ทัศนศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี
ตราประจำจังหวัด
จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทยห่างจากกรุงเทพ 107กิโลเมตร
ภูมิประเทศ
ส่วนใหญ่ของสุพพรณบุรีเป็นที่ราบต่ำติดชายฝั่งแม่น้ำ มีทิวเขาขนาดเล็กอยู่ทางตะวันตกด้านตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่ราบลุ่มของแม่น้ำสุพรรณบุรี (แม่น้ำืท่าจีน) ใช้เป็นพิ้นที่ปลูกข้าว
คำขวัญประจำจังหวัด
วันที่ 3 สิงหาคม 2554 กลุ่มสาระฯสุขศึกษาและพลศึกษา และ กลุ่มสาระฯการงานอาชีพ นำนักเรียน ม.4 ไปทัศนศึกษา ตามโครงการของกระทรวงศึกษาธิการ โดยจัดให้นักเรียนได้ศึกษา เรียนรู้นอกสถานที่ จึงได้จัดให้นักเรียนไปทัศนศึกษาที่จังหวัดสุพรรณบุรี ทุกคนร่วมเดินทางโดยรถของบริษัติรัตนบลาลี นักเรียนทั้งหมด 519 คน มีอาจารย์ผู้ควบคุมดูแลประจำรถ คันละ 2 ท่าน รถทั้งหมด 10 คัน เราได้ดูแลนักเรียนคันที่ 6ร่วมเดินทางกับเด็กนักเรียนห้องม.4 ห้อง 6 และห้อง7ออกเดินทาง จากโรงเรียน 7.30น.
นักเรียน ม.4 เป็นนักเรียนที่เราได้สอนเป็นครั้งแรกที่ได้เข้ามาทำงานในโรงเรียนสายน้ำผึ้ง และบางคนก็เป็นนักเรียนที่เราได้ประจำชั้นเป็นครั้งแรกเช่นกัน รู้สึกดีใจถึงแม้ว่า เราจะไม่ได้มีโอกาสได้สอนพวกเขาแล้ว แต่นักเรียนทุกคนก็ยังจำได้ ทักทายเราอยู่ตลอด และนักเรียนพูดขึ้นมาว่า (ตอนที่หนูเรียนกับครู วิ่งข้ามรั้วของครูอ่ะ หนูกลัวมาก วิ่งยังไงก็ติดตลอด แต่มันก็ผ่านมาได้ด้วยดี ) บางคนก็พูดว่าหนูอยากกระโดดข้ามรั้วอีก !!! นักเรียนทุกคนยังจำเราได้ ยังทักทายเราอยู่่ทุกวัน ดีใจที่พวกเขาไม่ลืม ระหว่างการเดินทาง รถคันที่ 2 ล้อระเบิด แต่โชคดีไม่มีใครบาดเจ็บ และก็ผ่านไปได้ด้วยดี เวลาของการขับรถถึงสุพรรณ ประมาณ 2 ชั่วโมงกว่า สถานที่แรกที่เราไปทัศนศึกษาก็คือ
ควายยิ้ม ความทำความเคารพ
จากหมู่บ้านอนุรักษ์ความไทยแล้วเราก็เดินทางไปตลาดร้อยปีสามชุก เป็นตลาดที่เก่าแก่ของจังหวัด
เขาบอกว่าถ้าหากใครมีโอกาสได้มาเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี ย่อมจะพลาดไม่ได้ที่จะมาจับจ่ายใช้สอย หาซื้อของฝาก ติดไม้ติดมือกลับไปฝากคนที่บ้านกันที่ตลาดสามชุก(ตลาดร้อยปี) เพราะตลาดสามชุกนับได้ว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่นิยมอีกที่หนึ่งของหวัดสุพรรณบุรี ใครมาที่สุพรรณบุรีแล้วไม่ได้มาเที่ยวที่ตลาดสามชุกก็ถือว่ามาไม่ถึง เพราะนอกจากจะได้ของฝากกลับบ้านแล้ว ยังได้มาชื่นชมบรรยากาศของตลาดเก่าในสมัยโบราณอีกด้วยก้าวแรกที่เดินเข้ามาที่ตลาดสามชุก ก็รู้สึกว่าเหมือนย้อนเวลากลับมาในอดีต เพราะตลาดสามชุกยังมีบรรยากาศเก่าๆ พ่อค้า แม่ค้าต่างนำสินค้ามาขายกันที่หน้าบ้านของตนเอง และที่สำคัญสภาพบ้านเรือนก็ยังคงสภาพเป็นห้องแถวสร้างด้วยไม้ หลังคามุงด้วยสังกะสี และยังมีวิถีชีวิตที่ผสมผสานกันระหว่างคนไทยกับคนจีน จนทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสาย จีนขี้น
