สรุปงานวิจัย ปริญญาเอก



งานวิจัย ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
ชื่อเรื่อง
  การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมสำหรับนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วน(DEVELOPMENT OF A HOLISTIC HEALTH PROMOTION MODEL FOR OBESE LOWER SECONDARY SCHOOL MALES STUDENTS)


ชื่อผู้วิจัย     นางสาวนราภรณ์    ขันธบุตร
                    คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


                     
ปีการศึกษา  2552 

คำถามการวิจัย
          1. รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมสำหรับนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วนควรมีรูปแบบอย่างไร
          2. การใช้รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพนี้สามารถช่วยสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมของนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วนได้มากน้อยเพียงใด

 
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
            1. เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพองคืรวมสำหรับนักเรียนชายระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วน
            2. เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมสำหรับนักเรียนชายระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วน
            3. เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมสำหรับนักเรียนชายระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วนภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองในช่วงก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 5 หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 10 และติดตามผลสัปดาห์ที่ 14

ขอบเขตของการวิจัย
           1. การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมสำหรับนักเรียนชายระดับมัธยมศึกฦษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วนเท่านั้น
           2.  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชายที่มีภาวะอ้วนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
           3. ตัวแปรที่ศึกษาในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่
               3.1 ตัวแปรต้น (Independent  Variable)   คือ รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมสำหรับนักเรียนชายที่มีภาวะอ้วน
               3.2 ตัวแปรตาม (Dependent  Variable )  คือ
                     3.2.1 สุขภาพองค์รวม ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ
                              - สุขภาพทางกาย (Phyhical  health)
                              - สุขภาพทางจิต  (Mental  health)
                              - สุขภาพทางสังคม (Social health)
                              - สขภาพทางปัญญา (Wisdom health)
                    3.2.2 สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ ประกอบด้วย
                             - องค์ประกอบของร่างกาย (Body composition)
                             - ความอ่อนตัว (Flexibility)  
                             - ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscular strength and endurance)
                             - ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและหายใจ (Cardio respiratory endurance)
          4. ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง เป็นเวลา 10 สัปดาห์ และติดตามผลอีก 4 สัปดาห์


หลักการ ขั้นตอนในการพัฒนาสื่อกับเทคโนโลยีการศึกษา

ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาวิเคราะห์เอกสารเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดเบื้องต้น วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารเกี่ยวกับแนวคิด หลักการ ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
สร้างเครื่องมือแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย
ตรวจสอบเครื่องมือโดยอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิ
ปรับปรุงเครื่องมือตามข้อเสนอแนะนำไปทดลอง (Try - out)และนำมาปรับปรุงแก้ไข
เก็บรวบรวมข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
ขั้นตอนที่ 2 สร้างเครื่องมือในการวิจัย
สร้างรูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมสำหรับนักเรียนชายที่มีภาวะอ้วนและคู่มือการดำเนินงานตามรูปแบบ
สร้างแบบประเมินสุขภาพองค์รวม 4 ด้าน คือด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญา
ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา
ปรับปรุงเครื่องมือตามข้อเสนอแนะ
นำไปทดลองใช้ (Try - out)เพื่อหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและนำมาปรับปรุงแก้ไขก่อนนำไปใช้
ขั้นตอนที่ 3 ดำเนินการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive  selection)
จับฉลาก
                              กลุ่มควบคุม                                                                                              กลุ่มทดลอง
ทดสอบก่อนการทดลอง
รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมประกอบด้วย 4 กิจกรรม
คือ กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องขยับกายสลายพุง,
การบริโภคอาหารที่เหมาะสม,กิจกรรมเกมสัมพันธ์และโปรแกรม
การออกกำลังกายแบบหมุนเวียน
                                  ทดสอบหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 5 และ 10                  สนทนากลุ่ม

ติดตามผลหลัง 4 สัปดาห์
วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการทดลอง




การประเมินสื่อกับเทคโนโลยีการศึกษา


   แบบสอบถาม พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย มี 3 ขั้นตอน
ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล
ตอนที่ 2 แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
ตอนที่ 3 แบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกาย

รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมสำหรับนักเรียนชาย
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วน
กิจกรรมที่ 1
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง ขยับกายสลายพุง
นักเรียน ผู้ปกครองและครูที่เกี่ยวข้องร่วมฟังบรรยาย จำนวน 1 ครั้งใช้เวลา 2 ชั่วโมง
วัตถุประสงค์
       1.    เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง
      2.    เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับภาวะเด็กอ้วน
กิจกรรมที่ 2
การบริโภคอาหารที่เหมาะสม
นักเรียนเข้าร่วมควบคุมปริมาณอาหารและตระหนักในตนเองในการควบคุมอาหาร
1.     การบริโภคอาหารที่เหมาะสมทั้งที่โรงเรียนหรือที่บ้าน โดยผู้วิจัยจะขอความร่วมมือกับโรงอาหารของโรงเรียนและผู้ปกครองให้จัดอาหารที่เข้าร่วมโครงการ ให้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ทุกวัน ในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอกับความต้องการของร่างกายของเด็กที่มีภาวะอ้วนควรได้รับพลังงาน 1,200 กิโลแคลอรี่ต่อวัน
2.    การจัดรายการอาหารและปริมาณอาหารที่ทางโรงเรียนหรือทางบ้านจัดให้รับประทานในมื้อเช้า ประมาณ 350 กิดลแคลอรี มื้อกลางวัน 300 -350 กิดลแคลอรี มื้อเย็นประมาณ 300 กิโลแคลอรี และอาหารว่างประมาณ 200 กิโลแคลอรีก่อนนอน ทั้งในวันเปิดเรียนและในวันปิดเรียน ทางโรงเรียนหรือทางบ้านจัดอาหารให้วันละ 1,200 กิโลแคลอรี แบ่งมื้ออาหารครบ 5 หมู่ ตามกลุ่มอาหารตามโภชนาการ
                   3.     ให้นักเรียนควบคุมการบริโภคอาหารด้วยตนเอง มีความตระหนักในตนเองใน
                           การควบคุมอาหาร
                                        
กิจกรรมที่ 3
กิจกรรมเกมสัมพันธ์
นักเรียนต้องเข้าร่วมโปรแกรมทุกครั้งหรือไม่ต่ำกว่า 80 % ครั้งละ 10 นาที
ช่วงหลังเลิกเรียนเวลา 15.30-15.40 น. วันจันทร์ วันพุธ วันศุกร์
วัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และสร้างความคุ้นเคย มีความสนุกสนานสามารถพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและทางปัญญาได้เป็นอย่างดี
1.    ศึกษาทฤษฎี หลักการ เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.    ปรึกษาผุ้ที่มีประสบการณ์และผู้ที่มีความชำนาญเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างกิจกรรมเกมสัมพันธ์สำหรับนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วน(อายุ 13-15 ปี )
3.     สร้างกิจกรรมเกมสัมพันธ์สำหรับนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วน(อายุ 13-15 ปี ) แล้วนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา และที่ปรึกษาร่วมเพื่อตรวจและแก้ไขกิจกรรมเกมสัมพันธ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีจำนวน 30 ชุด โดยเลือกมาใช้วันละ 1 ชุด สลับกันปจนครบการฝึก 10 สัปกาห์ๆละ 3 วัน คือ วันเวลา วันจันทร์ วันพุธ วันศุกร์ เวลา 15.30-15.40 น. ใช้เวลา 10 นาที ดังนี้
              ชุดที่ 1 ลมเพลมพัด               ชุดที่ 2 รถไฟกระโดด                       ชุดที่ 3 เชือกพิศวาส
          ชุดที่ 4 เสียสละเพื่อทีมงาน  ชุดที่ 5 ปิงปองสวรรค์                      ชุดที่ 6 หนึ่งมิตรชิดใกล
ชุดที่ 7 ส่งบอลสองขา           ชุดที่ 8 ลอดห่วงสวรรค์                   ชุดที่ 9 พรมวิเศษ
       ชุดที่ 10 บอลมหาลัย             ชุดที่ 11 หลอดกาแฟสัมพันธ์         ชุดที่ 12 หลุมอุกาบาต
      ชุดที่ 13 ใบ้คำ                          ชุดที่ 14 บก น้ำ อากาศ ปาท่องโก๋   ชุดที่ 15 จานสัมพันธ์
    ชุดที่ 16 จ๊ะเอ๋ผ้าม่าน             ชุดที่ 17 ห่วงเสน่หา                         ชุดที่ 18 ส่งบอลส่งใจ
               ชุดที่ 19 วิ่งร้อยขา                  ชุดที่ 20 แข่งเรือบก                           ชุดที่ 21 ลูกโป่งมหาลัย
              ชุดที่ 22 กู้ระเบิด                     ชุดที่ 23 ลูกโป่งสวรรค์                     ชุดที่ 24 วงล้อกระดาษ        
         ชุดที่ 25 แข่งคีบ                      ชุดที่    26 ล้อยางนับพัน                   ชุดที่ 27 ต่อคอหอย
            ชุดที่ 28 คาบช้อนส่งปิงปอง ชุดที่ 29  ผลไม้กับไม้จิ้มฟัน            ชุดที่ 30 ตั้งน้ำใส่ขวด
เพื่อสร้างความสนุกสนาน ความคุ้นเคย การมีมนุษย์สัมพันธ์ และการสร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดี
กิจกรรมที่ 4
โปรแกรมการออกกำลังกายแบบหมุนเวียน
นักเรียนต้องเข้าร่วมโปรแกรมทุกครั้งหรือไม่ต่ำกว่า 80 % ครั้งละ 10 นาที
ช่วงหลังเลิกเรียนเวลา 15.30-15.40 น. วันจันทร์ วันพุธ วันศุกร์
การวิจัยเชิงทดลองโดยใช้เวลาในการฝึก 10 สัปดาห์  สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที โดยการฝึกตามโปรแกรมการออกกำลังกายแบบหมุนเวียน โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง
ช่วงที่ 1 อบอุ่นร่างกาย (Warm up) เป็นการบริหารกล้ามเนื้อ เอ็นและข้อต่อส่วนต่างๆ ของร่างกายก่อนที่จะเริ่มฝึกประจำทุกครั้ง
ช่วงที่ 2 ช่วงฝึก (Work out) โปรแกรมการฝึกแบบหมุนเวียนที่ผุ้วิจัยสร้างขึ้นมา 10 สถานี แต่ละสถานีจะใช้เวลา 40 นาที และใช้เวลาเปลี่ยนสถานี 15 วินาที ใช้ฝึกจำนวน 2 รอบ พักหว่างรอบ 2 นาที ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 20นาที

