจากร่างกายมีการหลั่งสาร prostaglandin ออกมา ทำให้มีการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงมดลูกมีการหดเกร็งร่วมกับมีอาการปวดเมื่อยหลัง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายอุจจาระเหลว ปวดศีรษะ ง่วงนอน คล้ายจะเป็นลมความสนใจต่อสิ่งต่างๆ ลดลง บางรายงานการศึกษาเชื่อว่า สตรีวัยรุ่นจะไม่สุขสบาย ทุกข์ทรมานกับอาการ ปวดประจำเดือนมากกว่ากลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน แต่สตรีวัยผู้ใหญ่ หรือวัยใกล้หมดประจำเดือนจะไม่สุขสบาย ทุกข์ทรมานกับกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนมากกว่าวัยรุ่นสตรีที่มีอาการก่อนมีประจำเดือน หรือปวดประจำเดือนส่วนใหญ่จะเห็นว่าเป็นเรื่องปกติของสตรีวัยเจริญพันธุ์ไม่ได้คิดว่าเป็นปัญหาสุขภาพของสตรี และไม่แสวงหาการตรวจรักษาเพียงแต่ใช้วิธีในการบรรเทาอาการไปในแต่ละเดือน เช่น การนอนพักผ่อน การรับประทานยาแก้ปวด การประคบร้อน มักจะปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานเกือบ 10 ปี หรือมากกว่าจึงไปรับการตรวจรักษาซึ่งปัจจุบันมีแนวทางในการตรวจวินิจฉัย และให้การรักษากลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน โดยการใช้ยาต่างๆ และสารอาหารที่มีแคลเซียม แมกนีเซียม วิตามินบี
วิธีการบรรเทาอาการประจำเดือน
การปฏิบัติในการบรรเทาอาการก่อนมีประจำเดือน และ อาการปวดประจำเดือน สตรีส่วนใหญ่ ใช้ยาในการบรรเทาอาการปวดท้องก่อนมีประจำเดือน หรือระหว่างมีประจำเดือนซึ่งเป็นการใช้ยาเอง ยาที่ใช้ได้แก่paracetamol,Diclofenac ,ibuprofen ,metfenamic acid, buscopan ซึ่งการศึกษาในต่างประเทศก็พบว่า สตรีวัยรุ่นร้อยละ 90 ใช้ยาในการบรรเทาอาการปวดประจำเดือนเอง โดยยาที่ใช้คือ ibuprofen ร้อยละ 54 paracetamol ร้อยละ 41 midol ร้อยละ 28 และ naprosyn (Naproxen) ร้อยละ 17 ยาเหล่านี้เป็นยาในกลุ่มยาระงับปวด หรือกลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ มีผลในการบรรเทาอาการปวด เนื่องจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูกได้โดยยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด ์จะไปยับยั้งการสร้างสาร prostaglandin การปฏิบัติในการบรรเทาอาการก่อนมีประจำเดือน และวิธีการบรรเทาอาการปวดประจำเดือน โดยใช้วิธีอื่นๆ ได้แก่ การประคบกระเป๋าน้ำร้อน การดื่มน้ำอุ่น การนวดด้วยตนเอง การออกกำลังกายแบบแอโรบิค โยคะ หรือ นอนพัก ซึ่งเป็นวิธีที่สตรีส่วนใหญ่นิยมใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดประจำเดือน โดยสตรีร้อยละ 84 ใช้วิธีนอนพักหรือนอนหลับ ร้อยละ 75 อาบน้ำอุ่น ร้อยละ 50 ประคบร้อน ร้อยละ 47 ดูโทรทัศน์ และร้อยละ 30 ออกกำลังกาย
แหล่งอ้างอิง http://th.wikipedia.org
|
http://www.healthcorners.com/2007/article/showArticle.php?category=womenround&id=1905 |
ความหมายของ หน้า ๗ หลัง ๗
•หน้า๗คือ๗
วันก่อนรอบเดือนจะมา
•หลัง ๗ คือ ๗ วัน จากวันแรกที่มีรอบเดือน
•การนับหน้า ๗ หลัง ๗ เป็นการคุมกำเนิดแบบนับวันไข่ตก โดยมีหลักการว่า
