ของฝากจากคนรักกีฬา

กีฬามัน กีฬาดัง




Usain Bolt gets DQ'd! - ENGLISH COMMENTARY!

“อูเซน โบลท์” เจ้าของสถิติโลกวิ่ง 100 เมตร หมดสิทธิ์ป้องกันแชมป์โลก หลังถูกจับดิส ควอลิฟายด์ ในการแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลกที่ประเทศเกาหลีใต้



110m hurdles final 2011 world championships, Richardson world champion, Robles disqualified
กรีฑาชิงแชมป์โลก ที่เมืองแดกู ประเทศเกาหลีใต้ วิ่งข้ามรั้ว 110เมตรชาย เดย์รอน โรเบิลส์ เหรียญทองโอลิมปิกปี 2008 และเจ้าของสถิติโลก จากคิวบาถูกปรับแพ้ แม้เข้าเส้นชัยเป็นคนแรก เพราะไปดึง หลิว เซียง อดีตเหรียญทองโอลิมปิกปี 2004 จากจีน ขณะข้ามรั้วที่ 9 ทำให้ เจสัน ริชาร์ดสัน จากสหรัฐฯ ที่เข้าเส้นชัยเป็นที่ 2 ได้เหรียญทองแทน เหรียญเงิน หลิว เซียง และเหรียญทองแดง แอนดี้ เทอร์เนอร์ จากสหราชอาณาจักร

Carmelita Jeter Wins 100m Final at World Championships
วิ่ง 100 เมตรหญิง คาร์เมลิตาร์ เจเทอร์ จากสหรัฐฯ คว้าเหรียญทองไปครอง หลังเข้าเส้นชัยเป็นคนแรก เวลา 10.90 วินาที เหรียญเงิน เวโรนิก้าแคมเบลล์ บราวน์ จากจาไมก้า ตามหลัง .07 วินาที เหรียญทองแดง เคลลี่ แอนบาปติสเต้ จากทรินิแดด แอน โทเบโก้

Women's 4×100m Final 日本 44.05 2011Asian Athletics Championships JPN 1st


แถวยืนจากซ้ายไปขวา
ปิยะนุช แป้นน้อย(2)/อรอุมา สิทธิรักษ์(6)/กมลพร สุขมาก(17)/ชริยา ออสิงห์สวัสดิ์(แพทย์ประจำทีม)/ดนัย ศรีวัชระเมธากุล(สต๊าฟโค้ช)/เกียรติพงศ์ รัชตเกรียงไกร(หัวหน้าโค้ช)/พิสิทธิ์ นัทธี(ผู้จัดการทีม)/ณัฐพล ศรีสมุทรนาค(สต๊าฟโค้ช)/อุทัยวรรณ แก่นสิงห์(เจ๋ง/วนิชยา หลวงทองหลาง(9)/วรรณา บัวแก้ว(1)

แถวนั่งจากซ้ายไปขวา
อัมพร หญ้าผา(11)/ปลื้มจิตต์ ถินขาว(5)/นุสรา ต้อมคำ(13)/ฐาปะไพพรรณ ไชยศรี(12)/วิลาวรรณ อภิญญาพงศ์(10)/มลิกา กันทอง(15)


เครดิตรูป...จากเฟซบุคPiyanut Pannoy
เครดิตข้อมูล...จากFIVB


2011 FIVB World Grand Prix - THAILAND vs CHINA (Set 2)
สาวไทยสุดยอดจริงเซทนี้
นับเป็นปรากฎการณ์จริงๆที่นักกีฬาไทยประสบความสำเร็จได้ถึงขนาดนี้ สุดยอด จะมองว่าความสูงไม่ได้เป็นปัญหาเลยในการแข่งขันวอลเลย์บอล ประผลจากการฝึกซ้อมที่เต็มร้อยแต่หน้าจะเกินร้อยเลยดีกว่า พร้อมทั้งมีโค้ชที่ดี มีความตั้งใจจริงของคนไทย คนอื่นเขาจะได้รู้ว่าคนไทยก็ทำให้กีฬาไทยไปกีฬาโลกได้เหมือนกัน

Mother's Day


Mother's Day : วันแม่แห่งชาติ


ประวัติวันแม่
วันแม่แห่งชาติ หรือที่คนไทยทั่วไปนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า "วันแม่" ทุกคนรับทราบและซาบซึ้งกันดี เนื่องจากวันสำคัญนี้ ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ ๑๒ สิงหาคม อันเป็นวันคล้ายวันเสด็จพระราชสมภพและถือว่าเป็นวันแม่แห่งชาติด้วย

แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาวันที่ ๑๕ เมษายน ของทุกๆ ปีทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรี ประกาศรับรอง เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๓ ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงานวันแม่มาตั้งแต่วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดีด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงาน ให้กว้างออกไปได้ การจัดงานไม่เพียงแต่จัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ยังจัดให้มีการประกวดแม่ของชาติ ประกวดคำขัวญวันแม่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกียรติแก่แม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของงานวันแม่ให้ยิ่งๆ ขึ้น ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาล ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม (สมัยนั้น) แต่ทั่วไปเรียกกันว่า วันแม่ของชาติ

ต่อมาถึง พ.ศ. ๒๕๑๙ ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ ๑๒ สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นต้นมา จากหนังสือของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ชื่อแม่หลวงของปวงชน พิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ มีข้อความตอนหนึ่งเทิดพรเกียรติไว้ว่า

"แม่ที่ดีย่อมรู้จักส่งเสริมธำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ เพราะแม่ทราบดีว่าถ้าขาดสิ่งเหล่านี้แล้ว ความเป็นไทยที่แท้จริงจะมิปรากฏอยู่บนผืนแผ่นดินไทยอันเป็นที่รักยิ่งของเรา
แม่ที่ดีย่อมประพฤติปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามระบอบของการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข โดยรักเคารพและเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เหนือสิ่งอื่นใด หญิงไทยทุกคน ย่อมจะมีคุณลักษณะต่างๆ ของแม่ที่ดีดังกล่าวข้างต้นนี้อยู่แล้วจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับการศึกษาและการฝึกหัดอบรม แต่จะหาหญิงใดที่มีคุณลักษณะครบถ้วนทุกประการเสมอเหมือน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นั้นไม่ง่ายนัก ด้วยเหตุนี้เราจึงขอเทิดทูนพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ ว่าทรงเป็นแม่หลวงของปวงชน ผู้ทรงเป็นศรีสง่าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของบ้านเมือง และของปวงชนชาวไทยทั้งมวล" ดังกล่าวนี้เป็นเรื่องของวันแม่ของชาติตามเหตุผลของทางราชการ

ส่วนที่เกี่ยวกับวันแม่ของไทยตามความรู้สึกนึกคิดทั่วไปของคนไทยผู้เป็นแม่ คำว่า แม่ นี้เป็นคำที่ซาบซึ้ง ไม่มีการกำหนด วัน เวลา แต่มีความหมายลึกซึ้งกินใจของผู้เป็นแม่และลูกมานานแล้ว ดังสำนวนไทยประโยคหนึ่งว่า "แม่ใครมาน้ำตาใครไหล" ซึ่งพระวรเวทย์พิสิฐได้อธิบายไว้ในหนังสือวรรณกรรมเรื่อง "แม่" ว่า

"เด็กไทยตามหมู่บ้านในสมัยที่ข้าพเจ้าเป็นเด็กมักเล่นกันเป็นหมู่ๆ เด็กคนไหนแม่อยู่บ้าน เวลาเขาเล่นอยู่ในหมู่เพื่อนหน้าตาก็ยิ้มแย้มแจ่มใส เด็กคนไหนที่แม่ไม่อยู่บ้าน ต่างว่าไปทำมาหากินไกลๆ หรือ ไปธุระที่ไหนนานๆ ก็มีหน้าตาเหงาหงอย ถึงจะเล่นสนุกสนานไปกับเพื่อนในเวลานั้นก็พลอยสนุกไปแกนๆ จนเด็กเพื่อนๆ กันรู้กิริยาอาการ เพราะฉะนั้น พอเด็กๆ เพื่อนๆ แลเห็นแม่เดินกลับมาแต่ไกล ก็พากันร้องขึ้นว่า แม่ใครมาน้ำตาใครไหล แล้วเด็กคนนั้นผละจากเพื่อนเล่นวิ่งไปหาแม่ กอดแม่ น้ำตาไหลพรากๆ ด้วยความปลื้มปิติ แล้วจึงหัวเราะออก ลักษณะอาการที่เด็กแสดงออกมาจากน้ำใจอันแท้จริงอย่างนี้ ย่อมเกิดจากความสนิทสนม ชิดเชื้อมีเยื่อใยต่อกัน แม่ไปไหนจากบ้านก็คิดถึงลูกและลูกก็เปล่าเปลี่ยวใจเมื่อแม่ไม่อยู่บ้าน นี่คือธรรมชาติ ไม่มีใครสร้างสรรค์บันดาล มันเกิดขึ้นเอง"และอีกตอนหนึ่งในหนังสือเล่มเดิมที่อ้างข้างต้นให้ความหมายของคำว่า "แม่" ว่า "เสียงที่เปล่งออกมาจากปาก เป็นคำที่มีความหมายว่า แม่ เป็นเสียงและความหมายที่ลึกซึ้งใจมีรสเมตตาคุณ กรุณาคุณและความรักอยู่ในคำนี้บริบูรณ์ เด็กน้อยที่เหลียวหาแม่ไม่เห็นก็ส่งเสียงตะโกนเรียก แม่ แม่ ถ้าไม่เห็นก็ร้องไห้จ้า ถ้าเห็๋นแม่มาก็หัวเราะได้ทั้งน้ำตา นี่เพราะอะไร เราเดาใจเด็กว่า เมื่อไม่เห็นแม่เด็กต้องรู้สึกใจหายดูเหมือนเขาจะรู้สึกว่าขาดผู้ที่ปกปักรักษาให้ปลอดภัย แต่พอเห็นแม่เข้าเท่านั้นก็อุ่นใจ ไม่กลัวเกรงอะไรทั้งหมดเราที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว เมื่อเอ่ยคำว่าแม่ขึ้นทีไร ก็มักจะรู้สึกเกินออกไปจากความหมายที่เป็นชื่อเท่านั้น ย่อมนึกถึงความสัมพันธ์ที่แม่มีต่อเราเกือบทุกครั้ง แม่รักลูกถนอมลูก หวังดีต่อลูก จะไปไหนจากบ้านก็เป็นห่วงลูก ถึงกับแบ่งของรับประทานนั้นไว้ให้ลูก ลักษณะเหล่านี้ย่อมตรึงใจเรามิวาย"

