การกีฬาแห่งประเทศไทย






การกีฬาแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นโดย พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2528 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 102 ตอนที่ 149 ลงวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2528 โดยเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ เพื่อจัดตั้งองค์กรรัฐวิสาหกิจในชื่อ การกีฬาแห่งประเทศไทย ขึ้นแทน องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (ซึ่งตั้งขึ้นตาม พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมการกีฬาแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2507) และให้มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมการกีฬา และควบคุมการดำเนินกิจการกีฬาได้กว้างขวาง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตามนัยของพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทยฯ


http://www.sat.or.th/th/main/Default.aspx
กรมพลศึกษา

กรมพลศึกษา (อังกฤษDepartment of Physical Education) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 เป็นการโอนภารกิจบางส่วนมาจากกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนและประชาชนด้วยการส่องเสริมและพัฒนาการกีฬา นันทนาการ การออกกำลังกาย เล่นกีฬา สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน การส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา เยาวชน และประชาชน มีคุณภาพคู่คุณธรรมห่างไกลอบายมุขและสิ่งเสพติดให้โทษ โดยการใช้กีฬา นันทนาการ และวิทยาศาสตร์การกีฬาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน สังคม และประเทศชาติ


แห่งอ้างอิง http://www.dpe.go.th/home/

กรีฑา(Athletics)




กรีฑา(Athletics)
         กรีฑา (อังกฤษ: athletics) หมายถึงเฉพาะรายการแข่งขันกีฬาที่เกี่ยวข้องกับการวิ่งแข่ง การกระโดด การขว้างและการเดิน ประเภทการแข่งขันกรีฑาที่พบแพร่หลายที่สุด คือ ลู่และลาน วิ่งทางเรียบ วิ่งวิบาก และเดินแข่ง ด้วยความเรียบง่ายของการแข่งขัน และไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ราคาแพง ทำให้กรีฑาเป็นหนึ่งในกีฬาที่มีการแข่งขันกันมากที่สุดในโลก
        กรีฑาซึ่งได้รับการจัดตั้งสามารถสืบย้อนไปได้ถึงกีฬาโอลิมปิกสมัยโบราณนับแต่ 776 ปีก่อนคริสตกาล และรายการแข่งขันกรีฑาสมัยใหม่ส่วนใหญ่มีสโสมรสมาชิกของสหพันธ์กรีฑานานาชาติ (IAAF) กรีฑาเป็นกระดูกสันหลังของโอลิมปิกฤดูร้อนสมัยใหม่ และการชุมนุมระหว่างประเทศชั้นนำอื่น ๆ รวมทั้ง การแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลก (IAAF World Championships) และการแข่งขันกรีฑาในร่มชิงแชมป์โลก (World Indoor Championships) และกรีฑาสำหรับผู้พิการทางกายแข่งขันกันที่ พาราลิมปิกฤดูร้อน และการแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลกของคณะกรรมการพาราลิมปิกระหว่างประเทศ       (IPC Athletics World Championships)

ประวัติความเป็นมาของกีฬากรีฑา

          กรีฑานับเป็นกีฬาเก่าที่เกิดมาพร้อมกับมนุษย์ เพราะแต่ก่อนมนุษย์ไม่รู้จักทำมาหากินเป็นหลักแหล่ง ไม่รู้จักสร้างที่พัก ตลอดจนสร้างเครื่องนุ่งห่มเหมือนมนุษย์ปัจจุบัน มนุษย์สมัยนั้นต้องต่อสู้กับ ภัยธรรมชาติ และความดุร้ายของสัตว์ป่านานาชนิดและมีที่อยู่อาศัยแห่งเดียวกันคือ ถ้ำ ซึ่งเรียกว่า     มนุษย์ถ้ำ ”  (Cave man) และที่แห่งนี้เองที่เป็นต้นกำเนิดของการกีฬา โดยที่มนุษย์เหล่านี้ ต้องป้องกันตัวเองจากสัตว์ร้าย บางครั้งต้องวิ่งเร็วเพื่อให้พ้นจากสัตว์ร้าย การวิ่งเร็วหากเทียบกับปัจจุบันก็คือ  การวิ่งระยะสั้น หากการวิ่งหนีต้องใช้เวลาในการวิ่งนานๆ   ก็คือ  การวิ่งระยะยาวหรือวิ่งทน
                การวิ่งในที่นี้อาจรวมไปถึงการวิ่งเพื่อไล่จับสัตว์มาเป็นอาหารหรือการต่อสู้ระหว่างเผ่า ในบางครั้งขณะที่วิ่งมีต้นไม้หรือก้อนหินขวางหน้า ถ้าเป็นที่ต่ำก็สามารถกระโดดข้ามได้ ปัจจุบันคือ การกระโดดข้ามรั้ว และกระโดดสูง ถ้าต้องการกระโดดข้ามได้อย่างธรรมดาจำเป็นต้องหาไม้ยาวๆ มาปักกลางลำธารหรือแง่หิน และโหนตัวข้ามไปยังอีฝั่งหนึ่ง กลายเป็นการกระโดดค้ำ การใช้หอกหรือแหลนหลาวที่ทำด้วยไม้ยาวๆ เป็นอาวุธพุ่งฆ่าสัตว์ ปัจจุบันก็กลายมาเป็นพุ่งแหลน หรือการเอาก้อนหินใหญ่ๆ มาทุ่มใส่สัตว์ ขว้างสัตว์ กลายมาเป็นการขว้างจักรในปัจจุบัน จึงเห็นได้ว่าการ วิ่ง กระโดด ทุ่ม พุ่ง ขว้าง เหวี่ยง  ที่พ่อแม่หรือหัวหน้าเผ่าสั่งสอนถ่ายทอดให้ในสมัยนั้นมีไว้เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน    ในปัจจุบันก็มีเช่นเดียวกัน ซึ่งผู้ทำหน้าที่นี้คือ ครูอาจารย์และโค้ชนั่นเอง
                สมัยกรีก ชาวกรีกโบราณเป็นผู้ริเริ่มการเล่นกีฬาขึ้นหลายอย่าง  เมื่อราว 1,000 ปี ก่อนคริสต์กาล กรีก คือ  ชนเผ่าหนุ่มซึ่งอพยพมาจากทางเหนือเข้ามาอยู่ในคาบสมุทรบอลข่าน และตั้งรกรากปะปนกับชาวพื้นเมืองเดิม  แล้วสืบเชื้อสายผสมกันมาเป็นชาวกรีก  ต่อมากรีกได้เจริญรุ่งเรืองจนถึงขีดสุดในด้านต่างๆ ทั้งด้านปรัชญา  วรรณคดี  ดนตรี  และการพลศึกษา โดยเฉพาะด้านการพลศึกษา นับว่ามีบทบาทสำคัญในชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกรีกอย่างยิ่ง
           เนื่องจากประเทศกรีกมีลักษณะภูมิศาสตร์ที่เต็มไปด้วยภูเขา ความเป็นอยู่ในสมัยนั้นจึงเป็นไปอย่างหยาบๆ กรีกจะแบ่งออกเป็นรัฐ โดยแต่ละรัฐปกครองตนเอง และเมื่อแต่ละรัฐคิดที่จะแย่งกันเป็นใหญ่ จึงมีการรบพุ่งกันอยู่เสมอ รัฐที่สำคัญและเข้มแข็งมีอยู่สองรัฐคือ  เอเธนส์ และ  สปาร์ต้า ชาวกรีก มีความเชื่อในพระเจ้าต่างๆ หลายองค์ด้วยกัน  เช่น

1.  เทพเจ้าซีอุส (Zeus)   เป็นประธานหรือพระเจ้าองค์ใหญ่ที่สุด
                  ในบรรดาพระเจ้าทั้งหลาย
2.  พระเจ้าอะธินา (Athena)  คือ  เทพธิดาแห่งความเฉลียวฉลาด
            3.  เทพเจ้าอะพอลโล (Apollo)  คือ  เทพเจ้าแห่งแสงสว่างกับ                  
4.  เทพเจ้าเฮอร์เมส (Hermes)  คือ  เทพเจ้าแห่งการสื่อสาร
5.  เทพเจ้าอาเรส (Ares)  คือ  เทพเจ้าแห่งสงคราม
6.  เทพเจ้าอาร์ทีมิส ( Artemis) คือ เทพธิดาแห่งการล่า
ชาวกรีกเชื่อว่าเทพเจ้าเหล่านี้สถิตอยู่บนยอดเขาโอลิมปัส (Olympus)    คล้ายกับเป็นผู้ชี้ชะตาของชาว กรีก ชาวกรีกจึงพยายามที่จะเอาใจ ทำความเข้าใจ และสนิทกับพระเจ้า โดยการบวงสรวงหรือทำพิธีกรรมต่างๆ เพื่อฉลองพระเกียรติของพระเจ้าเหล่านั้น ดังนั้นเวลากระทำพิธีหรือมีงานฉลองมหกรรมใดๆ ชาวกรีกจะจัดการแข่งขันกีฬาขึ้น ณ บริเวณยอดเขาโอลิมปัส แต่ต่อมาคนมาร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก จึงย้ายสถานที่ลงมาที่ราบเชิง   
 เขาโอลิมปัส เพื่อเป็นการถวายความเคารพบูชาต่อเทพเจ้าซีอุส   ประธานแห่งเทพเจ้าทั้งหลายของตนอย่างมโหฬาร อนึ่งเมื่อเสร็จสิ้นการบวงสรวงตามพิธีการทางศาสนาแล้ว ก็มีการจัดการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ขึ้นดังได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งการแข่งขันจะไม่มีพิธีรีตรองอะไรมากนัก เป็นเพียงแข่งขันไปตามที่กำหนดให้เท่านั้น  ผู้ชนะของการแข่งขันก็ได้รับรางวัล ความมุ่งหมายในการแข่งขันของกรีกสมัยนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พลเมืองมีสุขภาพสมบูรณ์ และมีร่างการที่สมส่วนสวยงาม
เมื่อกรีกเสื่อมอำนาจลงและต้องตกอยู่ภายใต้การครอบตรองของชนชาติโรมัน การกีฬาของกรีก เริ่มเสื่อมโทรมลงตามลำดับ จนถึงปี พ.ศ. 937   ธีโอดอซีอุส มหาราชแห่งโรมัน ประกาศห้ามชาวกรีก ประชุมแข่งขันกีฬาอีก จึงทำให้การเล่นกีฬาของกรีกต้องล้มเลิกไปเป็นเวลานานถึง 15 ศตวรรษ
สมัยโรมัน ต่อมาในปลายสมัยของโฮเมอร์ มีชนเผ่าหนึ่งมาตั้งรกรากอยู่บนฝั่งแม่น้ำไทเบอร์ ด้านตะวันออกของกรีก ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นพวกโรมันชาตินักรบ มีความกล้าหาญอดทน และ  มีอิทธิพลยิ่งใหญ่ขึ้นมาพร้อมๆ กับความเสื่อมลงของประเทศกรีก ชาวโรมันนิยมและศรัทธาพลศึกษามากเป็นชีวิตจิตใจ เขาถือว่าพลศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นแก่ชีวิตประจำวัน ชาวโรมันฝึกฝนบุตรของตนมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ให้มีความสามารถในเชิงดาบ โล่ห์ แหลน ในการสู้รบบนหลังม้า รวมทั้งการต่อสู้ประเภทอื่นๆ สนามฝึกหัดกีฬาเหล่านี้เรียกว่า แคมปัสมาร์ติอุส (Campusmartius) เป็นสนามกว้างใหญ่อยู่นอกตัวเมือง และมีสถานฝึกแข่งว่ายน้ำสำคัญเรียกว่า เธอร์มา (Therma) และ  มีสนามกีฬาแห่งชาติขนาดใหญ่ในกรุงโรมที่จุคนได้ถึง 200,000 คน เรียกว่า โคลิเซี่ยม (Coliseum)