รูปแบบสถานีการฝึกการออกกำลังกายแบบหมุนเวียน
สถานีที่ 1
ยืนรับ ส่งลูกบาสเกตบอลสองมือเหนือศรีษะ
                         สถานีที่ 10                                                                                  สถานีที่ 2
             ลุก นั่งมือไขว่ที่หน้าอก                                                               บิดลำตัวรับ  ส่งลูกเมดิซี
                       สถานีที่ 9                                                                                     สถานีที่ 3
         การเก้าเท้าขึ้น-ลงบนพื้นStep                                         การลไลด์เท้าไปทางซ้า- ขวาแตะสลับ
                     สถานีที่ 8                                                                                      สถานีที่ 4
         การเก้าเท้าขึ้น-ลงบนพื้นStep                                         การลไลด์เท้าไปทางซ้า- ขวาแตะสลับ
                    สถานีที่ 7                                                                                      สถานีที่ 5
         ยืนบิดเอวบนจารทวิสด์                                                      การเลี้ยงส่งลูบบาสให้อภัยแล้วหล่
                                                                             สถานีที่ 6 
                                                                          การวิ่งบันไดลิง
ขั้นตอนที่ 3 ช่วงคลายกล้สมเนื้อประกอบดนตรี เป็นการผ่อนครายจิตใจ ร่างกาย กลามเนื้อ เอ็น และข้อต่อส่วนต่างๆ ของร่างกายหลังการหลังการฝึกตามโปรแกรมการแบบหมุนเวียนทุกครั้งครั้งนี้เพื่อปรับสภาพจิตใจและร่างกายทุกส่วนให้กลับส่ภาวะปกติคลายกล้ามเนื้อ ใช้เวลา 10 นาที



เครื่องมือวัดในการประเมิน
วิธีการวัด
เครื่องมือ
  1. แบบสอบถาม
แบบสอบถามสำหรับนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วนเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภค และการออกกำลังกาย
-    การตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามในด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) เพื่อหาดัชนีความสอดคล้องของแบบสอบถาม
(Index of consistency :IOC)
  1. แบบประเมินสุขภาพองค์รวม
ดัดแปลงมาจาก The U.S. Healthy  and Human Services. Healthy Style:ASelf Test.1981
-     นำให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาอังกฤษ 1ท่าน ภาษาไทย 1 ท่าน และทางด้านวิทยาศาตร์ 1 ท่าน ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา
  1. แบบทดสอบ
-     แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพในเด็ก อายุ 7-18 ปี ของกองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
กรมอนามัย กระทรวงสาะรณสุข (2550)
  1. แบบทดสอบ
-      เปรียบเทียบผลของการทดลองภายในกลุ่ม และระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ (One – Way analysis of variance with repeated measures) ถ้าพบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยภายหลังการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Post-hoc tests)โดยวิธีของบอลเฟอร์โรนี
-      เปรียบเทียบผลของการทดลองภายในกลุ่ม และระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง โดยทดสอบ ค่าที
“Independent t-test”