ถ้าหากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ไม่มีการตกไข่ของเพศหญิง ตัวสเปิร์ม
ในอสุจิก็ไม่มีโอกาสปฏิสนธิกับไข่ได้
แต่ก็ต้องรู้อีกว่าสเปิร์มเมื่อเข้าสู่ในร่างกายเพศหญิงแล้ว
สามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้อีกประมาณ ๓ ถึง ๔ วัน
การนับช่วงไข่ตกจึงต้องเผื่อก่อนการมีไข่ตกไว้ก่อนไข่ตก ๔ วัน ส่วนไข่
เมื่อตกแล้วก้สามารถมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ ๗ วัน
ถ้ามีเพศสัมพันธ์จึงต้องรอให้ไข่ฝ่อไปก่อนจึงจะปลอดภัย
http://www.lauriermybrand.com/webpage/clinic/detail-23.php |
การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์และพัฒนาการทางเพศ
การมีประจำเดือน: คือการที่มีเลือดปนกับเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก
ไหลออกมาในแต่ละเดือนของสตรี เป็นปกติในสตรีที่ทุกคน
อาการ: แต่ละเดือนที่มีประจำเดือนอาการที่แตกต่างกันไป
อาการทั่วๆ ไปคือ อาการปวดบีบๆ ถ่วงๆ ที่ท้องน้อยในวันแรกที่เลือดประจำเดือนมา
ถ้าปวดไม่มากก็ถือว่าปกติ บางรายอาจมีอาการอย่างอื่นก่อนมีประจำเดือน 1 - 2
สัปดาห์ ที่พบบ่อยคืออาการ อึดอัดในท้อง หดหู่ เจ็บคัดเต้านม ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย
อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด อยากรับประทานอาหารมากกว่าปกติ
ประจำเดือนเริ่มมาครั้งแรก : อายุเฉลี่ยประมาณ 12-13
ปี บางคนอาจเริ่มเร็วกว่านั้นถึงอายุ 8 ปี หรือช้ากว่านั้นคือ ถึงอายุ 16 ปี
ก็ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ มาแต่ละครั้งนาน 2-7วันเฉลี่ยอยู่ที่ 3 - 4 วัน
เสื้อผ้า เสื้อผ้าเนื้อหนาหรือผ้าใยสังเคราะห์จะระบายเหงื่อได้ช้าและเกิดความอับชื้นได้ง่าย
ระหว่างการมีประจำเดือนพบความผิดปกติอะไรบ้าง : เป็นสิว เจ็บหน้าอก
ปวดท้องตกขาว
ตกขาว คือ ภาวะที่มีของเหลวไหลออกมาทางช่องคลอดซึ่งไม่ใช่เลือด
อาการตกขาวนี้อาจเป็นโรคที่
เกิดจาก การอักเสบ
หรือมีการระคายเคืองต่ออวัยวะสืบพันธุ์หรืออาจเป็นการตกขาวที่ปกติซึ่งเกิดจาก
การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
วิธีบรรเทาอาการปวดประจำเดือน
-
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- การผ่อนคลายทางอารมณ์ เช่น ทำสมาธิ โยคะ
- การวางกระเป๋าน้ำร้อนที่ท้องน้อย
- การลดอาหารหวานเกิน เค็มเกิน ลดคาเฟอีนจาก ชา กาแฟ
- การรับประทานยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน พาราเซตามอลเป็นต้น
*ถ้าอาการปวดไม่หายจากวิธีดังกล่าว
และเป็นมากโดยเฉพาะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป ควรปรึกษาแพทย์
•วันที่ประจำเดือนจะมาควรเตรียมตัวอย่างไร: ซื้อผ้าอนามัยเตรียมไว้
•มี่วิธีการเลือกผ้าอนามัยทำอย่างไร:ซื้อขนาดที่เหมาะสมกับเรา
เหมาะสมกับวันมามาก-น้อย
•ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยวันละกี่ครั้ง: วันมามาก 3-4 ครั้ง วันมาน้อย 1-2 ครั้ง
•ผ้าอนามัยที่ใช้แล้วก่อนทิ้งควรทำอย่างไร:นำกระดาษมาห่อให้มิดชิดแล้วทั้งถังขยะ
•ชุดชั้นในที่เปรอะเปื้อนควรซักอย่างไร: แช่น้ำเย็น ใส่ผงซักฟอก
ซักให้สะอาด ล้างด้วยน้ำเปล่า