ชาวโรมันชายทุกคนต้องเป็นทหารในยามสงคราม เขาจึงฝึกพลศึกษาการต่อสู้แบบต่างๆ ในค่ายฝึกเสมอ ด้วยผลแห่งการฝึกพลศึกษา การกีฬา และเชิงรบแต่เยาว์วัยของประชาชน โรมันจึงมีกองทัพอันเข้มแข็ง และสามารถแผ่อำนาจเข้าครองดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และยุโรปตะวันตกบางตอน รวมขึ้นเป็นราชอาณาจักรโรมัน (The Roman Empire) ต่อมาราชอาณาจักรโรมันก็เสื่อมลงเนื่องจากสาเหตุหลายประการ การเสื่อมความนิยมในพลศึกษาซึ่งเป็นมูลเหตุสำคัญข้อหนึ่งเพราะชาวโรมันกลับเห็นว่าพลศึกษาเป็นของต่ำ จึงเลิกเล่นกีฬาหันไปใช้พวกทาสแกลดิเอเตอร์ (Gladiators) ต่อสู้กันเอง
บางครั้งก็ต่อสู้กับสัตว์ร้ายและเห็นว่าการศึกษาวิชาการมีประโยชน์กว่าวิชาพลศึกษา ดังนั้นโรมันจึงกลายเป็นชาติที่อ่อนแอ จนถึงกับใช้ทหารรับจ้างในยามศึกสงครามแล้วในที่สุดก็พ่ายแพ้แก่ชนชาวติวตัน  (Tue Ton) อันเป็นชาติที่นิยมกีฬากลางแจ้ง และมีร่างการแข็งแรงสมบูรณ์
สมัยปัจจุบัน พ.ศ. 2435   นักกีฬาชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่ง มีฐานันดรศักดิ์เป็น บารอน เปียร์ (บางท่านอ่านว่าปิแอร์)  เดอ กูแบร์แตง    (Baron Piere de Coubertin)   ท่านผู้นี้มีความ    
สนใจในการกีฬาอย่างยิ่ง ได้พิจารณาเห็นว่าการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศเป็นการเชื่อมความสามัคคี ผูกมัดสัมพันธภาพระหว่างชาติต่างๆ ที่ร่วมการแข่งขันด้วยกัน เป็นการสมาคมชั้นสูง เพื่อแลกเปลี่ยนจิตใจของนักกีฬาอันแท้จริงต่อกัน ไม่มีการผิดพ้องหมองใจกัน ซึ่งการแข่งขันกีฬาโอลิมเปียดสมัยโบราณ  ได้ยุติลงเมื่อ พ.ศ. 935 เป็นเหตุที่ทำให้ห่วงสัมพันธภาพในการกีฬาขาดสะบั้นลง และเป็นที่น่าเสียใจอย่างยิ่ง
ท่านผู้นี้จึงได้เชื้อเชิญสหาย คือ  ศาสตราจารย์ W. Stone แห่งสหรัฐอเมริกา   Victor Black แห่งสวีเดน Dr. Jiriguch แห่งโบเฮาเมีย   Sir Johe Astenley  แห่งบริเตนใหญ่   ร่วมกันเปิดการประชุมกีฬาโอลิมปิกขึ้นใหม่  โดยยึดเอาอุดมคติแห่งความยุติธรรม อ่อนโยน สุภาพ มั่นคง และกำลังเป็นมูลฐานตามวัตถุประสงค์ของโอลิมเปียดโบราณที่ว่า Citus , Altius, Fortius  (เร็ว ,  สูง , แรง)   ผู้สนใจการกีฬา
คณะนี้ได้ปรึกษาหารือกัน จนกระทั่งวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2437   จึงได้เกิดการประชุมใหญ่ ระหว่างผู้แทนประเทศต่างๆ  ที่เมืองเซอร์มอนน์ ประเทศฝรั่งเศส และได้ประกาศตั้งคณะกรรมการโอลิมปิกระหว่างประเทศ (International Olympic Committee)และตกลงกันให้มีการชุมนุมกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกของสมัยปัจจุบันที่กรุงเอเธนส์ ประเทศ กรีก ใน พ.ศ. 2439     บารอน เปียร์ เดอ กูแบรแตง  ได้มอบคำขวัญให้ไว้แก่การแข่งขันโอลิมปิกสมัยปัจจุบันนี้ว่า สาระสำคัญในการแข่งขันโอลิมปิก ไม่ใช่การชนะ แต่สำคัญอยู่ที่การเข้าร่วมแข่งขัน 4 ปีต่อ 1 ครั้ง โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันระหว่างประเทศในเครือสมาชิก โดยความคิดของ บารอน เปียร์ เดอ กูแบรแตง ที่ได้รื้อฟื้นการแข่งขันโอลิมปิกขึ้น มิใช่เฉพาะเพื่อชัยชนะของผู้แข่งขันเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญ คือ การเข้าร่วมก่อให้เกิดสุขสันติภาพระหว่างชาติ และก้าวไปสู่สันติของโลก
กรีฑาในประเทศไทย
สำหรับการแข่งขันกรีฑาในประเทศไทย กระทรวงธรรมการได้จัดให้มีการแข่งขันกรีฑานักเรียนครั้งแรก ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2440   ณ ท้องสนามหลวง   ในพิธีเปิดการแข่งขันครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานเปิดการแข่งขัน และทอดพระเนตรการแข่งขันนับตั้งแต่นั้นมา กระทรวงธรรมการได้จัดให้มีการแข่งขันกรีฑานักเรียนประจำทุกปีตลอดมา          
ปี พ.ศ. 2476 รัฐบาลได้จัดตั้ง กรมพลศึกษาขึ้น โดยมีนโยบายส่งเสริมการกีฬาของชาติ    ให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น หลังจากนั้นกีฬาและกรีฑาก็ได้รับการสนับสนุนมากขึ้น โดยจัดให้มีการแข่งขัน
กรีฑาระหว่างโรงเรียน ระหว่างมหาวิทยาลัยและกรีฑาประชาชน         
ปี พ.ศ. 2494 ได้มีการจัดตั้ง สมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ขึ้น  มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการจัดการแข่งขันกรีฑาประเภทมหาวิทยาลัยและประชาชนแทนกรมพลศึกษา
 ปี พ.ศ. 2504 ได้จัดตั้ง องค์กรส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย ขึ้น  มีหน้าที่รับผิดชอบในการส่งเสริมกีฬาประชาชน โดยจัดให้มีการแข่งขัน กีฬาแห่งชาติ  ทุกปี

ปี พ.ศ. 2528 เปลี่ยนชื่อจากองค์กรส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย เป็น การกีฬาแห่งประเทศไทย

คุณค่าและประโยชน์ของกีฬากรีฑา  (นาม , 2534  : 3)
     1.  คุณค่าและประโยชน์ของกรีฑาด้านร่างกาย 
           1.1 ช่วยให้อวัยวะและระบบต่างๆของร่างกาย  ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
          โดยเฉพาะระบบไหลเวียนโลหิต  ระบบหายใจ  ระบบขับถ่าย  ระบบย่อยอาหาร
           1.2 ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางด้านร่างกาย  ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงสมบูรณ์  
มีความทนทาน  ทำงานได้นาน  เหนื่อยช้าแต่หายเหนื่อยเร็ว
1.3  ช่วยสลายพลังงานส่วนเกินออกไปในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น
1.4  ช่วยให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคได้ดีมากขึ้น
1.5  ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพ  ทรวดทรง  รวมถึงการทรงตัวที่ดี
2. คุณค่าและประโยชน์ของการเล่นกรีฑาด้านจิตใจและอารมณ์ 
2.1 ช่วยให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าตัดสินใจสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
2.2  ช่วยทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน  เร้าใจและตื่นเต้น
2.3  ช่วยระบายหรือผ่อนคลายความตึงเครียด
2.4  ช่วยทำให้อารมณ์และจิตใจแจ่มใสร่าเริง
2.5  ช่วยให้รู้จักคำว่า  รู้แพ้  รู้ชนะ  รู้อภัย
3.  คุณค่าและประโยชน์ของกรีฑาด้านสังคม
3.1  ช่วยให้สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี
3.2  ช่วยให้เป็นผู้ที่มีระเบียบวินัย  ปฏิบัติตามกฎระเบียบ  กติกา
3.3  ช่วยก่อให้เกิดสัมพันธไมตรี  และความสามัคคี
3.4  ช่วยแก้ไขปัญหาของสังคมของวัยรุ่น  โดยการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
3.5  ช่วยส่งเสริมสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ  โดยใช้การกีฬาเป็นสื่อ

ลักษณะของกีฬากรีฑาและการแบ่งประเภทของการจัดการแข่งขัน  (อุทัย  : 4 - 6)