ผลการนำสื่อกับเทคโนโลยีมาใช้ทางการศึกษา 

         1. รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมทั้ง 4 กิจกรรม มีความเหมาะสมสำหรับนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วน มีความตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.75-1.00 และมีค่าสัมประสิทธิแอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.93
         2. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของสุขภาพองค์รวมทั้ง 4 ด้าน คือ สุขภาพทางกาย สุขภาพทางจิต สุขภาพทางสังคมและสุขภาพทางปัญญา ระหว่างกลุ่มควบคุมและการทดลองพบว่า หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 5 สุขภาพทางปัญญา และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 1 สุขภาพจิต มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดีบ .05
        3. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วนระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง พบว่าหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 10 ทุกตัวแปรมความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ยกเว้นดัชนีมวลกายและเปอร์เซ็นต์ไขมัน
        สรุปได้ว่ารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมและสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ ดังนั้นสามารถนำไปใช้กับเด็กวัยรุ่นที่มีภาวะอ้วนได้



เอกสารอ้างอิง(ต่างประเทศ)
                   
 AAHPERD. Norms for College Students : Health - Related Physical Fitness Test.
              Philadlphia : Lea & Febiger , 1985.  
Alexy, Ute and others.Position changes of dietary habits after an outpatient training
           program for overweight children,2006.(Online).
           Available:http://www.sciencedirect.com.(2008,August 8)    
American College of Sports Medicine. ACSM s Guidelines for   Exercise Testing and 
           Prescription.6 ed.New York : Lippincott   William and Wilkins,2000.
Bandula  Albert. Socail Learning Theory. Englewood cliffs, New Jersy : Prentice-
           Hall,INC.,1977.  
Cohen , Jacob. Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. New York :
             Academic Press , 1969
Cusatis, D.C. Phychosocical  influences on adolescent eating behavior. Dissertation.
             Abstracts international,1995.
The Journal of Sports Medicine and Physical Fitness.31 (December 1991) : 639-640
(พอสังเขป)

ของฝากจากคนรักกีฬา

กีฬามัน กีฬาดัง




Usain Bolt gets DQ'd! - ENGLISH COMMENTARY!

“อูเซน โบลท์” เจ้าของสถิติโลกวิ่ง 100 เมตร หมดสิทธิ์ป้องกันแชมป์โลก หลังถูกจับดิส ควอลิฟายด์ ในการแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลกที่ประเทศเกาหลีใต้



110m hurdles final 2011 world championships, Richardson world champion, Robles disqualified
กรีฑาชิงแชมป์โลก ที่เมืองแดกู ประเทศเกาหลีใต้ วิ่งข้ามรั้ว 110เมตรชาย เดย์รอน โรเบิลส์ เหรียญทองโอลิมปิกปี 2008 และเจ้าของสถิติโลก จากคิวบาถูกปรับแพ้ แม้เข้าเส้นชัยเป็นคนแรก เพราะไปดึง หลิว เซียง อดีตเหรียญทองโอลิมปิกปี 2004 จากจีน ขณะข้ามรั้วที่ 9 ทำให้ เจสัน ริชาร์ดสัน จากสหรัฐฯ ที่เข้าเส้นชัยเป็นที่ 2 ได้เหรียญทองแทน เหรียญเงิน หลิว เซียง และเหรียญทองแดง แอนดี้ เทอร์เนอร์ จากสหราชอาณาจักร

Carmelita Jeter Wins 100m Final at World Championships
วิ่ง 100 เมตรหญิง คาร์เมลิตาร์ เจเทอร์ จากสหรัฐฯ คว้าเหรียญทองไปครอง หลังเข้าเส้นชัยเป็นคนแรก เวลา 10.90 วินาที เหรียญเงิน เวโรนิก้าแคมเบลล์ บราวน์ จากจาไมก้า ตามหลัง .07 วินาที เหรียญทองแดง เคลลี่ แอนบาปติสเต้ จากทรินิแดด แอน โทเบโก้

Women's 4×100m Final 日本 44.05 2011Asian Athletics Championships JPN 1st


แถวยืนจากซ้ายไปขวา
ปิยะนุช แป้นน้อย(2)/อรอุมา สิทธิรักษ์(6)/กมลพร สุขมาก(17)/ชริยา ออสิงห์สวัสดิ์(แพทย์ประจำทีม)/ดนัย ศรีวัชระเมธากุล(สต๊าฟโค้ช)/เกียรติพงศ์ รัชตเกรียงไกร(หัวหน้าโค้ช)/พิสิทธิ์ นัทธี(ผู้จัดการทีม)/ณัฐพล ศรีสมุทรนาค(สต๊าฟโค้ช)/อุทัยวรรณ แก่นสิงห์(เจ๋ง/วนิชยา หลวงทองหลาง(9)/วรรณา บัวแก้ว(1)

แถวนั่งจากซ้ายไปขวา
อัมพร หญ้าผา(11)/ปลื้มจิตต์ ถินขาว(5)/นุสรา ต้อมคำ(13)/ฐาปะไพพรรณ ไชยศรี(12)/วิลาวรรณ อภิญญาพงศ์(10)/มลิกา กันทอง(15)