อย่างไรก็ตาม การที่ทางราชการประกาศกำหนดวันที่ ๑๒ สิงหาคม ของทุกปีเป็นวันแม่แห่งชาติ ย่อมก่อให้เกิดวันอันเป็นที่ระลึกที่สำคัญยิ่งของไทยเราวันหนึ่ง และกำหนดให้ถือว่า ดอกมะลิ สีขาวบริสุทธิ์ เป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่ตัวเรา อย่างคำประพันธ์บทดอกสร้อยชื่อ แม่จ๋า ของท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา ที่ว่า                                                                                  
ดอกเอ๋ยดอกมะลิ                                                      


ถึงยามผลิกลิ่นพราวสกาวต้น

สดสะอาดปราศสีราคีระคน

เหมือนกมลใสสดหมดระคาย

กลิ่นมะลิหอมกระไรไม่รู้สร่าง

เปรียบได้อย่างรักแท้ไม่แปรหาย

อันรักแท้แลหัวใจได้บรรยาย

ขอเชิญทาย ณ ที่ไหนจากใครเอย
    
ในสังคมต่าง ๆ ทั่วโลกให้ความสำคัญกับ "ความเป็นแม่" และคำเรียกผู้ที่ให้กำเนิดสมาชิกใหม่ของแต่ละสังคมส่วนใหญ่จะเป็นคำแรกที่เด็กสามารถเปล่งเสียงได้ก่อน "แม่" ดังนั้นความหมายของคำว่า "แม่" ทุกภาษาและวัฒนธรรมจะมีคุณค่าอย่างมาก และหากสังเกตจะพบว่า "แม่" เป็นเสียงที่เด็กสามารถเปล่งได้อย่างง่าย และเป็นคำแรกที่สามารถออกเสียงนั้นได้อย่างมีความหมาย 

          นักภาษาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า คำว่า "แม่" ของทุก ๆ ภาษา มาจากการออกเสียงของเด็ก โดยคำขึ้นต้นด้วยพยัญชนะริมฝีปากคู่ (Bilabial) ได้แก่ ม , , ,บ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นพยัญชนะชุดแรกที่เด็กสามารถทำเสียงได้ โดยการใช้ริมฝีปากบนและล่าง ดังเช่น

                    ภาษาไทย เรียก แม่
                   
ภาษาจีน เรียก ม๊ะ หรือ ม่า
                   
ภาษาฝรั่งเศส เรียก la mere (ลา แมร์)
                   
ภาษาอังกฤษ เรียก mom , mam
                   
ภาษาโซ่ เรียก ม๋เปะ
                   
ภาษามุสลิม เรียก มะ
                   
ภาษาไท เรียก ใต้คง เม เป็นต้น

          "แม่" เป็นคำโดดหรือคำไทยที่บ่งบอกความสัมพันธ์อันอบอุ่นลึกซึ้งระหว่างผู้หญิงกับลูก แม่ หมายถึง ผู้มีพระคุณ ผู้ให้กำเนิด ให้น้ำนมลูกดื่มกิน ให้ความรักความเมตตาและปกป้องดูแลลูกจนเติบใหญ่ คำว่า "แม่" มักถูกนำไปใช้ร่วมกับคำอื่น ๆ โดยมีความหมายแตกต่างกันออกไป พอจะแบ่งแยกออกได้เป็นประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