กรีฑา หมายถึง กีฬาชนิดหนึ่ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทลู่ และประเภทลาน 
1.    กรีฑาประเภทลู่ 
หมายถึง  กรีฑาที่ต้องแข่งขันบนทางวิ่งหรือลู่วิ่ง  โดยตลอดระยะทาง  มีการตัดสินผลแพ้ชนะด้วยเวลา  คือ  ผู้ใดทำเวลาได้น้อยที่สุดจะเป็นผู้ชนะในการแข่งขันชนิดนั้นๆ  แบ่งออกเป็น
1.1  การวิ่งระยะสั้น  หมายถึง  การวิ่งระยะทางไม่เกิน  400  เมตร  นับจากจุดเริ่มต้นจนถึงเส้นชัย
1.2  การวิ่งระยะกลาง  หมายถึง  การวิ่งในระยะทางตั้งแต่  800  เมตรขึ้นไป  แต่ไม่เกิน 1,500  เมตร
1.3  การวิ่งระยะไกล  หมายถึง  การวิ่งในระยะทางตั้งแต่  3,000  เมตรขึ้นไป  รวมถึงการวิ่งมาราธอน (42,195  เมตร)
1.4  การวิ่งผลัด  หมายถึง  การวิ่งที่มีผู้เล่นเป็นชุดๆ  แต่ละชุดมีจำนวนเท่าๆกัน
1.4.1  การวิ่งผลัดในระยะทางที่เท่ากัน  หมายถึง  ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนในชุดเดียวกันต้องวิ่งในระยะทางที่เท่ากัน  เช่น  8 ´ 50 , 4 ´ 100 , 4 ´ 200 , 4 ´ 400  เมตร  เป็นต้น
1.4.2    การวิ่งผลัดในระยะทางที่ไม่เท่ากัน  หมายถึง  ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนในชุดเดียวกันวิ่งในระยะทางที่ไม่เท่ากัน  เช่น    4 ´ 80 ´ 120 ´ 120´ 80  เมตร  เป็นต้น
1.5   การวิ่งข้ามรั้ว  หมายถึง  การวิ่งไปตามลู่วิ่ง  ข้ามสิ่งกีดขวางหรือวางขวางอยู่ข้างหน้าความสูงและจำนวนรั้วที่ใช้ในการแข่งขันในแต่ละประเภทแตกต่างกันไป  เช่น  วิ่งข้ามรั้ว  100  เมตรหญิง  , วิ่งข้ามรั้ว  110   เมตรชาย , วิ่งข้ามรั้ว  400  เมตร  เป็นต้น
2.   กรีฑาประเภทลาน
หมายถึง  กรีฑาประเภทที่ต้องทำการประลองบนลานสนาม  ตัดสินผลการแข่งขันกันด้วยความไกลหรือความสูง  แบ่งออกเป็น
2.1  ประเภทที่ตัดสินกันด้วยความไกล  เช่น  วิ่งกระโดดไกล , เขย่งก้าวกระโดด ,
                   ทุ่มลูกน้ำหนัก , ขว้างค้อน, ขว้างจักร และพุ่งแหลน
2.2  ประเภทที่ตัดสินกันด้วยความสูง  เช่น  วิ่งกระโดดสูง , กระโดดค้ำ
3.   ปัญจกรีฑา  เป็นการแข่งขันของนักกรีฑาชาย  ประกอบด้วยการแข่งขัน  5  ประเภท  โดยทำการแข่งขันภายในวันเดียว   เรียงตามลำดับดังนี้
3.1   กระโดดไกล
3.2   พุ่งแหลน
3.3  วิ่ง  200  เมตร
3.4   ขว้างจักร
3.5   วิ่ง  1,500  เมตร

4.   ทศกรีฑา  เป็นการแข่งขันของนักกรีฑาชาย  ประกอบด้วยการแข่งขัน  10  ประเภท  โดยทำการแข่งขัน  2  วันติดต่อกัน  ตามลำดับดังนี้ 
วันแรก  แข่งขัน  5  ชนิด  คือ
  1.    วิ่ง  100  เมตร
  2.    กระโดดไกล
  3.    ทุ่มลูกน้ำหนัก
  4.    กระโดดสูง
  5.     วิ่ง  400  เมตร                                                           
           วันที่สอง  แข่งขัน  5  ชนิด  คือ
             6.   วิ่งข้ามรั้ว  110  เมตร
             7.   ขว้างจักร
             8.   กระโดดค้ำ
             9.   พุ่งแหลน
            10.   วิ่ง  1,500  เมตร
5.   สัตตกรีฑา  เป็นการแข่งขันของนักกรีฑาหญิง  ประกอบด้วยการแข่งขัน  7  ประเภท  โดยทำการแข่งขัน  2  วันติดต่อกัน  ตามลำดับดังนี้ 
วันแรก  แข่งขัน  5  ชนิด  คือ
1.    วิ่งข้ามรั้ว  110  เมตร
2.    กระโดดสูง
3.   ทุ่มลูกน้ำหนัก
4.    วิ่ง  200  เมตร
วันที่สอง  แข่งขัน  2  ชนิด  คือ
5.    กระโดดไกล 
6.    พุ่งแหลน
7.    วิ่ง  800  เมตร

วิธีการดูแลรักษาอุปกรณ์กีฬากรีฑา  (ดร.สมชายและคณะ , 2546 : 7)                                   เพื่อให้อุปกรณ์การเล่นกรีฑาอยู่ในสภาพที่ดี  ใช้งานได้นานและคุ้มค่ามากที่สุด  และพร้อมที่จะนำมาใช้ในการฝึกซ้อมและแข่งขัน  มีข้อปฏิบัติดังนี้ 
1.  ควรมีตู้เก็บอุปกรณ์กรีฑาแบบแยกเป็นประเภทๆ
2.  ควรเก็บไว้ในสถานที่ที่เหมาะสม  ไม่ตากแดด  ตากฝน
3.  ก่อนใช้อุปกรณ์กรีฑา  ต้องตรวจอุปกรณ์ทุกขนาดให้อยู่ในสภาพที่ดี  และพร้อมที่จะนำมาใช้
4.   ควรใช้อุปกรณ์ให้ถูกต้องตามชนิด  ขนาด  และประเภท
5.   อุปกรณ์กรีฑาที่ใช้แล้ว  ก่อนเก็บควรตรวจสอบจำนวนและสภาพความเรียบร้อยของอุปกรณ์
6.   อุกปกรณ์กรีฑาที่ชำรุด  ควรจัดแยกไว้  แล้วจัดการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย
7.    ก่อนเก็บอุปกรณ์  ควรทำความสะอาดและเช็ดให้แห้ง
8.   เสากระโดดสูง  ไม้พาดกระโดดสูง  เสากระโดดค้ำถ่อ  ไม้พาดค้ำถ่อ  ไม้ค้ำถ่อ  ควรจัดเก็บในที่ที่เหมาะสม  และควรจัดเก็บไว้เป็นที่
9.   การเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ต่างๆ  ควรใช้วิธียก  เพราะถ้าเคลื่อนย้ายโดยการลากกับพื้น  อาจทำให้อุปกรณ์เสียหายได้
10. ควรมีระเบียบและจัดทำระเบียนการแจกจ่ายอุปกรณ์อย่างรัดกุม  เพื่อป้องกันการสูญหาย
การเป็นผู้เล่นกีฬากรีฑาและเป็นผู้ชมที่ดี  (ดร.สมชายและคณะ , 2546 : 8)
การแข่งขันกรีฑาจะเป็นไปด้วยความเรียบร้อยนั้น  นอกจากจะมีการดำเนินการจัดการแข่งขันที่ดีแล้ว   ผู้เล่นและผู้ชมก็มีส่วนสำคัญในการที่ทำให้การแข่งขันประสพความสำเร็จด้วยดี    

    มารยาทและการเล่นกรีฑาที่ดี 
1.     มีน้ำใจนักกีฬา
2.     มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อคู่แข่งขัน
3.     มีความรับผิดชอบและตรงต่อเวลา
4.     เคารพกติกาการแข่งขันอย่างเคร่งครัด
5.     ยอมรับและเชื่อฟังคำตัดสินของผู้ตัดสิน
6.     เป็นผู้รู้จักข่มใจตนเอง  รักษาสติให้มั่นคง
7.     ใช้ทักษะความสามารถในการแข่งขันเต็มที่
8.     แต่งกายสุภาพและถูกต้องตามกติกาการแข่งขัน
9.     รู้แพ้  รู้ชนะ  รู้อภัย  และแข่งขันด้วยชั้นเชิงกีฬา
10.  ไม่แสดงอาการดีใจหรือเสียใจ  ในผลของการแข่งขันจนเกินไป
11.   ต้องศึกษาและเข้าใจในกฎระเบียบ กติกาการแข่งขัน  อย่างถูกต้อง
12.   มีกิริยาวาจาสุภาพเรียบร้อย  อ่อนน้อมทั้งในสนามและนอกสนาม
มารยาทของการเป็นผู้ชมกรีฑาที่ดี
1.  ให้เกียรติและยอมรับคำตัดสินของผู้ตัดสิน
2.   ศึกษาและหาความรู้ในกฎระเบียบ  และกติกาการแข่งขัน
3.   ไม่กล่าววาจาที่ไม่สมควรหรือสนับสนุนผู้เล่นในทางที่ผิด
4.   ปรบมือให้เกียรติและแสดงการต้อนรับผู้เข้าร่วมแข่งขันทุกคนขณะลงสนาม
5.    ไม่ควรส่งเสียงโห่ร้องเยาะเย้ยผู้แข่งขัน  กรรมการผู้ตัดสิน  และเจ้าหน้าที่จัดการแข่งขัน
6.   ไม่ควรทำตัวเป็นผู้ตัดสินเสียเอง  โดยไม่เชื่อฟังคำตัดสินและคำวินิจฉัยชี้ขาดของผู้ตัดสิน
7. ไม่กระทำสิ่งใดๆที่ทำให้นักกีฬา  กรรมการ  และเจ้าหน้าที่จัดการแข่งขัน  ปฏิบัติงานไม่สะดวก
8.   ไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้แข่งขัน  กรรมการ  และเจ้าหน้าที่จัดการแข่งขัน  ขณะมีสัญญาณ
หยุดการใช้เสียง