โดย พล.ต.รศ.นพ.ธีรศักดิ์
ธำรงธีระกุล และทีมแพทย์ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากและผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช
วิธีรักษาความสะอาดร่างกายทำอย่างไร
รักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศหลีกเลี่ยงการอาบน้ำในสระน้ำ
หรือบ่อน้ำ ห้ามออกกำลังกายหนักหรือรุนแรงจนเกินไป
ในระหว่างการมีประจำเดือนควรรับประทานอาหาร
นักวิจัยจากสหรัฐอเมริกาพบว่าแมงกานีสช่วยให้การมีประจำเดือนดำเนินไปอย่างปกติได้แก่
ธัญพืช ถั่ว ผักและผลไม้โดยเฉพาะสับปะรด แคลเซียม
ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยจากที่เคยรับประทานอยู่เป็นประจำ
เช่น ตับ ปลาตัวเล็กตัวน้อย กะปิ กุ้ง ผักใบเขียวเช่นคะน้า ผลจากการวิจัยพบว่า
แคลเซียมช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากการมีประจำเดือนได้อย่างเห็นได้ชัด
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
อาหารประเภทกาเฟอีน
ผลการวิจัยพบว่า ผู้หญิงจีนที่ดื่มกาแฟวันละ 1 1/2-4 ถ้วย
มีอาการต่างๆทั้งทางร่างกายและอารมณ์ก่อนการมีประจำเดือนมากกว่าผู้ที่ไม่ดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ถึง
2 เท่า จึงควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนในช่วงที่มีประจำเดือน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ร่างกายอ่อนไหวต่อการบริโภคกาเฟอีนอยู่แล้ว
ขณะมีประจำเดือนควรออกกำลังกายอย่างไร การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยลดอาการไม่สบายเนื้อสบายตัวเหล่านี้ลงอย่างเห็นได้ชัด
ขณะมีประจำเดือนควรควบคุมอารมณ์ตนเองอย่างไร
ฟังเพลง
ดูโทรทัศน์ หากิจกรรมคลายเครียด
ขณะมีประจำเดือนควรออกกำลังกายอย่างไร
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยลดอาการไม่สบายเนื้อสบายตัวเหล่านี้ลงอย่างเห็นได้ชัด
ขณะมีประจำเดือนควรควบคุมอารมณ์ตนเองอย่างไร
ฟังเพลง
ดูโทรทัศน์ หากิจกรรมคลายเครียด
ความผิดปกติของประจำเดือนที่ควรไปปรึกษาแพทย์
1.ประจำเดือนหายไป ควรจะไปปรึกษาแพทย์ เมื่อรอจนอายุ 16 ปีแล้วยังไม่มีประจำเดือนเลย หรือประจำเดือนที่เคยมาหายไป โดยเฉพาะสตรีที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว ประจำเดือนไม่มาในเวลาที่ควรมา ให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที
2.ประจำเดือนมามาก และ/ หรือ นานกว่าปกติ ถ้าหากว่ามามากกว่าที่เคยมี หรือมีเป็นก้อนเลือดออกมาหรือมานานกว่า 7 วัน หรือมามากร่วมกับเพลียมาก
3.ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มากระปริดกระปรอยไม่แน่ไม่นอน (ยกเว้นมาเล็กน้อยตอนกลางรอบเดือน ถือว่าปกติ)
4. ปวดประจำเดือนมากทุกเดือน ซึ่งมักมีความผิดปกติในอุ้งเชิงกราน
1.ประจำเดือนหายไป ควรจะไปปรึกษาแพทย์ เมื่อรอจนอายุ 16 ปีแล้วยังไม่มีประจำเดือนเลย หรือประจำเดือนที่เคยมาหายไป โดยเฉพาะสตรีที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว ประจำเดือนไม่มาในเวลาที่ควรมา ให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที
2.ประจำเดือนมามาก และ/ หรือ นานกว่าปกติ ถ้าหากว่ามามากกว่าที่เคยมี หรือมีเป็นก้อนเลือดออกมาหรือมานานกว่า 7 วัน หรือมามากร่วมกับเพลียมาก
3.ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มากระปริดกระปรอยไม่แน่ไม่นอน (ยกเว้นมาเล็กน้อยตอนกลางรอบเดือน ถือว่าปกติ)
4. ปวดประจำเดือนมากทุกเดือน ซึ่งมักมีความผิดปกติในอุ้งเชิงกราน
การปฏิบัติตนที่เหมาะสมของวัยรุ่นขณะมีประจำเดือน
1.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประจำเดือน(ประจำเดือนคืออะไร
ลักษณะเป็นอย่างไร กี่วันมาครั้ง
ครั้งละกี่วัน เริ่มมาอายุเท่าไร
หมดเมื่ออายุเท่าไร)
2.อาการผิดปกติที่พบขณะมีประจำเดือน มีอะไรบ้าง
และมีวิธีแก้ไขอย่างไร
3.วิธีการใช้ผ้าอนามัยที่ถูกต้อง
เลือกอย่างไร,ขั้นตอนใช้อย่างไร,การทิ้งขยะทำอย่างไร
4.การรักษาความสะอาดส่วนต่างๆของร่างกาย,เสื้อผ้าที่สวมใส่,การเปลี่ยนผ้าอนามัยควรทำ
อย่างไร
5.การสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง ขณะมีประจำเดือนควรทำอย่างไร
(อาหาร,ออกกำลัง
กาย,อากาศ,แสงแดด,อารมณ์)
การพัฒนาการทางเพศวัยรุ่นเกี่ยวกับสิว
สิวเป็นการอักเสบของระบบต่อมไขมัน (sebaceous) ในรูขุมขน
ปกติไขมันที่สร้างจากต่อมไขมัน
จะออกมาตามเส้นขน
หากมีการอุดตันของทางเดินก็จะทำให้เกิดสิว สิวมีหลายชนิดที่พบบ่อยๆ
ได้แก่
สิวธรรมดาหรือที่เรียกว่า Acne
vulgalis สิวหัวดำ
สิวที่มีการอักเสบเป็นหนอง บางรายมีตุ่ม
หนองด้วย
การปฏิบัติต่อพัฒนาการทางเพศของวัยรุ่น
เกี่ยวกับสิว
สาเหตุ
•ฮอร์โมน ร่างกายสร้างฮอร์โมน Androgen ทำให้มีการสร้างไขมันเพิ่ม
มักริ่มสร้างเมื่ออายุ 11-
14 ปีพบสิวมากในวัยนี้
•การผลิตไขมันมากขึ้นและร่วมกับเซลล์ผิวหนัง
และเชื้อแบทีเรียทำให้เกิดการอุดตันจนเกิดสิว
•การเปลี่ยนแปลงของรากผม รากผมเจริญเร็วเซลล์ที่ตายมาก
จึงเกิดการอุดตันของต่อมไขมัน
•แบททีเรียชื่อPropionibacterium acne จะทำให้เกิดการอักเสบของสิว
ลักษณะอาการ
1. สิวไม่อักเสบ หรือ
สิวอุดตัน มีลักษณะเป็นตุ่มหัวสีดำเรียกว่า “สิวหัวดำ”
2. สิวอักเสบ หรือ
สิวหัวช้าง มีลักษณะเป็นตุ่มแดง หรือตุ่มหนอง อาจมีอาการเจ็บหรือมีไข้ได้
ถ้า
เกิดการอักเสบที่รุนแรงมักจะเป็นสิวที่เม็ดโตกว่าสิวอุดตัน เมือเป็นมาก ๆ
สิวอักเสบจะทิ้งรอยเป็น
ทำให้ผิวหน้ามีรอยบุ๋มหรือรอยขุมขน
การรักษาสิว
•งดใช้เครื่องสำอางที่ทำให้เกิดสิว
หรือเลือกเครื่องสำอางที่ถูกกับผิวหน้า
•ห้ามบีบหรือแกะสิวโดยเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้สิวลุกลาม
•อาหารควรจะหลีกเลี่ยงอาหารที่มัน
และหวานและก็อย่ารับมากจนอ้วน
•ห้ามถูหน้าแรงๆในขณะล้างหน้า ล้างหน้าวันละ 2
ครั้งและใช้ผ้าซับเบาๆ
•คนที่หน้ามันให้ล้างหน้าด้วยสบู่อย่างน้อยวันละ 4 ครั้ง
•การเลือกยาทาสิวขึ้นกับชนิดของสิวซึ่งควรจะปรึกษาแพทย์
•การเลือกรับประทานยาขึ้นกับแพทย์ที่ดูแล
แนวทางในการป้องกันและลดโอกาสของการเกิดสิว
1. ควรใช้สบู่อ่อนๆ
ล้างหน้า วันละ 2 ครั้งถ้าใบหน้ามันมาก
อาจล้างหน้าหรือใช้กระดาษซับมันตอนกลางวันได้
2. เมื่อเป็นสิว
ไม่ควรกดหรือบีบสิว เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบมากขึ้น ทำให้เกิดรอยแผลเป็นตามมา
3.