เครดิตรูป...จากเฟซบุคPiyanut Pannoy
เครดิตข้อมูล...จากFIVB


2011 FIVB World Grand Prix - THAILAND vs CHINA (Set 2)
สาวไทยสุดยอดจริงเซทนี้
นับเป็นปรากฎการณ์จริงๆที่นักกีฬาไทยประสบความสำเร็จได้ถึงขนาดนี้ สุดยอด จะมองว่าความสูงไม่ได้เป็นปัญหาเลยในการแข่งขันวอลเลย์บอล ประผลจากการฝึกซ้อมที่เต็มร้อยแต่หน้าจะเกินร้อยเลยดีกว่า พร้อมทั้งมีโค้ชที่ดี มีความตั้งใจจริงของคนไทย คนอื่นเขาจะได้รู้ว่าคนไทยก็ทำให้กีฬาไทยไปกีฬาโลกได้เหมือนกัน

Mother's Day


Mother's Day : วันแม่แห่งชาติ


ประวัติวันแม่
วันแม่แห่งชาติ หรือที่คนไทยทั่วไปนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า "วันแม่" ทุกคนรับทราบและซาบซึ้งกันดี เนื่องจากวันสำคัญนี้ ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ ๑๒ สิงหาคม อันเป็นวันคล้ายวันเสด็จพระราชสมภพและถือว่าเป็นวันแม่แห่งชาติด้วย

แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาวันที่ ๑๕ เมษายน ของทุกๆ ปีทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรี ประกาศรับรอง เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๓ ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงานวันแม่มาตั้งแต่วันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดีด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงาน ให้กว้างออกไปได้ การจัดงานไม่เพียงแต่จัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ยังจัดให้มีการประกวดแม่ของชาติ ประกวดคำขัวญวันแม่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกียรติแก่แม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของงานวันแม่ให้ยิ่งๆ ขึ้น ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาล ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม (สมัยนั้น) แต่ทั่วไปเรียกกันว่า วันแม่ของชาติ

ต่อมาถึง พ.ศ. ๒๕๑๙ ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ ๑๒ สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นต้นมา จากหนังสือของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ชื่อแม่หลวงของปวงชน พิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ มีข้อความตอนหนึ่งเทิดพรเกียรติไว้ว่า

"แม่ที่ดีย่อมรู้จักส่งเสริมธำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ เพราะแม่ทราบดีว่าถ้าขาดสิ่งเหล่านี้แล้ว ความเป็นไทยที่แท้จริงจะมิปรากฏอยู่บนผืนแผ่นดินไทยอันเป็นที่รักยิ่งของเรา
แม่ที่ดีย่อมประพฤติปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามระบอบของการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข โดยรักเคารพและเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เหนือสิ่งอื่นใด หญิงไทยทุกคน ย่อมจะมีคุณลักษณะต่างๆ ของแม่ที่ดีดังกล่าวข้างต้นนี้อยู่แล้วจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับการศึกษาและการฝึกหัดอบรม แต่จะหาหญิงใดที่มีคุณลักษณะครบถ้วนทุกประการเสมอเหมือน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นั้นไม่ง่ายนัก ด้วยเหตุนี้เราจึงขอเทิดทูนพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ ว่าทรงเป็นแม่หลวงของปวงชน ผู้ทรงเป็นศรีสง่าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของบ้านเมือง และของปวงชนชาวไทยทั้งมวล" ดังกล่าวนี้เป็นเรื่องของวันแม่ของชาติตามเหตุผลของทางราชการ

ส่วนที่เกี่ยวกับวันแม่ของไทยตามความรู้สึกนึกคิดทั่วไปของคนไทยผู้เป็นแม่ คำว่า แม่ นี้เป็นคำที่ซาบซึ้ง ไม่มีการกำหนด วัน เวลา แต่มีความหมายลึกซึ้งกินใจของผู้เป็นแม่และลูกมานานแล้ว ดังสำนวนไทยประโยคหนึ่งว่า "แม่ใครมาน้ำตาใครไหล" ซึ่งพระวรเวทย์พิสิฐได้อธิบายไว้ในหนังสือวรรณกรรมเรื่อง "แม่" ว่า