การเล่นกรีฑาด้วยความปลอดภัย  (นาม , 2534 : 7)
                ในการเล่นหรือการแข่งขันกรีฑา  มีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุได้น้อย  ถ้ารู้จักการระมัดระวังอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่น  ผู้เล่นกรีฑาจึงมีข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย  ดังนี้ 
1.ควรแน่ใจและมั่นใจว่าสุขภาพร่างกายและจิตใจของตนเองอยู่ในสภาพที่พร้อมจะรับ
การฝึกฝนหรือการแข่งขัน  ถ้าเป็นไปได้ควรมีการตรวจสภาพร่างกายจากแพทย์ก่อน
2. ควรใช้เครื่องแต่งกายที่เหมาะสม  รัดกุม  ทั้ง  เสื้อ  กางเกง  ถุงเท้า  รองเท้า
3  ก่อนทำการฝึกซ้อมหรือทำการแข่งขันทุกครั้ง  จะต้องอบอุ่นร่างกายให้เพียงพอ  จะ
ช่วยลดอุบัติเหตุลงได้
4.  ควรตรวจสภาพของสนาม  อุปกรณ์ทุกชิ้น  ให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อย  สมบูรณ์  และ
ปลอดภัย
5.  ควรฝึกไปตามลำดับขั้นตอนจากง่ายไปยาก  ตามที่ผู้ฝึกสอนแนะนำ
6.  การใช้รองเท้าวิ่งที่มีตะปู  ควรเลือกให้เหมาะสมกับสภาพสนาม  เช่น  ถ้าลู่วิ่งแข็ง  ควร
ใช้รองเท้าที่มีพื้นตะปูสั้น  ถ้าลู่วิ่งอ่อนนิ่มควรใช้รองเท้าที่มีพื้นตะปูยาว  จะช่วยป้องกัน
อุบัติเหตุที่ข้อเท้าได้
7. ก่อนการทุ่มน้ำหนัก  การขว้างจักร  หรือการพุ่งแหลน จะต้องแน่ใจว่าปลอดภัยจากผู้อื่น
8.  หากเกิดการเจ็บป่วยขณะฝึกซ้อมหรือแข่งขัน  ควรหยุด  และให้แพทย์ตรวจรักษาทันที
การฝึกซ้อมและการแข่งขัน  จะต้องปฏิบัติตามระเบียบ  กติกาการแข่งขันอย่างเคร่งครัด
กติกาการแข่งขันกรีฑา
การแข่งขันจะใช้กติกาการแข่งขันของสหพันธ์กรีฑานานาชาติ โดยมีเนื้อหาสำคัญสำหรับการแข่งขันประเภทต่างๆ คือ
        หลักเกณฑ์ในการแข่งขันตามกติกา ดังนี้
ประเภทลู่
1. ประเภทวิ่ง 100ม.,200ม.,400ม.,ข้ามรั้ว 100ม.,ข้ามรั้ว 110ม.
2. ประเภทวิ่ง 400ม.,800 ม.,วิ่งผลัด 4x100ม.,วิ่งผลัด 4x400ม.
3. ประเภท 1,500ม.
4. ประเภท 3,000ม.วิ่งวิบาก 3,000ม.
5. ประเภท 5,000 ม.
6. ประเภท 10,000 ม.
การแข่งขันวิ่งผลัด
1. เขตรับส่งไม้คทามีระยะทาง 20 ม.โดยถือไม้คทาเป็นเกณฑ์  ไม่เกี่ยวกับขา   แขน ลำตัว ของนักกีฬา
2. การแข่งขันวิ่งผลัด 4x200ม.นักกีฬาคนที่1และ2 จะต้องวิ่งช่องวิ่งของตนเองเท่านั้น คนที่ 3 จะวิ่งในช่องวิ่งของตนเองจนกระทั่งถึงเส้นตัด(เส้นโค้งแรกประมาณ 120 ม.)
3. การแข่งขันวิ่งผลัด 4x400 ม. คนที่ 1 วิ่งในช่องวิ่งของตนเองเท่านั้น คนที่ 2 วิ่งในช่องวิ่งของตน เองจนระทั่งถึงเส้นตัด ซึ่งอยู่ในแนวเส้นชัย คนที่ 3 และ 4 จะยืนคอยรับในเขตรับระยะรวมเท่านั้น เมื่อนักกีฬาทีมใดวิ่งมาถึงจุด 200 ม.ก่อน ทีมนั้นจะสามารถยืนคอยรับคทาจากด้านในของลู่วิ่ง เรียงตามลำดับออกมา
4. ถือไม้คทาด้วยมือตลอดการแข่งขัน หลังส่งไม้คทาแล้วควรอยู่ในช่องวิ่งของตนเองหรือภายใน เขตรับส่จนกว่าทางวิ่งจะไม่มีนักกีฬา
5. สามารถเปลี่ยนนักกีฬาได้ 2 คนจะต้องมีรายชื่อในการแข่งขันครั้งนั้น
6. กรณีการแข่งขันวิ่งผลัด 4x100ม.,4x400 ถ้ามีทีมแข่งขันไม่เกิน5ทีมให้ไม้แรกวิ่งโค้งเดียวแล้วตัดเข้าช่องในได้
การแข่งขันวิ่งข้ามรั้ว
     นักกีฬาจะต้องวิ่งข้ามรั้วทั้งหมด 10 รั้ง ตลอดระยะทางการแข่งขัน สิ่งต้องห้าม - วิ่งข้ามรั้วเพียงขาข้างเดียว และห้ามใช้มือผลักดันรั้วหรือใช้ขาเจตนาถีบรั้วให้ล้ม
การแข่งขันประเภทลาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
1. การแข่งขันประเภทกระโดด - กระโดดสูง,เขย่งก้าวกระโดด,กระโดดสูง,กระโดดค้ำถ่อ
2. การแข่งขันประเภททุ่ม พุ่ง ขว้าง - ทุ่มน้ำหนัก,ขว้างจัก,ขว้างฆ้อน,พุ่งแหลน
กติกาการแข่งขันกระโดดไกล
    การแข่งขัน นักกีฬากระโดดในขั้นที่ดีที่สุดของแต่ละคน จะถือเป็นสถิติ รวมทั้งตัดสินเสมอ กันของอันดับที่ 1 ด้วย นักกีฬากระโดดลงในบ่อทรายแล้วต้องออกไปข้างหน้าหรือด้านข้างเท่านั้น
กติกาการแข่งขันเขย่งก้าวกระโดด
   :  ประกอบด้วยเขย่ง การก้าว และการกระโดด การเขย่งจะต้องใช้เท้าเดียวกับที่เหยียบ กระดานลงสู่พื้น
กติกาการกระโดดสู
             :  จะต้องกระโดดด้วยเท้าข้างเดียว สามารถกระโดดได้ไม่เกิน 3 ครั้ง จะหมดสิทธิ์ในการแข่ง ขันความสูงต่อไป นักกีฬาที่ชนะเลิศสามารถเลือกความสูงได้ตามต้องการ
กติกาการแข่งกระโดดค้ำถ่อ
            :   หากกระโดดไม่ผ่าน 3 ครั้งถือว่าหมดสิทธิ์ ห้ามใช้ผ้ายางพันมือหรือนิ้วมือ ยกเว้นบาดเจ็บ การแข่งขันในขั้นที่ดีที่สุดถือว่าเป็นสถิติ
กติกาการแข่งขันทุ่มน้ำหนัก
           :  นักกีฬาเข้าแข่งขันมากกว่า 8 คน การแข่งขันคนละ 3 ครั้ง ผู้ทำสถิติดีที่สุดทำการแข่งขัน รอบสุดท้ายถ้าไม่เกิน 8 คน คนละ 6 ครั้ง ทำการฝึกซ้อมได้ไม่เกิน 2 ครั้ง   ต้องทุ่มภายในบริเวณวงกลม  ลูกน้ำหนักต้องทุ่มออกไปจากไหล่ด้วยมือข้างเดียว โดยลูกน้ำหนักต้องสัมผัสหรืออยู่ชิดคาง และมือต้องไม่ลดต่ำกว่าไหล่เลยไปด้านหลัง ขณะจะทุ่มลูกน้ำหนักออกไป                                                                                
  การฟาล์ว
           : เมื่อเข้าไปในวงกลมเพื่อทำการทุ่มแล้วสัมผัสภายนอกวงกลมหรือขอบบนของไม้ขวาง หรือขอบบนไม้ขวางหรือขอบบนของวงกลม  จะต้องวางอุปกรณ์ไว้ด้านนอกหรือภายในวงกลมแล้วเดินออกด้านหลัง  ห้ามใช้ผ้ายางพันนิ้ว มือ 2 นิ้วหรือมากกว่าเข้าด้วยกันยกเว้นบาดเจ็บ  ห้ามสวมถุงมือและสามารถใช้สารทามือได้  สามารถคาดสายเข็มขัดหนังหรืออุปกรณ์อื่นที่จำเป็นว่าเหมาะสม เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ ของกระดูกได้ห้ามฉีดสเปรย์หรือสารบางอย่างในวงกลมหรือรองเท้า   ลูกน้ำหนักต้องอยู่ภายในเส้นรัศมี และต้องไม่ออกจากวงกลมจนกว่าลูกทุ่มน้ำหนักจะตกถึงพื้น