ควรเลือกใช้เครื่องสำอางชนิดที่ได้มาตรฐาน ผ่านการทดลอง
4.
อาหารไม่ใช่สาเหตุที่ก่อให้เกิดสิว ยกเว้นกรณีที่สังเกตได้ชัดว่า
เมื่อรับประทานอาหารชนิดนี้เข้าไปครั้งใดแล้วทำให้เกิดสิวเห่อขึ้นที่ใบหน้าทุกครั้ง
ก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารชนิดนั้น
5. ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพจิตที่ดี ไม่ควรเครียดง่าย
การพัฒนาการทางเพศวัยรุ่นเกี่ยวกับกลิ่นตัว
สาเหตุของการมีกลิ่นตัว
ฮอร์โมน โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่นที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนมาก
ก็ทำให้เกิดกลิ่นตัวได้
สภาพอากาศ ในสภาพอากาศร้อนหรือร้อนชื้น
เชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังจะเพิ่มจำนวนมากเป็น
พิเศษ
และเป็นสาเหตุให้เกิดกลิ่นตัวได้ง่ายและรุนแรงขึ้น
อารมณ์ ความเครียด โกรธ หรือตกใจ
จะกระตุ้นให้ต่อมเหงื่อขับเหงื่อออกมามากกว่าปกติ
อาหารที่มีสารคอลีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ตับ
พืชประเภทฝักถั่ว หัวหอม กระเทียม และเครื่องเทศ
รวมถึงการรับประทานอาหารรสจัด
ล้วนแต่เร่งให้ต่อมเหงื่อขับไขมันออกมามากขึ้นทั้งสิ้น
ภาวะผิดปกติทางร่างกาย เช่น
การทำงานที่บกพร่องของระบบเผาผลาญอาหารบางระบบ หรือ
ระบบการย่อยของเอนไซม์
ทำให้ร่างกายสร้างสารเคมีบางอย่างที่มีกลิ่นแล้วขับออกมาทางเหงื่อ
ยา เช่น
ยาทารักษาสิวทั่วไปที่มีส่วนผสมของ Benzoyl Peroxide มีผลข้างเคียงทำให้เกิดกลิ่นตัว
ลักษณะอาการ : มีกลิ่นตัวแรงผิดปกติ
ไม่เป็นที่พึ่งพอใจของคนใกล้ชิด
การป้องกัน
•อาบน้ำบ่อยๆ
โดยเฉพาะหลังเหงื่อออกมาก
•ทำความสะอาดร่างกายด้วยการฟอกสบู่ที่ผสมยาฆ่าเชื้อโรค
•ทายาที่ลดการหลั่งเหงื่อบริเวณรักแร้
•ทาแป้งฝุ่นบริเวณข้อพับที่อับชื้น
เพื่อช่วยให้ผิวแห้ง ลดความอับชื้นลง
•พบแพทย์
(แพทย์ผู้รักษาโรคผิวหนัง) หากดูแลตัวเองดังกล่าวข้างต้นแล้วยังไม่ดีขึ้น
การรักษา
•รักษาสุขอนามัยให้ดี
ควรอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
•หลีกเลี่ยงภาวะเหงื่อออกมากโดยใช้พัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ
•ไม่ควรปล่อยให้คราบเหงื่อแห้งติดตัวเป็นเวลานาน
หากไม่สามารถอาบน้ำได้ ควรใช้ผ้าเช็ดเหงื่อ
ให้แห้งทุกครั้งหลังเหงื่อออก
•สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี
โดยเฉพาะหากอยู่ในที่ร้อนและชื้น ควรใช้ผ้าฝ้ายแทนผ้าใย
สังเคราะห์
•เปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ทุกวัน
ส่วนเสื้อผ้าที่ใช้แล้วต้องนำไปซักให้สะอาด และตากแดดให้แห้งสนิท
การเบี่ยงเบนทางเพศ (Sexual
Deviation)
การเบี่ยงเบนทางเพศ (Sexual Deviation) เป็นความผิดปกติในคนที่มีความรู้สึกทางเพศ
ทัศนคติ
ตลอดจนพฤติกรรมทางเพศที่แสดงออกไม่เหมาะสม แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ในสังคม
มักมี
สาเหตุจากสภาพจิตใจที่ผิดปกติทำให้เขาไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