"เด็กไทยตามหมู่บ้านในสมัยที่ข้าพเจ้าเป็นเด็กมักเล่นกันเป็นหมู่ๆ เด็กคนไหนแม่อยู่บ้าน เวลาเขาเล่นอยู่ในหมู่เพื่อนหน้าตาก็ยิ้มแย้มแจ่มใส เด็กคนไหนที่แม่ไม่อยู่บ้าน ต่างว่าไปทำมาหากินไกลๆ หรือ ไปธุระที่ไหนนานๆ ก็มีหน้าตาเหงาหงอย ถึงจะเล่นสนุกสนานไปกับเพื่อนในเวลานั้นก็พลอยสนุกไปแกนๆ จนเด็กเพื่อนๆ กันรู้กิริยาอาการ เพราะฉะนั้น พอเด็กๆ เพื่อนๆ แลเห็นแม่เดินกลับมาแต่ไกล ก็พากันร้องขึ้นว่า แม่ใครมาน้ำตาใครไหล แล้วเด็กคนนั้นผละจากเพื่อนเล่นวิ่งไปหาแม่ กอดแม่ น้ำตาไหลพรากๆ ด้วยความปลื้มปิติ แล้วจึงหัวเราะออก ลักษณะอาการที่เด็กแสดงออกมาจากน้ำใจอันแท้จริงอย่างนี้ ย่อมเกิดจากความสนิทสนม ชิดเชื้อมีเยื่อใยต่อกัน แม่ไปไหนจากบ้านก็คิดถึงลูกและลูกก็เปล่าเปลี่ยวใจเมื่อแม่ไม่อยู่บ้าน นี่คือธรรมชาติ ไม่มีใครสร้างสรรค์บันดาล มันเกิดขึ้นเอง"และอีกตอนหนึ่งในหนังสือเล่มเดิมที่อ้างข้างต้นให้ความหมายของคำว่า "แม่" ว่า "เสียงที่เปล่งออกมาจากปาก เป็นคำที่มีความหมายว่า แม่ เป็นเสียงและความหมายที่ลึกซึ้งใจมีรสเมตตาคุณ กรุณาคุณและความรักอยู่ในคำนี้บริบูรณ์ เด็กน้อยที่เหลียวหาแม่ไม่เห็นก็ส่งเสียงตะโกนเรียก แม่ แม่ ถ้าไม่เห็นก็ร้องไห้จ้า ถ้าเห็๋นแม่มาก็หัวเราะได้ทั้งน้ำตา นี่เพราะอะไร เราเดาใจเด็กว่า เมื่อไม่เห็นแม่เด็กต้องรู้สึกใจหายดูเหมือนเขาจะรู้สึกว่าขาดผู้ที่ปกปักรักษาให้ปลอดภัย แต่พอเห็นแม่เข้าเท่านั้นก็อุ่นใจ ไม่กลัวเกรงอะไรทั้งหมดเราที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว เมื่อเอ่ยคำว่าแม่ขึ้นทีไร ก็มักจะรู้สึกเกินออกไปจากความหมายที่เป็นชื่อเท่านั้น ย่อมนึกถึงความสัมพันธ์ที่แม่มีต่อเราเกือบทุกครั้ง แม่รักลูกถนอมลูก หวังดีต่อลูก จะไปไหนจากบ้านก็เป็นห่วงลูก ถึงกับแบ่งของรับประทานนั้นไว้ให้ลูก ลักษณะเหล่านี้ย่อมตรึงใจเรามิวาย"

อย่างไรก็ตาม การที่ทางราชการประกาศกำหนดวันที่ ๑๒ สิงหาคม ของทุกปีเป็นวันแม่แห่งชาติ ย่อมก่อให้เกิดวันอันเป็นที่ระลึกที่สำคัญยิ่งของไทยเราวันหนึ่ง และกำหนดให้ถือว่า ดอกมะลิ สีขาวบริสุทธิ์ เป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่ตัวเรา อย่างคำประพันธ์บทดอกสร้อยชื่อ แม่จ๋า ของท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา ที่ว่า                                                                                  
ดอกเอ๋ยดอกมะลิ                                                      


ถึงยามผลิกลิ่นพราวสกาวต้น

สดสะอาดปราศสีราคีระคน

เหมือนกมลใสสดหมดระคาย

กลิ่นมะลิหอมกระไรไม่รู้สร่าง

เปรียบได้อย่างรักแท้ไม่แปรหาย

อันรักแท้แลหัวใจได้บรรยาย

ขอเชิญทาย ณ ที่ไหนจากใครเอย
    
ในสังคมต่าง ๆ ทั่วโลกให้ความสำคัญกับ "ความเป็นแม่" และคำเรียกผู้ที่ให้กำเนิดสมาชิกใหม่ของแต่ละสังคมส่วนใหญ่จะเป็นคำแรกที่เด็กสามารถเปล่งเสียงได้ก่อน "แม่" ดังนั้นความหมายของคำว่า "แม่" ทุกภาษาและวัฒนธรรมจะมีคุณค่าอย่างมาก และหากสังเกตจะพบว่า "แม่" เป็นเสียงที่เด็กสามารถเปล่งได้อย่างง่าย และเป็นคำแรกที่สามารถออกเสียงนั้นได้อย่างมีความหมาย 

          นักภาษาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า คำว่า "แม่" ของทุก ๆ ภาษา มาจากการออกเสียงของเด็ก โดยคำขึ้นต้นด้วยพยัญชนะริมฝีปากคู่ (Bilabial) ได้แก่ ม , , ,บ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นพยัญชนะชุดแรกที่เด็กสามารถทำเสียงได้ โดยการใช้ริมฝีปากบนและล่าง ดังเช่น

                    ภาษาไทย เรียก แม่
                   
ภาษาจีน เรียก ม๊ะ หรือ ม่า
                   
ภาษาฝรั่งเศส เรียก la mere (ลา แมร์)
                   
ภาษาอังกฤษ เรียก mom , mam
                   
ภาษาโซ่ เรียก ม๋เปะ
                   
ภาษามุสลิม เรียก มะ
                   
ภาษาไท เรียก ใต้คง เม เป็นต้น

          "แม่" เป็นคำโดดหรือคำไทยที่บ่งบอกความสัมพันธ์อันอบอุ่นลึกซึ้งระหว่างผู้หญิงกับลูก แม่ หมายถึง ผู้มีพระคุณ ผู้ให้กำเนิด ให้น้ำนมลูกดื่มกิน ให้ความรักความเมตตาและปกป้องดูแลลูกจนเติบใหญ่ คำว่า "แม่" มักถูกนำไปใช้ร่วมกับคำอื่น ๆ โดยมีความหมายแตกต่างกันออกไป พอจะแบ่งแยกออกได้เป็นประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

        1. แม่ ในฐานะเป็นคำที่ใช้แบ่งแยกเพศและบ่งบอกบทบาท ฐานะ สถานภาพและอากัปกิริยาของผู้หญิง เช่น แม่… (น.) : คำเรียกหญิงทั่วไป เช่น แม่นั่น แม่นี่ ; แม่ค้า (น.) : ผู้หญิงที่ดำเนินการค้าขาย ; แม่ครัว (น.) : หญิงผู้ดูแลครัว หุงหาอาหาร ; แม่คู่ (น.) : นักสวดผู้ขึ้นต้นบท ; แม่นม (น.) : หญิงผู้ให้นมเด็กกินแทนแม่ ; แม่บ้านแม่เรือน (น.) : หญิงดูแลบ้านเรือน ; แม่แปรก (น.) : หญิงผู้จัดจ้านหรือเป็นหัวหน้ากลุ่ม ; แม่มด (น.) : หญิงหมอผี หญิงคนทรง หญิงเข้าผี ; แม่ยาย (น.) : คำเรียกแม่ของเมีย ; แม่ม่าย (น.) : หญิงที่มีผัวแล้วแต่ผัวตายหรือเลิกร้างกันไป ; แม่ยั่วเมือง (น.) : คำเรียกพระสนมเอกแต่โบราณ ; แม่ย้าว (น.) : หญิงผู้เป็นแม่เรือน ; แม่รีแม่แรด (ว.) : ทำเจ้าหน้าเจ้าตา ; แม่แรง (น.) : หญิงผู้เป็นกำลังสำคัญในการงาน, เครื่องดีดงัดหรือยกของหนัก ; แม่เลี้ยง (น.) : เมียของพ่อที่ไม่ใช่แม่ตัว, หญิงที่เลี้ยงลูกบุญธรรม ; แม่เล้า (น.) : หญิงผู้กำกับควบคุมดูแลซ่องโสเภณี ; แม่สื่อแม่ชัก (น.) : ผู้พูดชักนำให้หญิงกับชายรักกัน ; แม่อยู่หัว (น.) : คำเรียกพระมเหสี เป็นต้น

        2. แม่ เป็นคำที่ใช้บ่งบอกฐานะของผู้ปกป้องคุ้มครอง เช่น แม่ย่านาง (น.) : ผีผู้หญิงผู้รักษาเรือ นางไม้ ; แม่ซื้อ, แม่วี (น.) : เทวดาหรือผีที่คอยดูแลทารก เป็นต้น

        3. คำว่า แม่ ยังถูกนำมาใช้เรียกผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนาย บ่งบอกฐานะของผู้มีอำนาจในการกำกับดูแลและควบคุม เช่น แม่กอง แม่ทัพ เป็นต้น
          อย่างไรก็ตาม ความหมายหลักของคำว่า แม่ ก็คงหนีไม่พ้นการเป็นผู้ให้ชีวิตหรือหญิงผู้ให้กำเนิดบุตร หญิงผู้ปกป้องคุ้มครองและดูแลรักษา สังคมไทยยังใช้คำว่าแม่ตามความหมายนี้เรียกสิ่งดีงามตามธรรมชาติอื่น ๆ เพื่อยกย่องเทอดทูนในฐานะผู้ให้กำเนิดและหล่อเลี้ยงชีวิต เช่น แม่น้ำ แม่โพสพ แม่ธรณี เป็นต้น ความหมายของคำว่าแม่ในลักษณะเช่นนี้แสดงให้เห็นชัดอย่างชัดเจนว่าสังคมไทยแต่โบราณมายกย่องและให้เกียรติสตรีเพศผู้เป็นแม่ ตระหนักในบทบาทหน้าที่และบุญคุณของแม่ต่อชีวิตของลูก ๆ ตลอดมาทุกยุคทุกสมัย