กติกาการขว้างจักร
           : จักรจะต้องตกภายในเส้นรัศมี ห้ามออกนอกวงกลมจนกว่าจักรจะตกถึงพื้นครั้งแรกสมบูรณ์แล้วต้องไม่ฉีดสเปรย์หรือสารบางอย่างในวงกลมหรือรองเท้า ห้ามใช้ผ้ายางพันนิ้ว มือ 2นิ้วหรือมากกว่าเข้าด้วยกันยกเว้นบาดเจ็บ สามารถคาดสายเข็มขัดหนังหรืออุปกรณ์อื่นที่จำเป็นว่าเหมาะสม เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ ของกระดูกได้ จักรที่ขว้างออกไปแล้ว ห้ามขว้างกลับมาให้ถือกลับมาที่วงกลม ห้ามออกนอกวงกลมจนกว่าจักรถึงเส้น
กติกาการขว้างฆ้อน
       :  ฝึกซ้อมได้ไม่เกิน 2ครั้ง การขว้างเริ่มจากในวงกลม     เมื่อเหวี่ยงสัมผัสพื้นดิน หรือขอบของวงกลมจะไม่ถือว่าฟาล์ว แต่ถ้าหลังจากสัมผัสพื้นดินหรือ ขอบเหล็กแล้วเขาหยุดการหมุนจะถือว่าฟาล์ว    เมื่อเข้าไปในวงกลมห้ามสัมผัสพื้นดินนอกหรือขอบวงกลมจะถือว่าฟาล์ว ถ้าเกิดหลุดหรือขาดกลางอากาศไม่ถือว่าฟาล์ว และถ้าเสียหลักจนเกิดการฟาล์ว การประลองครั้งนั้นไม่นับเช่นกัน ตัวฆ้อนต้องตกภายในรัศมี ,ห้ามออกนอกวงกลมจนกว่าฆ้อนจะตกถึงพื้น ,  อุปกรณ์ที่ขว้างไปแล้วห้ามขว้างกลับให้ถือกลับมา
กติการพุ่งแหลน
       ต้องจับตรงที่จับ การพุ่งจะต้องพุ่งออกไปเหนือไหล่หรือเหนือแขนท่อนบน ห้ามใช้วิธีเหวี่ยง หรือขว้าง หรือมุ่งด้วยท่าพลิกแพลงอื่น ๆ   การที่หัวแหลนที่เป็นโลหะไม่ได้ถูกพื้นก่อนส่วนอื่น ๆของแหลนถือว่าการแข่งขันไม่มีผล ถ้าหากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือแขนขา ถูกไม้โค้งหรือเส้นที่ลากต่อจากปลาย ของส่วนโค้งถือว่าการแข่งขันไม่ได้ผล หากแหลนหักในระหว่างพุ่งให้ทำการแข่งขันใหม่ แหลนพุ่งแล้วห้ามพุ่งกลับ
  กติกาการแข่งขันเดิน
        : ลักษณะการเดินที่ถูกต้อง ก่อนยกเท้าหลังจากพื้นเท้าหน้านำ ต้องสัมผัสพื้นก่อนด้วยส้นเท้า เมื่อเท้าหน้านำ สัมผัสพื้นแล้วต้องตึงชั่วขณะจนกว่าจะอยู่แนวตั้งฉากกับลำตัว
10.กติกาการแข่งขันประเภทรวม
1. ปัญจกรีฑา (ชาย) ประกอบด้วยการแข่งขัน 5 ประเภท โดยทำการแข่งขันวันเดียวดังนี้ กระโดดไกล,พุ่งแหลน,วิ่ง 200ม.ขว้างจักรและวิ่ง 1,500 ม.
2. ทศกรีฑา(ชาย)  10 ประเภท จัดทำการแข่งขัน 2 วันติดต่อกัน วันแรก วิ่ง 100ม.,กระโดดไกล,ทุ่มน้ำหนัก,กระโดดสูง,วิ่ง 400 ม. วันที่สอง วิ่งข้ามรั้ว 110 ม.,ขว้างจักร,กระโดดค้ำ,พุ่งแหลน,วิ่ง 1,500 ม.
3.  สัตตกรีฑา(หญิง) มีการแข่งขัน 7  ประเภท แข่ง 2 วันโดยมีดังนี้
            วันแรก วิ่งข้ามรั้ว 100ม.,กระโดดสูง,ทุ่มน้ำหนัก,วิ่ง 200ม.
            วันที่ 2   กระโดดไกล , พุ่งแหลน , และวิ่ง 800 เมตร
                   ผู้ชนะ คือ ผู้ที่สามารถทำคะแนนสูงสุดในการแข่งขัน ถ้าไม่เข้าแข่งขันหรือไม่ทำการประลองแม้แต่ครั้งเดียวให้ถือว่าเลิกการแข่งขัน


การเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน  หมายถึง  การเคลื่อนที่หรือการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งส่วนต่างๆของร่างกาย  จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้อย่างต่อเนื่องและมีความปลอดภัย  การเคลื่อนที่ในแบบต่างๆสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ( อุทัย , 2547 : 3 - 5 )

การเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานของร่างกาย  โดยทั่วๆไปมีอยู่  2  ลักษณะ  คือ

1.   การเคลื่อนไหวแบบไม่เคลื่อนที่  ( Static )  เช่น  การหมุนคอ  การบิดลำตัว  การยืด 

การดัน  การเหวี่ยง  การก้ม  การดึง  การเอียง  การส่าย  การเขย่า

2.    การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่  ( Dynamic )  เช่น  การเดิน  การวิ่ง  การกระโดด    การเขย่ง


การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน  เป็นการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำทั้งที่บ้าน  ที่โรงเรียน  หรือเล่นกีฬา  เป็นต้น  จึงจำเป็นต้องมีการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง  จะช่วยให้เกิดความปลอดภัยจากการบาดเจ็บ  และ   มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง  สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข


การเคลื่อนไหวแบบไม่เคลื่อนที่

1.  การก้ม  หมายถึง  การงอบพับตัวให้ร่างกายสวนบนลงมาใกล้กับส่วนล่าง 

2.  การยืดเหยียด  หมายถึง  การเคลื่อนไหวในทางตรงกันข้ามกับการก้ม  โดยพยายามยืด

เหยียดกล้ามเนื้อให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

3.  การบิด  หมายถึง  การทำส่วนต่างๆของร่างกายบิดไปจากแกนตั้ง  เช่น  การบิดลำตัว
4.  การดึง  หมายถึง  การพยายามดึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้ามาหาร่างกาย  หรือทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
5.  การดัน  หมายถึง  การพยายามทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ห่างออกจากร่างกาย  เช่น  การดันโต๊ะ
6.  การเหวี่ยง  หมายถึง  การเคลื่อนไหวสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  โดยหมุนรอบจุดให้เป็นเส้นโค้งหรือ
รูปวงกลม  เช่น  การเหวี่ยงแขน 
7.  การหมุน  หมายถึง  การกระทำที่มากกว่าการบิดโดยกระทำรอบๆ  เช่น  การหมุนคอ
8. การโยก  หมายถึง  การถ่ายน้ำหนักตัวจากส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายไปยังอีกส่วนหนึ่ง
โดยเท้าทั้งสองจะต้องแตะพื้นสลับกัน  เช่น  การโยกตัวของการเล่นแม่งูเอ๋ย
9. การเอียง  หมายถึง  การทิ้งน้ำหนักตัวไปยังส่วนใดส่วนหนึ่ง  โดยไม่ถ่ายน้ำหนัก  เช่น 
ยืนเอียงคอ
10. การสั่นหรือการเขย่า  หมายถึง  การเคลื่อนไหวสั่นสะเทือนส่วนต่างๆของร่างกายซ้ำๆ
ต่อเนื่องกัน  เช่น  การสั่นหน้า  เขย่ามือ  สั่นแขนขา


11. การส่าย  หมายถึง  การทำบิดไปและกลับติดต่อกันหลายๆครั้ง  เช่น  การส่ายสะโพก


การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่

1.  การเดิน  หมายถึง  การเคลื่อนที่โดยการก้าวเท้าถ่ายน้ำหนักตัวจากเท้าหนึ่งไปยังอีกเท้าหนึ่ง

ขณะที่ถ่ายน้ำหนักตัวนั้น  เท้าข้างหนึ่งต้องอยู่  หรือ สัมผัสพื้นเป็นฐานในการทรงตัว

2.  การวิ่ง  หมายถึง  การก้าวเท้าในลักษณะการเดินทีละข้าง  โดยเท้าทั้งสองจะลอยพ้นพื้น

สลับข้างต่อเนื่องกัน
3.  การกระโดด  หมายถึง  การลอยตัวขึ้นจากพื้น  และลงสู่พื้นด้วยสองเท้าพร้อมกัน
4.  การเขย่ง  หมายถึง  การลอยตัวขึ้นจากพื้น  แล้วลงสู่พื้นด้วยเท้าข้างใดข้างหนึ่ง  หรือ
กระโดดด้วยเท้าข้างเดียวซ้ำๆ  และหากเปลี่ยนเท้าก็คงลักษณะซ้ำต่อเนื่องกัน

ทักษะและเทคนิคการวิ่งระยะสั้น


(ดร.สมชายและคณะ , 2546) (ดูภาพประกอบ)

ศีรษะในขณะวิ่ง                  อยู่ในมุมปกติ  สายตามองไปข้างหน้า  ใบหน้าและลำคอไม่เกร็ง 

การแกว่งแขน                      ข้อศอกควรทำมุมประมาณ  90  องศา  แกว่งให้ขนานกับลำตัว  กำมือหลวมๆ 

                                                หรือปล่อยนิ้วเหยียดในลักษณะธรรมชาติ  มือที่แก่วงมาด้านหน้าควรสูงระดับ

                                                ไหล่  และ  ดึงกลับไปด้านหลังให้สูง  และห่างจากสะโพกประมาณ  6 8  นิ้ว
การวางเท้า                            เท้าที่ยกขึ้นจะต้องงอเข่า  พับขาท่อนล่างขึ้นให้ชิดขาท่อนบนให้มากที่สุด 
                                                และ  ก้าวไปข้างหน้าอย่างเร็ว  โดยดึงเข่าไปข้างหน้าให้ต้นขาขนานกับพื้น 
                                                พร้อมกับเหยียดขาไปด้านหน้า  และวางปลายเท้าลงบนพื้น  วิ่งด้วยปลายเท้า
                                                ตลอดระยะทาง 


ท่าตั้งต้นก่อนออกวิ่ง นิยมใช้อยู่ 3 แบบ
       นักกีฬามักจะเลือกใช้ตามความถนัดและความเหมาะสมกับความสูงของนักกีฬา
         1. แบบ Bunch Start ท่าเริ่มต้นปลายเท้าหลังอยู่แนวเดียวกันกับส้นเท้าหน้า ปลายเท้าหน้าห่างจากเส้นเริ่มประมาณ 19 นิ้ว ปลายเท้าหลังห่างจาก
   เส้นเริ่มประมาณ 29 นิ้ว ท่านี้เหมาะกับนักกรีฑาที่มีรูปร่างเตี้ย
         2.แบบMediumStartท่าเริ่มต้นเข่าของเท้าหลังวางอยู่ตรงแนวกึ่งกลางของเท้าหน้าปลายเท้าหน้าห่างจากเส้นเริ่มประมาณ 15 นิ้วปลายเท้าหลังห่าง
   จากเส้นเริ่มประมาณ 34 นิ้ว  ท่านี้เหมาะกับนักกรีฑามีรูปร่างสันทัดปานกลาง
         3.แบบElongatedStartท่าเริ่มต้นให้เข่าของเท้าหลังวางอยู่ในแนวเดียวกับส้นเท้าหน้าปลายเท้าหน้าห่างจากเส้นเริ่มประมาณ 13 นิ้ว ปลายเท้าหลัง
   ห่างจากเส้นเริ่มประมาณ 14 นิ้ว ท่านี้เหมาะกับนักกรีฑาที่มีรูปร่างสูงโปร่ง 