        1. แม่ ในฐานะเป็นคำที่ใช้แบ่งแยกเพศและบ่งบอกบทบาท ฐานะ สถานภาพและอากัปกิริยาของผู้หญิง เช่น แม่… (น.) : คำเรียกหญิงทั่วไป เช่น แม่นั่น แม่นี่ ; แม่ค้า (น.) : ผู้หญิงที่ดำเนินการค้าขาย ; แม่ครัว (น.) : หญิงผู้ดูแลครัว หุงหาอาหาร ; แม่คู่ (น.) : นักสวดผู้ขึ้นต้นบท ; แม่นม (น.) : หญิงผู้ให้นมเด็กกินแทนแม่ ; แม่บ้านแม่เรือน (น.) : หญิงดูแลบ้านเรือน ; แม่แปรก (น.) : หญิงผู้จัดจ้านหรือเป็นหัวหน้ากลุ่ม ; แม่มด (น.) : หญิงหมอผี หญิงคนทรง หญิงเข้าผี ; แม่ยาย (น.) : คำเรียกแม่ของเมีย ; แม่ม่าย (น.) : หญิงที่มีผัวแล้วแต่ผัวตายหรือเลิกร้างกันไป ; แม่ยั่วเมือง (น.) : คำเรียกพระสนมเอกแต่โบราณ ; แม่ย้าว (น.) : หญิงผู้เป็นแม่เรือน ; แม่รีแม่แรด (ว.) : ทำเจ้าหน้าเจ้าตา ; แม่แรง (น.) : หญิงผู้เป็นกำลังสำคัญในการงาน, เครื่องดีดงัดหรือยกของหนัก ; แม่เลี้ยง (น.) : เมียของพ่อที่ไม่ใช่แม่ตัว, หญิงที่เลี้ยงลูกบุญธรรม ; แม่เล้า (น.) : หญิงผู้กำกับควบคุมดูแลซ่องโสเภณี ; แม่สื่อแม่ชัก (น.) : ผู้พูดชักนำให้หญิงกับชายรักกัน ; แม่อยู่หัว (น.) : คำเรียกพระมเหสี เป็นต้น

        2. แม่ เป็นคำที่ใช้บ่งบอกฐานะของผู้ปกป้องคุ้มครอง เช่น แม่ย่านาง (น.) : ผีผู้หญิงผู้รักษาเรือ นางไม้ ; แม่ซื้อ, แม่วี (น.) : เทวดาหรือผีที่คอยดูแลทารก เป็นต้น

        3. คำว่า แม่ ยังถูกนำมาใช้เรียกผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนาย บ่งบอกฐานะของผู้มีอำนาจในการกำกับดูแลและควบคุม เช่น แม่กอง แม่ทัพ เป็นต้น
          อย่างไรก็ตาม ความหมายหลักของคำว่า แม่ ก็คงหนีไม่พ้นการเป็นผู้ให้ชีวิตหรือหญิงผู้ให้กำเนิดบุตร หญิงผู้ปกป้องคุ้มครองและดูแลรักษา สังคมไทยยังใช้คำว่าแม่ตามความหมายนี้เรียกสิ่งดีงามตามธรรมชาติอื่น ๆ เพื่อยกย่องเทอดทูนในฐานะผู้ให้กำเนิดและหล่อเลี้ยงชีวิต เช่น แม่น้ำ แม่โพสพ แม่ธรณี เป็นต้น ความหมายของคำว่าแม่ในลักษณะเช่นนี้แสดงให้เห็นชัดอย่างชัดเจนว่าสังคมไทยแต่โบราณมายกย่องและให้เกียรติสตรีเพศผู้เป็นแม่ ตระหนักในบทบาทหน้าที่และบุญคุณของแม่ต่อชีวิตของลูก ๆ ตลอดมาทุกยุคทุกสมัย

          ในบริบทของสังคมวัฒนธรรมไทย แม่ คือ ผู้เสียสละความสุขส่วนตนเพื่อลูก ๆ คอยดูแลเอาใจใส่และประคบประหงมลูกจนเติบใหญ่ ความรักของแม่ถือว่าเป็นความรักที่บริสุทธิ์ สังคมไทยมักพูดถึงแม่ในฐานะของผู้ที่รักลูกยิ่งชีวิต พร้อมจะตกระกำลำบากเพื่อลูกของตนโดยไม่สำนึกเสียใจ นางจันทร์เทวีถูกขับออกจากเมือง ต้องระเหเร่ร่อนไร้ที่ซุกหัวนอนเพราะคลอดลูกเป็นหอยสังข์ แต่นางก็ยังรักและเฝ้าทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงโดยไม่เคยคิดรังเกียจเดียดฉันท์แม้แต่สัตว์อย่างนางนิลากาสร ก็ยังรักและหวงแหนลูกอย่างทรพี ปกป้องลูกของตนมิให้ถูกฆ่าดังเช่นลูกของตัวอื่น ๆ