ร้านถ่ายรูปภาพเก่า |
ตลาดสามชุก เป็นตลาดสำคัญในการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าที่สำคัญในอดีต ตั้งแต่เมื่อ 100 กว่าปีก่อน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสุพรรณบุรี แต่เมื่อถนนคือ เส้นทางจราจรทางบกที่เข้ามาแทนที่การเดินทางทางน้ำ ทำให้คนหันหลังให้กับแม่น้ำท่าจีน ความสำคัญของตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าริมน้ำเริ่มลดลง บรรยากาศการค้าขายในตลาดสามชุกก็เริ่มซบเซา และเมื่อต้องแข่งขันกับห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และตลาดนัดภายนอก ทำให้ร้านค้าภายในตลาดต้องหาทางปรับตัว และเมื่อราชพัสดุ เจ้าของที่ดินที่ชาวบ้านเช่าที่ดินมายาวนาน ดำริจะรื้ออาคารตลาดเก่า สร้างตลาดใหม่ จึงทำให้ชาวบ้านพ่อค้าที่อยู่ในตลาดสามชุก ครูอาจารย์ที่เห็นคุณค่าตลาดเก่า รวมตัวเป็นคณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุกเชิงอนุรักษ์ระดมความคิด หาทางอนุรักษ์ตลาดและที่อยู่ของตนไว้ และหาทางฟื้นคืนชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้ง เป็นที่มาของกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ร้านค้าในตลาดมีประมาณ 300 ร้าน เจ้าของร้าน 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นชาวตลาดสามชุก อีก 20 เปอร์เซ็นต์เป็นชุมชนรอบข้าง ส่วนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นคนถิ่นอื่นเข้ามาร่วมทำมาหากิน
จากนั้นสถานทีสุดท้ายที่เราได้ไปชมก็คือ วัดป่าเลไลย์
เรือนขุนช้าง |
วัดป่าเลไลย์เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่ที่ริมถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ สุพรรณบุรีชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า วัดป่า เป็นพรอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่หน้าบันของวิหาร วัดป่าเลไลยก์มีเครื่องหมาย พระมหามกุฎอยู่ระหว่างฉัตรคู่บอกให้ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จธุดงค์มาพบ สมัยยังทรงผนวชอยู่ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วจึงทรงมาปฏิสังขรณ์ สันนิษฐานว่าวัดนี้สร้าง ในสมัยที่ เมืองสุพรรณบุรีรุ่งเรือง ในพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้ากาแตทรงให้มอญน้อยมาบูรณะ
วัดป่าเลไลยก์ภายหลัง พ.ศ. 1724
วัดป่าเลไลยก์ภายหลัง พ.ศ. 1724
วัดป่าเลไลย์ เป็นที่คุ้นของคนทั่วไป เนื่องจากปรากฎอยู่ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ขุนแผนเมื่อเยาว์วัย ได้มาบวชเรียนที่วัดนี้ในชื่อว่าเณรแก้ว ความสำคัญของวัดป่าเลไลยก์ตามที่พรรณาไว้ใน เสภา
เรื่องขุนช้าง ขุนแผน ด้านหน้าของพระวิหารจึงมีรูปปั้นของขุนแผน
และนางพิมตั้งอยู่
เรื่องขุนช้าง ขุนแผน ด้านหน้าของพระวิหารจึงมีรูปปั้นของขุนแผน
และนางพิมตั้งอยู่