      ท่าทางการวิ่ง  
        1. ในการวิ่งให้โน้มตัวไปข้างหน้าอย่างน้อย 20 องศา จากเส้นตั้งฉากในการวิ่งเต็มฝีเท้า
        2. ศีรษะตั้งตรงทำมุมพอสบายตามองไปข้างหน้า 15 ฟุต ตามทางวิ่ง
        3. เท้าก้าวไปข้างหน้าตรง ไม่วิ่งส่ายไปมา
        4. ไหล่คงที่ แขนแกว่งจากหัวไหล่ เน้นการกระตุกข้อศอกไปข้างหลังในการเหวี่ยงแขน ไม่ตัดลำตัว
        5. มือกำหลวม ๆหรือแบมือก็ได้
        6. ช่วงก้าวเท้ายาวเต็มที่ น้ำหนักอยู่บนเท้าที่สัมผัสพื้น
        7. การวิ่งทางโค้ง ต้องเอนตัวเข้าด้านในของลู่เล็กน้อย แขนซ้ายแกว่งเป็นวงแคบ แขนขวาแกว่งแรงเป็นวงกว้าง ปลายแขนเหวี่ยงตัดเฉียงลำตัวเข้า
        หาสนาม ปลายเท้า พยายามจดพื้นเป็นเส้นขนานไปกับทิศทางการวิ่ง
        8. ในการวิ่งระยะสั้นต้องใช้ความเร็ว ยกเข่าสูงกว่าการวิ่งระยะกลางและระยะไกล



ท่าทางการวิ่ง
                1.   ในการวิ่งให้โน้มตัวไปข้างหน้าอย่างน้อย 20 องศา จากเส้นตั้งฉากในการวิ่งเต็มฝีเท้า
                2.    ศีรษะตั้งตรงทำมุมพอสบายตามองไปข้างหน้า 15 ฟุต ตามทางวิ่ง
                3.    เท้าก้าวไปข้างหน้าตรง ไม่วิ่งส่ายไปมา
               4.    ไหล่คงที่ แขนแกว่งจากหัวไหล่ เน้นการกระตุกข้อศอกไปข้างหลังในการเหวี่ยงแขนไม่ตัดลำตัว
               5.    มือกำหลวม ๆหรือแบมือก็ได้
               6.    ช่วงก้าวเท้ายาวเต็มที่ น้ำหนักอยู่บนเท้าที่สัมผัสพื้น
               7.    การวิ่งทางโค้ง ต้องเอนตัวเข้าด้านในของลู่เล็กน้อย แขนซ้ายแกว่งเป็นวงแคบ แขนขวาแกว่งแรงเป็นวงกว้าง
               8.    ปลายแขนเหวี่ยงตัดเฉียงลำตัวเข้าหาสนาม ปลายเท้าพยายามจดพื้นเป็นเส้นขนานไปกับทิศทางการวิ่ง
               9.   ในการวิ่งระยะสั้นต้องใช้ความเร็ว ยกเข่าสูงกว่าการวิ่งระยะกลางและระยะไกล



การเข้าเส้นชัย


1.   ไม่ควรชะลอตัวแม้ว่าถึงเส้นชัยแล้วก็ตาม ควรวิ่งเลยเส้นชัยแล้วค่อย ๆผ่อน ชะลอตัว
2.   ไม่ควรกระโดดเข้าเส้นชัยเพราะอาจเสียการทรงตัว
3.   ใช้วิธีพุ่งตัวให้หน้าอกหรือไหล่แตะแถบเส้นชัย เหวี่ยงแขนไปข้างหลังให้อกหรือไหล่ยื่นไกลออกไปเพื่อแตะแถบเส้นชัยแล้ววิ่งเลยไปตามแรงส่งเพื่อไม่ให้เกิดการเสียหลัก


ทคนิคในการวิ่งเข้าเส้นชัย 
       การเข้าเส้นชัยทั้งการวิ่งระยะสั้น และระยะกลางมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการเริ่มออกวิ่ง เพราะการชนะกันอาจเกิดขึ้นตรงที่ใครเข้าเส้นชัยได้ดีกว่า และรวดเร็วกว่าทั้ง ๆ ที่วิ่งเสมอกันมาเกือบตลอดทาง ลำดับที่ของผู้เข้าแข่งขันให้ถือเอาส่วนหนาของลำตัวของผู้เข้าแข่งขัน คือส่วนอก ( ไม่รวมศรีษะ คือ แขน ขา มือ หรือเท้า) มาถึงขอบในของเส้นชัยตามแนวตั้งฉากกับเส้นชัย การเข้าเส้นชัยที่นิยมใช้ทั่วไปมี 3 แบบ ดังนี้
           1) แบบวิ่งเข้าเส้นชัยธรรมดา เป็นวิธีการที่ไม่ต้องใช้เทคนิคหรือทักษะมากนักโดยใช้กำลังเร่งฝีเท้าให้เร็วขึ้นผ่านเข้าเส้นชัย ซึ่งใช้เมื่อนำหน้าคู่แข่งขันมาก ๆ
            2) แบบใช้หน้าอก หลังจากเร่งฝีเท้ามาจนเต็มที่แล้ว เหลือระยะทางอีก 2-3 เมตร จะเข้าเส้นชัยให้รีบก้าวยาวเฉียดพื้น ในท่าครึ่งก้าวครึ่งกระโดด พร้อมกับกดตัวต่ำลง หน้าอกเข้าเส้นชัย
           3) แบบใช้ไหล่ วิธีการเข้าเส้นชัยแบบนี้คล้ายกับแบบใช้หน้าอก แต่แทนที่จะใช้หน้าอกเข้าเส้นชัย ก็ใช้เอี้ยวตัดบิดก้มลงด้วยการเอียงไหล่ข้างหนึ่งเข้าเส้นชัย หรืออาจจะก้มศีรษะพุ่งตัวให้หัวไหล่พุ่งตรงไปข้างหน้าก็ได้








การวิ่ง มี 3 ระยะ

                การวิ่งระยะสั้น หมายถึง การวิ่งในทางวิ่งหรือลู่วิ่งที่เรียบ ซึ่งระยะทางวิ่งไม่เกิน 400 เมตร จากจุดเริ่มต้น
จนถึงเส้นชัยสำหรับการแข่งขันกรีฑานักเรียนในประเทศไทย อาจมีการเพิ่มรายการวิ่งระยะทาง 60 เมตร และ 80 เมตรเข้าไปด้วย เพื่อให้นักกรีฑาในรุ่นเล็กได้มีโอกาสร่วมแข่งขัน เนื่องจากการแข่งขันวิ่งระยะสั้นทุกประเภทมีความสำคัญ และให้ความตื่นเต้นสนุกสนานนอกจากนักกรีฑาจะต้องมีความเร็วตามธรรมชาติเป็นทุนเดิมแล้ว การปฏิบัติให้ถูกต้องตามเทคนิคก็มีส่วนช่วยให้บรรลุผลตามความมุ่งหมายยิ่งขึ้น
            การวิ่งระยะกลาง หมายถึงการแข่งขันวิ่งในระยะทาง 800 เมตร และ 1,500 เมตร ซึ่งกำลังได้รับความนิยมกันแพร่หลายอย่างมากทั้งระดับนานาชาติ และในระดับโลกเป็นการแข่งขันที่รวมความพร้อมของร่างกายทั้งหมดคือกำลังความเร็วความอดทนอย่างต่อเนื่องนอกจากนี้ยังรวมถึงทักษะการฝึกด้านจังหวะการก้าวการแกว่งแขนที่มีความสัมพันธ์กันโดยต่อเนื่องโดยให้เกิดความกลมกลืนและมีประสิทธิภาพในการแข่งขันอย่างสูงสุด
             การวิ่งระยะไกล หมายถึงการแข่งขันวิ่งระยะทางตั้งแต่ 1,500 เมตรขึ้นไปคุณสมบัติของนักกีฬาวิ่งระยะไกลคือมีรูปร่างค่อนข้างสูงมีน้ำหนักปานกลางกล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงและมีจังหวะในการวิ่งที่ดีดังนั้นการฝึกหัดโดยทั่วไปก็เพื่อจะปรับปรุงในเรื่องจังหวะการก้าวขาและการแกว่งขามีการใช้กำลังให้น้อยที่สุด



วิ่งข้ามรั้ว (Hurdle)
การวิ่งข้ามรั้ว หมายถึง การวิ่งที่ต้องวิ่งไปตามลู่วิ่งและกระโดดข้ามรั้วตามระยะทาง และความสูงของรั้วที่กำหนดไว้ ซึ่งระยะทางมาตรฐานที่ใช้ในการแข่งขัน มีดังนี้
ชาย 110 เมตร และ 400 เมตร
หญิง 100 เมตร และ 400 เมตร
1) เทคนิคในการวิ่งข้ามรั้ว การวิ่งข้ามรั้ว ประกอบด้วยท่าตั้งต้นและการออกวิ่ง ลักษณะการจรดเท้ากระโดด ลักษณะของเท้านำ ลักษณะของลำตัวและแขน ลักษณะของเท้าตาม ท่าลงสู่พื้นและการเข้าเส้นชัย ทักษะเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่นักเรียนต้องเรียนรู้ โดยมีเทคนิคดังนี้

1.1) ท่าตั้งต้นก่อนออกวิ่งและการออกวิ่ง ท่าตั้งต้นและการออกวิ่งให้ปฏิบัติเหมือนกับการตั้งต้นออกวิ่งระยะสั้น แต่เนื่องจากระยะทางจากเส้นเริ่มไปยังรั้วที่ 1 และรั้วอื่น ๆ ถูกกำหนดไว้ตายตัว จึงมีสิ่งที่ผู้วิ่งต้องปฏิบัติแตกต่างไปจากวิ่งระยะสั้นธรรมดาธรรมดา ซึ่งพอสรุปได้ 2 ประการ ดังนี้

ประการแรก การวางเท้าขณะเข้าที่ตั้งต้น อาจจะต้องสลับเท้าไว้ข้างหน้าหรือข้างหลัง เพื่อให้เท้าที่ถนัดเป็นเท้าที่กระโดดข้ามรั้ว
ประการที่สอง การวิ่งข้มรั้วนักวิ่งจะต้องรีบตั้งตัวให้มุมของลำตัวสูงกว่าการวิ่งระยะธรรมดา เพื่อให้การจรดเท้ากระโดดข้ามรัวได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งการออกวิ่งสายตาจะมองไปข้างหน้าเส้นเริ่ม และเมื่อออกวิ่งไปได้ประมาณ 5 ก้าวจึงมองตรงไปที่รั้ว ซึ่งจำนวนก้าวจากเส้นเริ่มถึงรั้วแรกและจำนวนก้าวระหว่างรั้วประเภทรั้วต่ำ มีดังนี้
ก. ประเภท 100 เมตร ควรวิ่ง 10 ก้าว ก้าวที่ 11 เป็นก้าวข้ามรั้ว (สำหรับคนทีใช้เท้าขวาแตะนำ แต่เวลาเริ่มต้นใช้เท้าซ้ายไว้ข้างหลังนั้นก็วิ่ง 9 ก้าว หรือ 11 ก้าว และก้าวที่ 10 หรือก้าวที่ 12 เป็นก้าวข้าม) จำนวนก้าวระหว่างรั้วควรฝึก 7 ก้าว ก้าวที่ 8 เป็นก้าวข้ามรั้ว แต่ถ้าเป็นคนร่างเตี้ยและช่วงก้าวสั้น อาจใช้ 9 ก้าว ก้าวที่ 10 เป็นก้าวข้ามระยะหลังรั้วสุดท้ายถึงเส้นชัยไม่จำกัดจำนวนก้าวให้ใช้กำลังที่เหลือ เร่งฝีเท้าให้เต็มที่เข้าสู้เส้นชัย