          แม้ว้าโดยทั่วไปแล้ว คำว่า "แม่" จะบ่งบอกความหมายของการเสียสละ ความรักและความผูกพันที่ผู้หญิงที่มีต่อลูกของตน แต่การที่สังคมไทยมีลักษณะวัฒนธรรมเฉพาะที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละชนชั้น ทำให้ความหมายของการเป็นแม่ ตลอดจนบรรทัดฐาน แบบแผน พฤติกรรมและบทบาทฐานะของผู้หญิงในวัฒนธรรมของแต่ละชนชั้นย่อมแตกต่างกันไป 


แม่  สำหรับฉันแล้วแม่เป็นผู้ให้กำเนิด เป็นคนที่อุ้มท้องฉันมาถึง 9 เดือน
เมื่อเราเกิดมาแม่ก้ต้องเป็นผู้เลี้ยงดูเราตั้งแต่ตีนเท่าฝ่าหอย  ค่อยป้อนข้าวป้อนน้ำ  เมื่อเรางอแงหรือร้องไห้แม่ก็ต้องรีบเข้ามาดูแล คอยเป็นห่วงเราอยู่ตลอดเวลา จาก 1เดือน 1ปี ผ่านไป จนเติบใหญ่ขึ้นมา เริ่มเข้าสู่ช่วงวัยเรียน แม่ ก็ต้องเป็นคนที่พาเราไปโรงเรียน คอยจัดการให้เราทุกอย่าง เวลาไม่สบาย แม่นี้แหล่ะเป็นคนแรกที่เข้ามา ค่อยปลอบโยน แม่ซึ้งเป็นผู้ให้ ให้เราได้ทุกอย่างตามที่ลูกต้องการ โดยไม่หวังสิ่งอะไรตอบแทน นอกจากเห็นลูกมีความสุข เห็นลูกเป็นเด็กดี  เมื่อลูกเริ่มช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว แม่ก็จะคอยอบรม สั่งสอน  แนะนำแนวทาง เพื่อให้ลูกช่วยเหลือตัวเองได้เพื่อให้อยู่บนโลกใบนี้ได้อย่างปกติสุข  แม่อยากเห็นเราประสบความสำเร็จในชีวิต มีหน้าที่การงานที่ดีแม่ก็ภูมิใจแล้ว แต่เมื่อเรามีปัญาคนๆแรกที่เรานึกถึงก็คือแม่ แม่พร้อมที่จะให้คำปรึกษา แม่พร้อมที่จะรับฟังปัญหาของลูกเสมอ ในปีนี้ ถึงฉันจะไม่ได้กลับไปหาแม่อยู่กับแม่ในวันแม่ก็ตาม ความรักที่แม่มอบให้ ความห่วงใยที่แม่มอบให้ คำสั่งสอนที่แม่คอยสั่งสอน ฉันจะจดจำ และถือว่ามันเป็นกำลังใจให้ฉันทำหน้าที่ทั้งของตนเอง และทำหน้าที่ของลูกที่ดี ให้ดีที่สุด ในวันแม่นี้ฉันอยากให้แม่
มีความสุขมากๆ อยากให้แม่รักษาสุขภาพ อย่าทำงานหนักเกินไป ให้เผลาๆลงบ้าง รักแม่ที่สุดในโลก