แต่มิได้หมายความว่า “เป็น
โรคจิตหรือวิกลจริต” เป็นเพียงความผิดปกติทางจิตเวช พวกบุคลิกภาพผิดปกติ (Personality
Disorder) เท่านั้น
การเบี่ยงเบนทางเพศ
1. แปรปรวนเอกลักษณ์ทางเพศ
รักร่วมเพศ (Homosexuality) หมายถึง การมีความสุขทางเพศกับคนเพศเดียวกัน ระหว่างชายกับ
ชาย
เรียกว่า เกย์ (Gay) ระหว่างหญิงกับหญิง เรียกว่า เลสเบียน (Lesbian) ที่เรียกกันว่า ทอม, ดี้
ลักเพศ (Transvestism) คือ
ภาวะของคนที่มีความสุขความพอใจทางเพศ
มีอารมณ์จาการที่ได้
แต่งตัวหรือแสดงท่าทางเป็นเพศตรงข้ามตนเอง เช่น
ชายที่แต่งตัวเป็นหญิง หรือหญิงที่แต่งตัว
เป็นชาย
วัตถุสนองอารมณ์เพศ
เครื่องใช้ ชุดชั้นใน
เสื้อผ้า
พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ
ประเภทรักร่วมเพศ
พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ ประเภทรักร่วมเพศ
โดยทั่วไปสามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
. ทอม - Tom boy
ได้แก่ ผู้หญิงที่มีพฤติกรรมชอบผู้หญิงด้วยกัน โดยมีการปฏิบัติตน
เลียนแบบ
ผู้ชาย
. ดี้ - Lady ได้แก่ ผู้หญิงที่มีพฤติกรรมชอบผู้หญิงด้วยกัน
โดยมีการปฏิบัติตนเป็นผู้หญิง
. ตุ๊ด - Tussy
ได้แก่ ผู้ชายที่มีพฤติกรรมชอบผู้ชายด้วยกัน
โดยมีการปฏิบัติตนเลียนแบบผู้หญิง
. เกย์ ( ไม่ค่อยเปิดเผย ) ได้แก่ ผู้ชายที่มีพฤติกรรมชอบผู้ชายด้วยกัน
2. เบี่ยงเบนการกระทำทางเพศ
โดยอาศัยหลักการวินิจฉัยโรคของระบบสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน
(DSM-IV)
ดังนี้
การมีความต้องการทางเพศกับเด็ก หมายถึง การที่บุคคลมีความสุขทางเพศเกี่ยวกับกิจกรรม
ทางเพศกับเด็ก
ซึ่งอาจเป็นเพศ เดียวกันหรือ เพศตรงข้ามกันก็ได้ เช่น การสัมผัสร่างกาย
เป็นต้น
การมีความสุขกับการได้รับความเจ็บปวด หมายถึง
การที่บุคคลมีจินตนา การและแรงกระ
ตุ้นทางเพศอย่างรุนแรง
โดยการกระทำให้ตนเองเจ็บปวด หรือทนทุกข์ทรมาน เช่นการถูกจับ
มัด การใช้ไฟฟ้าจี้
การมีความสุขทางเพศจากการกระทำให้ผู้อื่นเจ็บปวด หมายถึง การที่่บุคคลมีจินตนา การ
และ
แรงกระตุ้นทาง เพศอย่างทารุณโดยการกระทำ ต่อ คู่ร่วมเพศหรือคู่ขโดยการผูก มัด
ผูกตา
เปลือยกาย เฆี่ยนยตีใช้น้ำร้อน ลวก ไฟฟ้าจี้ ข่มขืน
ลักเพศหมายถึง การที่บุคคลมีจินตนาการและแรงกระตุ้นทางเพศอย่างรุนแรง โดยการแต่ง กาย
ให้เป็นเพศตรงข้าม
หรือพฤติกรรมแบบรักร่วมเพศ เช่นการชอบ แต่งกาเป็นผู้หญิงในห้อง ตาม
ลำพัง
การสวมใส่ชุดชั้นในผู้หญิงไว้ข้าง ใน
แต่แต่งกายสวมเสื้อเป็นผู้ชาย
การชอบถ้ำมอง หมายถึง
การที่บุคคลมีจินตนาการและแรงกระตุ้นทาง เพศอย่างรุนแรงซ้ำ
แล้วซ้ำอีกโดยการแอบดูผู้อื่นเปลือยกาย
การชอบอวดอวัยวะ
การมีความสุขทางเพศกับวัตถุ
การชอบถูอวัยวะเพศของตนกับเพศตรงข้าม
การเกิดอารมณ์ทางเพศกับคนเพศตรงข้าม
พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศของวัยรุ่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น