จิตกรรมฝ่าผนัง |
ที่วัดแห่งนี้ประชาชนนิยมมานมัสการ “หลวงพ่อโต” ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหารสูงเด่น เห็นแต่ไกลเป็นพระพุทธรูป ปางป่าเลไลยก์ ศิลปะสมัยอู่ทองสุพรรณภูมิมีลักษณะประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระชานุ พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุอีกข้างหนึ่งในท่าทรงรับของถวาย องค์พระสูง 23.46 เมตร รอบองค์ 11.20 เมตร มีนักปราชญ์หลายท่านว่า หลวงพ่อโตเดิมคงเป็นพระพุทธรูป ปางปฐมเทศนา สร้างไว้กลางแจ้งเหมือน พระพนัญเชิงในสมัยแรกๆ เพราะมักจะพบว่า พระพุทธรูปขนาดใหญ่ ที่สร้างในสมัยก่อนอยุธยาและอยุธยาตอน ต้น ส่วนมากชอบสร้างไว้กลางแจ้งเพื่อให้สามารถมองเห็นได้แต่ไกล ภายในองค์พระพุทธรูปนี้บรรจุพระบรม สารีริกธาตุที่ได้มาจากพระมหาเถรไลยลายจำนวน 36 องค์ หลวงพ่อโตเป็นที่เคารพนับถือของ ประชาชนใน จังหวัดสุพรรณบุรี
หลวงพ่อโต |
หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองสุพรรณมาแต่โบราณกาล ตามพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้ากาแลโปรดให้บูรณะวัดป่าเลไลยก์ เมื่อ พ.ศ. 1724 แสดงว่าแสดงว่าวัดนี้ได้สร้างมาแล้วก่อนหน้านั้น องค์พระประดิษฐานอยู่ในวิหารที่สูงใหญ่ มองเห็นเด่นแต่ไกล เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองปาง ป่าเลไลยก์ขนาด ใหญ่สูง 23 เมตรเศษ สร้างตามแบบศิลปอู่ทองรุ่นที่สอง ซึ่งเป็นศิลปะฝีมือสกุลช่างอู่ทองแท้ ๆ เดิมทีองค์พระ ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง พระหัตถ์ขวาหัก ช่างได้สร้างวิหารครอบ โดยให้ผนังวิหารชิดกับพระ หัตถ์ขวา ส่วนทาง พระหัตถ์ซ้ายให้มีที่ว่าง ด้านหลังองค์พระสร้างชิดกับผนังวิหารทำให้แข็งแรง นับเป็นความ ชาญฉลาดของ ช่างเป็น อย่างยิ่ง มีผู้สันนิษฐานว่า เดิมเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ประทับนั่งอยู่กลางแจ้ง พระกรทั้งสองข้างหักหายไป ผู้ที่มาบูรณใหม่ได้ทำเป็นปางป่าเลไลยก์ตามที่นิยมกันในสมัยหลัง ลักษณะประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ซ้าย วางคว่ำบนพระชานุข้างซ้าย พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุข้างขวาในท่าทรงรับของถวาย พระวิหารที่สร้าง ครอบองค์พระ สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ จะเห็นว่าที่หน้าบันของพระวิหาร มีพระราชลัญจกร ประจำพระองค์ คือเป็นรูปพระมหามงกุฎอยู่ระหว่างฉัตรคู่ปรากฎอยู่ งานเทศกาลนมัสการหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ มีปีละสองครั้ง คือในวันขึ้น 5-9 ค่ำ เดือน 5 และเดือน 12 ทุกสถานที่ ที่ไปมาล้วนแล้วแต่มีคุณค่าความงดงามในตัวของมันเอง และเป็นสถานที่ที่สำคัญของไทยเรา จึงอยากให้คนไทยทุกคน เที่ยวเมืองไทยกันมากขึ้น ช่วยกันรักษาสิ่งที่งดงาม ประเพณี วัฒนธรรมเหล่านี้ไว้ให้อยู่กับคนไทยไปอีกนานแสนนาน