ท่าทางการตั้งต้นออกวิ่ง
ข.ประเภท 400 เมตร จากเส้นเริ่มถึงรั้วแรกควรฝึกวิ่ง 24 ก้าว ก้าวที่ 25 เป็นก้าวลอยข้ามรั้ว ระยะทางวิ่งระหว่างรั้ว ควรฝึกวิ่ง 15 ก้าว ก้าวที่ 16 เป็นก้าวลอยข้ามรั้ว (สำหรับคนเตี้ยก้าวสั้น อาจเพิ่มจำนวนก้าวขึ้นอีก 2 ก้าวก็ได้ แต่ต้องแน่ใจว่าไม่มีการซอยเท้าหรือหยุดชะงัก)



จำนวนก้าวจากเส้นเริ่มถึงรั้วแรก             จำนวนก้าวระหว่างรั้ว

1.2) เทคนิคการจรดเท้ากระโดด เท้าที่จรดพื้นก่อนกระโดดนี้ต้องให้ปลายเท้าชี้ตรงไปข้างหน้า        และปลายเท้าจะอยู่ห่างจากรั้วประมาณ 7-8 ฟุตเป็นอย่างน้อย        เท้าที่จรดพื้นต้องเหยียดเข่าและสปริงข้อเท้าขึ้นอย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดแรงส่งตัวพุ่งไปข้างหน้า

1.3) เทคนิคการควบคุมเท้านำ เท้าข้างที่ยกแตะขึ้นข้ามรั้วเรียกว่า เท้านำโดยยกเข่าขึ้นให้ขาท่อนบนขนานกับพื้น เข่างอแล้วเหยียดขาออก ตั้งปลายเท้าขึ้นไปข้างหน้าเหนือระดับรั้ว
1.4) เทคนิคการควบคุมลำตัวและแขน ขณะที่กระโดดลอยตัวอยู่เหนือรั้ว ซึ่งเป็นรั้วต่ำนี้ ไม่ต้องก้มลำตัวลงมาก ไม่ต้องยกเข่าขึ้นสูงมาก ถ้าสามารถก้าวข้ามไปเลยยิ่งดี เพราะไม่ต้องเสียเวลาลอยตัว ลักษณะของลำตัวจะโน้มไปข้างหน้าเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นรั้วสูงจะต้องโน้มลำตัวไปข้างหน้าให้มากที่สุด ศีรษะจะก้มลงข้างหน้าเล็กน้อย แขนข้างตรงกันข้ามกับเท้านำจะเหวี่ยงไปข้างหน้าพร้อมกับเท้านำ หันฝ่ามือลงสู่พื้น ข้อศอกงอขึ้นเกือบเสมอแนวไหล่ ขาเตะขึ้นเฉียดรั้วให้มากที่สุด
1.5) เทคนิคการควบคุมเท้าตาม เท้าข้างที่กระตุกเข่าขึ้นหลังเท้านำเรียกว่า เท้าตามคือ เท้าข้างที่จรดพื้นก่อนข้ามรั้วนั่นเอง เท้าข้างต่ำจรดพื้น เมื่อสปริงส่งตัวขึ้นสูงสุดแล้ว ให้กระตุกเข่าขึ้นมาจนเป็นมุมฉากกับขาท่อนบน ปลายเท้าชี้ออกข้างลำตัว เข่าและข้อเท้าอยู่ในแนวเดียวกัน ลักษณะคล้ายกับท่าพับเพียบ

1.6) เทคนิคการลงสู่พื้น เมื่อเท้านำเลยระดับรั้วไปแล้ว ให้กดฝ่าเท้าลงสู้พื้นโดยเร็วและแรง ตามปกติเท้านำจะลงสู่พื้นรั้วห่างออกไปประมาณ 4-5 ฟุต เมื่อเท้านำแตะพื้นแล้วให้รีบกระตุกแขนให้แกว่งสลับกับเท้า เตรียมออกวิ่งต่อไป

1.7) เทคนิคการวิ่งเข้าเส้นชัย การวิ่งเข้าเส้นชัยให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการวิ่งระยะสั้นเพราะระยะทางหลังรั้วสุดท้ายถึงเส้นชัยไม่จำกัดจำนวนก้าว ให้ใช้กำลังที่เหลือเร่งฝีเท้าให้เต็มที่พุ่งตัวเข้าสู่เส้นชัยในลักษณะท่าทางที่ตนถนัด








วิ่งผลัด (Relay)



             การวิ่งผลัด หมายถึง การวิ่งแข่งขันตามระยะทางที่กำหนดเป็นช่วง ๆ โดยมีผู้เข้าแข่งขันเป็นชุด ๆ แต่ละชุดมีจำนวนผู้เข้าแข่งขันเท่า ๆ กันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป การวิ่งแต่ละช่วงจะมีการับส่งสิ่งของหรือคฑา (Batkon)ต่อเนื่องกันไปจนหมดระยะทางที่กำหนดไว้


          เทคนิคในการวิ่งผลัด การวิ่งผลัดเริ่มต้นจาก วิธีถือคฑาตั้งต้นออกวิ่ง การออกวิ่ง วิธีถือคฑาในขณะวิ่ง วิธีส่งและรับคฑา ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นที่นักเรียนต้องเรียนรู้หมั่นฝึกฝนให้เกิดความชำนาญทุกขั้นตอน โดยต้องประสานสอดคล้องกับเพื่อนร่วมทีมเป็น
อันหนึ่งอันเดียวกัน

1.1)วิธีถือคฑา ในช่วงตั้งต้นก่อนออกวิ่งการถือคฑาของผู้ตั้งต้นในการออกวิ่งคนแรกนั้น ท่าตั้งต้นและการออกวิ่งปฏิบัติ เช่นเดียว
กับท่าตั้งต้นวิ่งระยะสั้นทุกประการแต่ที่เพิ่มขึ้นมาก็คือต้องถือคฑาไว้ด้วย  การถือคฑามีหลายแบบ แล้วแต่จะเลือกตาม
ความถนัดของผู้เข้าแข่งขันแต่มีหลักที่ควรพิจารณาคือคนที่ออกวิ่งด้วยเท้าขวา มักจะถือคฑาด้วยมือซ้ายหรือมือที่เหวี่ยงไป
ข้างหน้าในขณะที่เริ่มวิ่งก้าวแรกไม่ควรถือคฑาด้วยมือที่เหวี่ยงไปข้างหลังในก้าวแรก เพราะคฑาอาจจะหลุดจากมือได้ง่ายเนื่อง
จากมือที่เหวี่ยงไปข้างหลังมีความแรงมากกว่าหรือคฑาอาจจะเหวี่ยงไปถูกสะโพกทำให้คฑาหลุดจากมือได้เช่นกัน ดังนั้นการถือคฑาด้วยมือซ้ายหรือมือที่เหวี่ยงไปข้างหน้าเมื่อใช้เท้าขวายันพื้นข้างหลังจึงได้เปรียบด้วยประการทั้งปวง โดยทั่วไปมีวิธีถือคฑา 5
วิธี ดังนี้



การถือคฑาตั้งต้นวิ่ง
การถือคฑาออกวิ่งนั้น มักจะยึดหลักให้ถือคทาด้วยมือซ้ายเสมอ และให้เท้าขวาอยู่ข้างหลัง เพราะจะได้ส่งให้กับผู้รับซึ่งรับ
ด้วยมือขวาสะดวก และการแกว่งแขนออกวิ่ง   แขนซ้ายที่เหวี่ยงไปข้างหลังจะได้สะดวก คทาจะได้ไม่หลุดมือ   แต่หากว่าคนรับถนัด
ใช้มือซ้ายในการรับ ก็อาจถือคทาด้วยมือขวาได้
วิธีที่ 1 ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้หนีบคฑาบริเวณส่วนกลางใช้ปลายนิ้วทั้ง 5 ยันพื้นไว้
วิธีที่ 2 ใช้นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย จับกำรอบคฑาทางส่วนหลัง ใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และข้อนิ้วที่สองของนิ้วอื่นยันพื้น
วิธีที่ 3 ใช้นิ้วกลางนิ้วเดียวกำรอบคฑา ใช้ปลายนิ้วอื่นยันพื้น
วิธีที่ 4 ใช้นิ้วกลางและนิ้วนางกำรอบคฑา ใช้ปลายนิ้วที่เหลือยันพื้น
วิธีที่ 5 ใช้นิ้วชี้นิ้วเดียวกำรอบคฑา ใช้นิ้วที่เหลืออีก 4 นิ้วยันพื้น






การรับ-ส่งคทา
การรับส่งคทา แบ่งออกตามลักษณะมือผู้รับและลักษณะการส่ง คือ
1. ผู้รับเหยียดแขนไปข้างหลัง หงายฝ่ามือ แยกนิ้วหัวแม่มือออกจากนิ้วอื่น ฝ่ามืออยู่ต่ำกว่าระดับไหล่ ผู้ส่งคทา ฟาดคทาลงบนฝ่ามือ
     ของผู้รับ
2. ผู้รับเหยียดแขนไปข้างหลังเฉียงออกทางด้านนอก  หงายฝ่ามือขึ้น  นิ้วหัวแม่มือแยกออกจากนิ้วอื่น   ฝ่ามืออยู่สูงกว่าระดับสะโพก
     ประมาณ 4-5 นิ้ว ผู้ส่งฟาดคทาลงบนฝ่ามือผู้รับ
3. ผู้รับเหยียดแขนไปข้างหลังให้มืออยู่ในระดับสะโพก หันฝ่ามือไปข้างหลัง นิ้วมือชี้ลงพื้นกางนิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้ออกจากกันผู้ส่ง
     ตีคทาขึ้นให้เข้าฝ่ามือผู้รับระหว่างนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือ
4. ผู้รับยืนงอแขนให้นิ้วหัวแม่มือจดสะเอว กางข้อศอกออก นิ้วหัวแม่มือแยกออกจากนิ้วอื่น ๆ ผู้ส่งเหยียดแขนและตีคทาขึ้นให้เข้าฝ่า
     มือผู้รับ