ครอบครัว วาเรศ


ทัศนศึกษา

ทัศนศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี

ตราประจำจังหวัดสุพรรณบุรีตราผ้าพันคอลูกเสือจังหวัดสุพรรณบุรี
ตราประจำจังหวัด
จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทยห่างจากกรุงเทพ 107กิโลเมตร
ภูมิประเทศ
ส่วนใหญ่ของสุพพรณบุรีเป็นที่ราบต่ำติดชายฝั่งแม่น้ำ มีทิวเขาขนาดเล็กอยู่ทางตะวันตกด้านตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่ราบลุ่มของแม่น้ำสุพรรณบุรี (แม่น้ำืท่าจีน) ใช้เป็นพิ้นที่ปลูกข้าว
คำขวัญประจำจังหวัด
มืองยุทธหัตถี วรรณคดีขึ้นชื่อ เลื่องลือพระเครื่อง รุ่งเรืองเกษตรกรรม สูงล้ำประวัติศาสตร์ แหล่งปราชญ์ ศิลปิน ภาษาถิ่นชวนฟัง
วันที่ 3 สิงหาคม 2554 กลุ่มสาระฯสุขศึกษาและพลศึกษา และ กลุ่มสาระฯการงานอาชีพ นำนักเรียน ม.4 ไปทัศนศึกษา ตามโครงการของกระทรวงศึกษาธิการ โดยจัดให้นักเรียนได้ศึกษา เรียนรู้นอกสถานที่ จึงได้จัดให้นักเรียนไปทัศนศึกษาที่จังหวัดสุพรรณบุรี ทุกคนร่วมเดินทางโดยรถของบริษัติรัตนบลาลี        นักเรียนทั้งหมด 519 คน มีอาจารย์ผู้ควบคุมดูแลประจำรถ คันละ 2 ท่าน รถทั้งหมด 10 คัน เราได้ดูแลนักเรียนคันที่ 6ร่วมเดินทางกับเด็กนักเรียนห้องม.4 ห้อง 6 และห้อง7ออกเดินทาง จากโรงเรียน 7.30น.
นักเรียน ม.4 เป็นนักเรียนที่เราได้สอนเป็นครั้งแรกที่ได้เข้ามาทำงานในโรงเรียนสายน้ำผึ้ง และบางคนก็เป็นนักเรียนที่เราได้ประจำชั้นเป็นครั้งแรกเช่นกัน รู้สึกดีใจถึงแม้ว่า เราจะไม่ได้มีโอกาสได้สอนพวกเขาแล้ว แต่นักเรียนทุกคนก็ยังจำได้ ทักทายเราอยู่ตลอด และนักเรียนพูดขึ้นมาว่า (ตอนที่หนูเรียนกับครู วิ่งข้ามรั้วของครูอ่ะ หนูกลัวมาก วิ่งยังไงก็ติดตลอด แต่มันก็ผ่านมาได้ด้วยดี ) บางคนก็พูดว่าหนูอยากกระโดดข้ามรั้วอีก !!! นักเรียนทุกคนยังจำเราได้ ยังทักทายเราอยู่่ทุกวัน ดีใจที่พวกเขาไม่ลืม ระหว่างการเดินทาง รถคันที่ 2 ล้อระเบิด แต่โชคดีไม่มีใครบาดเจ็บ และก็ผ่านไปได้ด้วยดี เวลาของการขับรถถึงสุพรรณ  ประมาณ 2 ชั่วโมงกว่า สถานที่แรกที่เราไปทัศนศึกษาก็คือ

                       วัดบ้านกร่าง   

จากทางหลวงหมายเลข 340 ผ่านอำเภอศรีประจันต์
วัดบ้านกร่าง
เข้าทางหลวงหมายเลข 3038 กิโลเมตรที่ 14-15 ริมฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรีคนละฝั่งกับที่ว่าการอำเภอศรีประจันต์ห่างจากจังหวัดประมาณ 20 กิโลเมตร เป็นวัดที่มีกรุพระขุนแผนบ้านกร่าง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นหลังสงครามยุทธหัตถีระหว่าง สมเด็จพระนเรศวรกับพระมหาอุปราชา ลักษณะเป็นพระคู่ ด้านใต้ของวัดมีเจดีย์องค์หนึ่งอายุประมาณ 100 ปี บริเวณหน้าวัดริมแม่น้ำมีปลาอาศัยจำนวนมาก ทางวัดจัดจำหน่ายอาหารปลา ถือ เป็นอุทยานมัจฉา แห่งหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี จะสังเกตเห็นเรือนแถวหน้าทางเข้าวัดบ้านกร่าง เป็นเรือนแถวไม้สองชั้นแบบโบราณ บรรยากาศเงียบสงบ สะท้อนความเป็นอยู่เรียบง่ายแบบดั้งเดิมของผู้คนแถวนั้น
(ปลาที่วัดนี้เยอะมาก)
จากนั้นพี่ๆที่เป็ไกด์ก็อธิบายประวัติความเป็นมาของวัดบ้านกร่างให้นักเรียนทุกคนฟัง เมื่อเราได้ชมเรียบร้อยแล้วสถานที่ต่อไปคือ หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย ที่อยู่ห่างจากวัดบ้านกร่างไม่มาก นั่งรถประมาณ 5 นาที เราก็ถึงหมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย เมื่อนักเรียนลงจากรถ สิ่งที่คาดคิด ได้ยินเสียงนักเรียนกรีดกราดลั่นไปหมด นึกว่ามีอะไร เมื่อได้เห็น ดารา อั้ม อภิชาติ ชุมนานนท์ มาถ่ายละครพอดี นักเรียนสายน้ำผึ้ง (ร.ร.หญิงล้วนเต็มที่เลย) เห็นพี่อั้มแลัวลืม พระเอกที่กำลังจะแสดงให้เราดูกันเลย จากนั้นเมื่อนักเรียนก้เข้าไปนั่งชมการแสดงของควาย คนบรรยายก็จะบอกถึงประวัติ บอกถึงลักษณะสายพันธุ์ของควาย มีความแคระ ควายเผือก ควาย 5 ขา ควายที่สวยที่สุด และที่ประทับใจที่สุดคือ ความยิ้ม  
  