          ในบริบทของสังคมวัฒนธรรมไทย แม่ คือ ผู้เสียสละความสุขส่วนตนเพื่อลูก ๆ คอยดูแลเอาใจใส่และประคบประหงมลูกจนเติบใหญ่ ความรักของแม่ถือว่าเป็นความรักที่บริสุทธิ์ สังคมไทยมักพูดถึงแม่ในฐานะของผู้ที่รักลูกยิ่งชีวิต พร้อมจะตกระกำลำบากเพื่อลูกของตนโดยไม่สำนึกเสียใจ นางจันทร์เทวีถูกขับออกจากเมือง ต้องระเหเร่ร่อนไร้ที่ซุกหัวนอนเพราะคลอดลูกเป็นหอยสังข์ แต่นางก็ยังรักและเฝ้าทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงโดยไม่เคยคิดรังเกียจเดียดฉันท์แม้แต่สัตว์อย่างนางนิลากาสร ก็ยังรักและหวงแหนลูกอย่างทรพี ปกป้องลูกของตนมิให้ถูกฆ่าดังเช่นลูกของตัวอื่น ๆ

          แม้ว้าโดยทั่วไปแล้ว คำว่า "แม่" จะบ่งบอกความหมายของการเสียสละ ความรักและความผูกพันที่ผู้หญิงที่มีต่อลูกของตน แต่การที่สังคมไทยมีลักษณะวัฒนธรรมเฉพาะที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละชนชั้น ทำให้ความหมายของการเป็นแม่ ตลอดจนบรรทัดฐาน แบบแผน พฤติกรรมและบทบาทฐานะของผู้หญิงในวัฒนธรรมของแต่ละชนชั้นย่อมแตกต่างกันไป 


แม่  สำหรับฉันแล้วแม่เป็นผู้ให้กำเนิด เป็นคนที่อุ้มท้องฉันมาถึง 9 เดือน
เมื่อเราเกิดมาแม่ก้ต้องเป็นผู้เลี้ยงดูเราตั้งแต่ตีนเท่าฝ่าหอย  ค่อยป้อนข้าวป้อนน้ำ  เมื่อเรางอแงหรือร้องไห้แม่ก็ต้องรีบเข้ามาดูแล คอยเป็นห่วงเราอยู่ตลอดเวลา จาก 1เดือน 1ปี ผ่านไป จนเติบใหญ่ขึ้นมา เริ่มเข้าสู่ช่วงวัยเรียน แม่ ก็ต้องเป็นคนที่พาเราไปโรงเรียน คอยจัดการให้เราทุกอย่าง เวลาไม่สบาย แม่นี้แหล่ะเป็นคนแรกที่เข้ามา ค่อยปลอบโยน แม่ซึ้งเป็นผู้ให้ ให้เราได้ทุกอย่างตามที่ลูกต้องการ โดยไม่หวังสิ่งอะไรตอบแทน นอกจากเห็นลูกมีความสุข เห็นลูกเป็นเด็กดี  เมื่อลูกเริ่มช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว แม่ก็จะคอยอบรม สั่งสอน  แนะนำแนวทาง เพื่อให้ลูกช่วยเหลือตัวเองได้เพื่อให้อยู่บนโลกใบนี้ได้อย่างปกติสุข  แม่อยากเห็นเราประสบความสำเร็จในชีวิต มีหน้าที่การงานที่ดีแม่ก็ภูมิใจแล้ว แต่เมื่อเรามีปัญาคนๆแรกที่เรานึกถึงก็คือแม่ แม่พร้อมที่จะให้คำปรึกษา แม่พร้อมที่จะรับฟังปัญหาของลูกเสมอ ในปีนี้ ถึงฉันจะไม่ได้กลับไปหาแม่อยู่กับแม่ในวันแม่ก็ตาม ความรักที่แม่มอบให้ ความห่วงใยที่แม่มอบให้ คำสั่งสอนที่แม่คอยสั่งสอน ฉันจะจดจำ และถือว่ามันเป็นกำลังใจให้ฉันทำหน้าที่ทั้งของตนเอง และทำหน้าที่ของลูกที่ดี ให้ดีที่สุด ในวันแม่นี้ฉันอยากให้แม่
มีความสุขมากๆ อยากให้แม่รักษาสุขภาพ อย่าทำงานหนักเกินไป ให้เผลาๆลงบ้าง รักแม่ที่สุดในโลก

ครอบครัว วาเรศ