เขตส่งและรับคฑา ตามกติกาการวิ่งผลัดระยะสั้นจะมีเขตกำหนดการส่งและการรับคฑาไว้ ผู้ส่งและผู้รับจะทำการเปลี่ยนการถือคฑากันมือต่อมือได้ จะต้องอยู่ภายในเขต 20 เมตรเท่านั้น เขตนี้นับจากระยะทางเต็มขึ้นไปข้างหน้า 10 เมตร และถอยหลังลงมา 10 เมตร จึงรวมกันเป็น 20 เมตร แต่อนุญาตให้ผุ้รับถอยไปต่ำกว่าเขตรับส่งได้จริงอีก 10 เมตร แต่ระยะ 10 เมตรที่กล่าวนี้ผู้รับจะแตะคฑาไม่ได้ นอกจากมีไว้เพื่อให้ผู้รับคฑาใช้สำหรับวิ่งเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กับผู้ที่จะส่งให้เท่านั้น เขตหลังนี้ผู้รับจะไม่ใช้ก็ได้



ข้อควรปฏิบัต
1. ผู้ส่งต้องพยายามเร่งฝีเท้าให้ทันผู้รับคทาอย่างรวดเร็ว เพื่อจะได้รับ-ส่ง ให้ทันภายในเขตรับ-ส่ง
2. ต้องเหยียดแขนออกไปให้ได้จังหวะ ไม่ช้าหรือเร็วเกินไป เพราะจะทำให้ฝีเท้าลดลง ในการวิ่งผลัดระยะสั้น ระยะรับส่งคทาควรอยู่
     ในระหว่าง 15-18 เมตร หลังจากเส้นเริ่มของเขตรับส่ง ส่วนวิ่งผลัดระยะไกลประมาณ 5-12 เมตร หลังเส้นเริ่ม
3. ฟาดคทาลงบนมือผู้รับด้วยความแรงพอสมควร ไม่ปล่อยคทาจนกว่าผู้รับจะรับได้มั่นคงและมีแรงดึงจากมือ
4. ผู้ส่งต้องอยู่ในช่องวิ่งของตนเอง จนกว่านักกีฬาทีมอื่น ๆได้ออกวิ่งเลยไปหมดแล้วจึงจะออกจากลู่วิ่งได้
5. เมื่อวิ่งถึงผู้รับแล้วจะต้องไม่ลดฝีเท้าลง ให้วิ่งชะลอไปกับผู้รับ จนกระทั่งถึงจุดรับส่งซึ่งได้กำหนดไว้จึงส่งคทาออกไป
6. วิธีถือคทาเพื่อส่งให้ผู้รับแบบสากลนิยม ที่ได้ผลดีมากที่สุดเริ่มด้วย ผู้ตั้งต้นออกวิ่งด้วยการถือคทาด้วยมือขวาวิ่งไปส่งให้ผู้รับคนที่ 2
     ซึ่งยืนชิดขอบขวาของช่องวิ่ง และรับคทาด้วยมือซ้าย วิ่งไปส่งให้คนที่ 3 ซึ่งยืนชิดขอบซ้ายของช่องทางวิ่งและรับคทาด้วยมือขวา
     วิ่งไปส่งให้คนสุดท้าย ซึ่งจะยืนชิดขอบขวาช่องวิ่งและรับคทาด้วยมือซ้ายวิ่งไปตลอดระยะทาง ทั้งนี้ ผู้รับไม่ต้องเปลี่ยนมือ เมื่อรับ
     คทาแล้ว ทำให้ไม่เสียความเร็วในการวิ่



หลักและวิธีการออกกำลังกาย   (สุเนตุ , 2524 : 16-17)

การฝึกกายบริหารแบบท่ามือเปล่า  (Calisthenic Training)

คุณค่าที่ได้

1.  ใช้เวลาน้อยแต่ได้ออกกำลังกายมาก

2.  ใช้อุปกรณ์เพียงเล็กน้อยหรือไม่ต้องใช้อุปกรณ์เลย
3.   สามารถนำไปใช้ฝึกหัด และสอนได้ทุกสถานที่
4.   สามารถปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายกายของผู้ฝึกหัด
5.   สามารถพัฒนาระบบกล้ามเนื้ออันใดอันหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งก็ได้
หลักในการปฏิบัติ
1.  ควรใช้ท่ากายบริหารไม่เกิน 10 ท่า (ก่อนหรือหลังการเรียนพลศึกษา)
2.  ลงมือปฏิบัติไปพร้อมๆกัน
3.  คำสั่งชัดเจน ควบคุมการนับให้สม่ำเสมอ เข้ากับการเคลื่อนไหวแต่ละครั้ง
4.  การจัดกิจกรรมกายบริหารแต่ละวัน ควรมีการพัฒนาความก้าวหน้า คือ เริ่มจากท่าเบา
ที่สุดไปถึงหนักที่สุด เพื่อฝึกความอดทน และการประสานงานที่ดีของกล้ามเนื้อ
5.   ขณะฝึกออกกำลังกายมีการออกเสียง เพื่อกระตุ้นความรู้สึก ความสนใจ
วิธีการปฏิบัติ
1.  สำหรับกิจกรรมที่ใช้ปฏิบัติซ้ำ 10 ครั้ง อาจใช้การนับดังนี้  หนึ่ง สอง สาม - สี่ , สอง สอง สาม - สี่ , สาม สอง สาม - สี่   ปฏิบัติต่อไปเรื่อยๆจนถึง 10 ครั้ง
2.  ฝึกจากท่าเบาไปท่าหนักเช่น ฝึกกายบริหารข้อต่อ(joint exercise) แล้วจึงฝึกการยืดกล้ามเนื้อ    (strecthing exercise)
3.  ฝึกจากช้าไปเร็ว
4.  ขณะฝึกต้องบังคับการหายใจตามจังหวะ
5.  คำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญที่มีผลต่อการปรับปรุง และดำรงไว้ซึ่งสมรรถภาพทางสรีรวิทยา และเนื้อเยื่อไขมัน (วิริยา,2529 :19-20)  ได้แก่


5.1   ความถี่ในการฝึก (frequency)  อย่างน้อย 3-5 วัน/สัปดาห์

5.2   ความหนักเบาในการฝึก (intensity) โดยปกติจะใช้อัตราชีพจรประมาณ 60%- 80% ของ ชีพจรสูงสุด(maximam  heart rate) หรือประมาณ 50%-85% ของความสามารถในการจับออกซิเจน(Max Vo2)

5.3   ระยะของการฝึก(duration) ประมาณ 15-60 นาที ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ต่อเนื่องกัน(airobic  activity) ระยะของการฝึกยังขึ้นอยู่กับความหนัก-เบาของการฝึกด้วย

5.4    ประเภทของกิจกรรม(mode of activity) กิจกรรมที่แนะนำได้แก่ กิจกรรมที่ใช้

กล้ามเนื้อมัดใหญ่ปฏิบัติติดต่อกัน เช่น วิ่ง - เดิน , เดิน - ปีนเขา , ว่ายน้ำ , จักรยาน  กระโดดเชือกและ  กิจกรรมทุกประเภทที่ใช้เพื่อสร้างความอดทน


การฝึกกายบริหารแบบท่ามือเปล่า  (Calisthenic Training)

โปรแกรมการบริหารกาย 30 นาที (30 Minute Low - Gear Workout)                  

การฝึกแบบนี้ ประกอบด้วยการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องกันอย่างช้าๆ โดยไม่มีการปิดจังหวะหรือหยุดระหว่างท่า แต่อาจปฏิบัติเร็วขึ้นบ้างในบางท่าก็ได้ ภายหลังการอบอุ่นร่างกายเพียงเล็กน้อยแล้ว ควรจะเริ่มท่าบริหารกายตั้งแต่ส่วนบนลงสู่ส่วนล่างของร่างกาย โดยเริ่มจาก คอ แขน ไหล่ ข้อมือ ข้างลำตัว ท้อง หลัง และขา                                         

หลักการขณะปฏิบัติบริหารกายควรจะลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ปฏิบัติอย่างช้าๆและพยายามหายใจลึกๆและแรง และในช่วงท้ายของโปรแกรมการฝึกควรจะเบาลง แต่เน้นที่การหายใจ  โดยเริ่มจาก    


 ท่ากายบริหารเฉพาะส่วน

การทำกายบริหาร
การทำกายบริหารแบบง่าย
(ค้างไว้  20 30  วินาที)
การทำกายบริหารแบบยากขึ้น
(ค้างไว้  30  วินาทีหรือนานกว่า)
การทำกายบริหารที่
ค่อนข้างรุนแรง (ไม่ควรทำ)

                สิ่งสำคัญในการบริหารร่างกาย  คือ  ต้องจัดสัดส่วนของร่างกายให้เหมาะสม  และเรียนวิธีปฏิบัติในแต่ละท่าให้เหมาะสมกับร่างกาย
                ความอ่อนตัวจะเพิ่มโดยธรรมชาติ  การปฏิบัติเป็นประจำและสม่ำเสมอ  เหมาะสม  และไม่รู้สึกเจ็บปวด  แสดงว่าสามารถทำได้เกินขีดจำกัดที่มีอยู่  และใกล้กับศักยภาพของบุคคลนั้น
เทคนิคพื้นฐานของการบริหาร
1.  อย่ายืดมากเกินไป  โดยเฉพาะในตอนเริ่มต้น  ให้ยืดอย่างช้าๆ  และค่อยๆเพิ่มขึ้น
2.  ค้างไว้ในตำแหน่งที่สบาย  ความตึงของกล้ามเนื้อ  ควรจะลดลงขณะที่ค้างไว้
3.  หายใจช้าๆลึกๆตามธรรมชาติ  หายใจออกขณะที่ก้มหน้าไปข้างหน้า  ไม่ควรยืดในจุดที่
     หายใจได้ไม่ตามธรรมชาติ
4.  ไม่ควรกระแทกตัวขึ้น ลง  จะทำให้กล้ามเนื้อทุกมัดที่พยายามยืด  เกิดการตึง
5.  ให้รู้สึกว่าส่วนที่ต้องการได้บริหาร
6.  ทำอย่างสม่ำเสมอและผ่อนคลาย
7.  ไม่ควรเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่นๆ


การเริ่มต้นปฏิบัติกายบริหาร



























แหล่งอ้างอิง
 http://th.wikipedia.org/       
 http://www.aat-thailand.blogspot.com/
 http://www.tuifino.com/Athletics/menu.htm http://www.thaitabletennis.com/wizContent.asp?wizConID=395&txtmMenu_ID=7