                 






                 



ควายยิ้ม                                          ความทำความเคารพ
จากหมู่บ้านอนุรักษ์ความไทยแล้วเราก็เดินทางไปตลาดร้อยปีสามชุก เป็นตลาดที่เก่าแก่ของจังหวัด
เขาบอกว่าถ้าหากใครมีโอกาสได้มาเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี ย่อมจะพลาดไม่ได้ที่จะมาจับจ่ายใช้สอย หาซื้อของฝาก ติดไม้ติดมือกลับไปฝากคนที่บ้านกันที่ตลาดสามชุก(ตลาดร้อยปี) เพราะตลาดสามชุกนับได้ว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่นิยมอีกที่หนึ่งของหวัดสุพรรณบุรี ใครมาที่สุพรรณบุรีแล้วไม่ได้มาเที่ยวที่ตลาดสามชุกก็ถือว่ามาไม่ถึง เพราะนอกจากจะได้ของฝากกลับบ้านแล้ว ยังได้มาชื่นชมบรรยากาศของตลาดเก่าในสมัยโบราณอีกด้วยก้าวแรกที่เดินเข้ามาที่ตลาดสามชุก ก็รู้สึกว่าเหมือนย้อนเวลากลับมาในอดีต เพราะตลาดสามชุกยังมีบรรยากาศเก่าๆ พ่อค้า แม่ค้าต่างนำสินค้ามาขายกันที่หน้าบ้านของตนเอง และที่สำคัญสภาพบ้านเรือนก็ยังคงสภาพเป็นห้องแถวสร้างด้วยไม้ หลังคามุงด้วยสังกะสี และยังมีวิถีชีวิตที่ผสมผสานกันระหว่างคนไทยกับคนจีน จนทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสาย จีนขี้น
ร้านถ่ายรูปภาพเก่า
ตลาดสามชุก เป็นตลาดสำคัญในการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าที่สำคัญในอดีต ตั้งแต่เมื่อ 100 กว่าปีก่อน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสุพรรณบุรี แต่เมื่อถนนคือ เส้นทางจราจรทางบกที่เข้ามาแทนที่การเดินทางทางน้ำ ทำให้คนหันหลังให้กับแม่น้ำท่าจีน ความสำคัญของตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าริมน้ำเริ่มลดลง บรรยากาศการค้าขายในตลาดสามชุกก็เริ่มซบเซา และเมื่อต้องแข่งขันกับห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และตลาดนัดภายนอก ทำให้ร้านค้าภายในตลาดต้องหาทางปรับตัว และเมื่อราชพัสดุ เจ้าของที่ดินที่ชาวบ้านเช่าที่ดินมายาวนาน ดำริจะรื้ออาคารตลาดเก่า สร้างตลาดใหม่ จึงทำให้ชาวบ้านพ่อค้าที่อยู่ในตลาดสามชุก ครูอาจารย์ที่เห็นคุณค่าตลาดเก่า รวมตัวเป็นคณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุกเชิงอนุรักษ์ระดมความคิด หาทางอนุรักษ์ตลาดและที่อยู่ของตนไว้ และหาทางฟื้นคืนชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้ง เป็นที่มาของกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ร้านค้าในตลาดมีประมาณ 300 ร้าน เจ้าของร้าน 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นชาวตลาดสามชุก อีก 20 เปอร์เซ็นต์เป็นชุมชนรอบข้าง ส่วนอีก 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นคนถิ่นอื่นเข้ามาร่วมทำมาหากิน

จากนั้นสถานทีสุดท้ายที่เราได้ไปชมก็คือ วัดป่าเลไลย์
เรือนขุนช้าง
วัดป่าเลไลย์เป็นวัดเก่าแก่  ตั้งอยู่ที่ริมถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ สุพรรณบุรีชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า วัดป่า  เป็นพรอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่หน้าบันของวิหาร วัดป่าเลไลยก์มีเครื่องหมาย พระมหามกุฎอยู่ระหว่างฉัตรคู่บอกให้ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จธุดงค์มาพบ สมัยยังทรงผนวชอยู่ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วจึงทรงมาปฏิสังขรณ์ สันนิษฐานว่าวัดนี้สร้าง ในสมัยที่ เมืองสุพรรณบุรีรุ่งเรือง ในพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้ากาแตทรงให้มอญน้อยมาบูรณะ 
วัดป่าเลไลยก์ภายหลัง พ.ศ. 1724

วัดป่าเลไลย์ เป็นที่คุ้นของคนทั่วไป เนื่องจากปรากฎอยู่ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ขุนแผนเมื่อเยาว์วัย ได้มาบวชเรียนที่วัดนี้ในชื่อว่าเณรแก้ว ความสำคัญของวัดป่าเลไลยก์ตามที่พรรณาไว้ใน เสภา 
เรื่องขุนช้าง ขุนแผน ด้านหน้าของพระวิหารจึงมีรูปปั้นของขุนแผน 
และนางพิมตั้งอยู่
จิตกรรมฝ่าผนัง
ที่วัดแห่งนี้ประชาชนนิยมมานมัสการ “หลวงพ่อโต” ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหารสูงเด่น เห็นแต่ไกลเป็นพระพุทธรูป ปางป่าเลไลยก์ ศิลปะสมัยอู่ทองสุพรรณภูมิมีลักษณะประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระชานุ พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุอีกข้างหนึ่งในท่าทรงรับของถวาย องค์พระสูง 23.46 เมตร รอบองค์ 11.20 เมตร มีนักปราชญ์หลายท่านว่า หลวงพ่อโตเดิมคงเป็นพระพุทธรูป ปางปฐมเทศนา สร้างไว้กลางแจ้งเหมือน พระพนัญเชิงในสมัยแรกๆ เพราะมักจะพบว่า พระพุทธรูปขนาดใหญ่ ที่สร้างในสมัยก่อนอยุธยาและอยุธยาตอน ต้น ส่วนมากชอบสร้างไว้กลางแจ้งเพื่อให้สามารถมองเห็นได้แต่ไกล ภายในองค์พระพุทธรูปนี้บรรจุพระบรม สารีริกธาตุที่ได้มาจากพระมหาเถรไลยลายจำนวน 36 องค์ หลวงพ่อโตเป็นที่เคารพนับถือของ ประชาชนใน จังหวัดสุพรรณบุรี
หลวงพ่อโต
หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองสุพรรณมาแต่โบราณกาล ตามพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้ากาแลโปรดให้บูรณะวัดป่าเลไลยก์ เมื่อ พ.ศ. 1724 แสดงว่าแสดงว่าวัดนี้ได้สร้างมาแล้วก่อนหน้านั้น องค์พระประดิษฐานอยู่ในวิหารที่สูงใหญ่ มองเห็นเด่นแต่ไกล เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองปาง ป่าเลไลยก์ขนาด ใหญ่สูง 23 เมตรเศษ สร้างตามแบบศิลปอู่ทองรุ่นที่สอง ซึ่งเป็นศิลปะฝีมือสกุลช่างอู่ทองแท้ ๆ เดิมทีองค์พระ ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง พระหัตถ์ขวาหัก ช่างได้สร้างวิหารครอบ โดยให้ผนังวิหารชิดกับพระ หัตถ์ขวา ส่วนทาง พระหัตถ์ซ้ายให้มีที่ว่าง ด้านหลังองค์พระสร้างชิดกับผนังวิหารทำให้แข็งแรง นับเป็นความ ชาญฉลาดของ ช่างเป็น อย่างยิ่ง มีผู้สันนิษฐานว่า เดิมเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ประทับนั่งอยู่กลางแจ้ง พระกรทั้งสองข้างหักหายไป ผู้ที่มาบูรณใหม่ได้ทำเป็นปางป่าเลไลยก์ตามที่นิยมกันในสมัยหลัง ลักษณะประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ซ้าย วางคว่ำบนพระชานุข้างซ้าย พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุข้างขวาในท่าทรงรับของถวาย พระวิหารที่สร้าง ครอบองค์พระ สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ จะเห็นว่าที่หน้าบันของพระวิหาร มีพระราชลัญจกร ประจำพระองค์ คือเป็นรูปพระมหามงกุฎอยู่ระหว่างฉัตรคู่ปรากฎอยู่ งานเทศกาลนมัสการหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ มีปีละสองครั้ง คือในวันขึ้น 5-9 ค่ำ เดือน 5 และเดือน 12 ทุกสถานที่ ที่ไปมาล้วนแล้วแต่มีคุณค่าความงดงามในตัวของมันเอง และเป็นสถานที่ที่สำคัญของไทยเรา จึงอยากให้คนไทยทุกคน เที่ยวเมืองไทยกันมากขึ้น ช่วยกันรักษาสิ่งที่งดงาม ประเพณี วัฒนธรรมเหล่านี้ไว้ให้อยู่กับคนไทยไปอีกนานแสนนาน